<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ทายาท CP เปิดตัวโปรเจคด้านการโอนเงินระหว่างประเทศด้วย Blockhain นาม Velo แล้ว

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ธุรกิจการโอนเงินข้ามประเทศเป็นธุรกิจที่ใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูลจากกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตรเผยว่าโดยประมาณต่อปีมีเงินมูลค่ากว่า 65 พันล้านดอลลาร์ถูกโอนมาที่ภูมิภาค โดยการโอนภายในภูมิภาคก็มีเช่นกันคิดเป็น 18 พันล้านดอลลาร์ต่อปี

บริษัทให้บริการโอนเงินด้วย Blockchain นาม Velo ได้ก่อตั้งบริษัทในประเทศไทยและต้องการตีตลาดการโอนเงินข้ามประเทศนี้

“คนงานต่างด้าวต้องการระบบการโอนเงินข้ามชาติที่มีความสะดวก ค่าธรรมเนียมต่ำ เราจึงได้เปิดตัวบริษัท Velo เพื่ออำนวยความสะดวกบริการนี้” กล่าวโดยประธานบริษัทและเจ้าของเว็บไซต์  Fortune นายชัชวาลย์ เจียรวนนท์

มีแรงงานข้ามชาติมากกว่า 21 ล้านคนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประมาณห้าล้านคนอยู่ในประเทศไทย จากข้อมูลของธนาคารโลกค่าบริการเฉลี่ยสำหรับบริการโอนเงินข้ามแดนในประเทศไทยคือ 15% ซึ่งสูงกว่าทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ 9% ทาง Velo จึงวางแผนที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ต่ำเพียง 1% ซึ่งบริการโอนเงินโดยใช้ Blockchain นั้นทำได้แทบจะทันที ไม่เหมือนกับวิถีการโอนเงินแบบดั้งเดิมซึงต้องรอถึง 5 วัน

Velo ไม่ใช่บริษัทด้าน Blockchain แห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังมี Ripple ที่อยู่ในสหรัฐ ฯ ได้ร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์รวมถึง MoneyGram และอื่น ๆ เพื่อนำรูปแบบการโอนเงินมาสู่เอเชีย อีกทั้ง AliPay ของอาลีบาบาก็เพิ่งเปิดตัวการชำระเงินผ่าน Blockchain ในฮ่องกงโดยเจาะกลุ่มไปที่แรงงานต่างชาติในเมืองจำนวน 300,000 คนซึ่งส่วนใหญ่มาจากฟิลิปปินส์ ส่วนทาง Facebook ซึ่งมีผู้ใช้ 577 ล้านคนต่อวันทั่วเอเชียก็เพิ่งเปิดตัว Calibra เป็นบริการเงินของตน

รองประธานบริษัท Velo นายตฤบดี อรุณานนทชัย กล่าวว่า Velo จะไม่แข่งขันโดยตรงกับผู้ประกอบการใหญ่ ๆ เช่น ธนาคาร Western Union โดยเขากล่าวว่า Velo จะเป็นบริการธุรกิจกับธุรกิจโดยนำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเข้ามาเพื่ออำนวยความสะดวกในการโอนเงิน

“Velo นั้นเชื่อถือได้เสมือนกับธนาคารใหญ่ ๆ อย่าง JP Morgan หรือ Citibank ที่ให้บริการผู้คนในการทำธุรกรรมหากันทั่วโลกด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ” กล่าวโดยนายตฤบดี อรุณานนทชัย พร้อมอธิบายเสริมว่าโปรเจ็ค Blockchain นี้ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการโอนเงินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริษัท Velo มี Velo Token ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็มีกระบวนการทำความรู้จักลูกค้า (KYC) ด้วย เพื่อยืนยันตัวตนและความน่าเชื่อถือ ในการทำธุรกรรม บริษัทที่ได้รับการรับรองจาก Velo สามารถแลกเปลี่ยนโทเค็นของพวกเขาเป็น stablecoin, cryptocurrencies ที่ออกแบบมาเพื่อลดความผันผวนซึ่งออกโดย Velo จากนั้นก็เทรดผ่าน Lightnet ซึ่งผู้ใช้งานสามารถแลก stablecoin เป็น Velo Token ได้ หรือนำ Velo Token ไปแลกเป็นเงินสดในท้องถิ่นในร้านค้าที่เป็นพาร์ทเนอร์กับทาง Velo ก็ได้ 

ตอนนี้ Velo ได้ระดมทุนไปเพียง 50 ล้านดอลลาร์ แต่บริษัทยังคงมีความสัมพันธ์อันดีกับ CP Group เพื่อเสริมความไว้วางใจกับพันธมิตรทางธุรกิจและลูกค้า ซึ่ง CP Group เป็นกลุ่มบริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมีบริษัทย่อยกว่า 200 แห่งทั่วโลกและมีรายรับต่อปี 54 พันล้านดอลลาร์

นายตฤบดี อรุณานนทชัยกล่าวว่า Velo ได้เริ่มเชื่อมบริการโอนเงินภายใน CP Group และร่วมมือกับ Seven-Eleven ในประเทศไทยซึ่งได้รับอนุญาตจาก CP Group เพื่อให้ลูกค้า Lightnet เพื่อให้มีเงินสดหมุนเวียนเข้าออกมากกว่า 10,000 รายการ ซึ่งทาง Velo เผยว่ามีเอเย่นส์อยู่ 500,000 รายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการร่วมพาร์ทเนอร์

“ผมหวังว่า Velo จะได้รับประโยชน์มากมายจากเครือข่ายของ CP Group และบริษัทในเครือ” Jehan Chu ผู้จัดการหุ้นส่วนของ Kenetic Capital บริษัทการลงทุนในฮ่องกงซึ่งเชี่ยวชาญในบริษัท Blockchain กล่าว “สภาพคล่องดึงดูดสภาพคล่องและถ้าหากคุณมีรายรับหลายล้านดอลลาร์ต่อปีจากการเข้าร่วมกับ CP Group นี้ ถือได้ว่าเป็นจุดสำคัญของ Velo”

นอกจากนั้นแล้วนายตฤบดี อรุณานนทชัย ยังตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าโปรเจ็ค Velo นี้จะอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมมูลค่ากว่าห้าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐทุก ๆ ปีภายในสามปีจาการโอนเงินของแรงงานข้ามชาติคิดเป็นมูลค่า 25 พันล้านเหรียญสหรัฐและส่วนที่เหลือมาจากการโอนเงินผ่านพันธมิตรด้านการจัดการการเงินของ Velo

ที่มา fortune

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น