<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ศักยภาพของคอมพิวเตอร์ Quantum ของ Google จะส่งผลต่ออนาคตของ Bitcoin อย่างไร

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ประเด็นร้อนในสังคมคริปโตเคอร์เรนซีในตอนนี้ก็คงจะหนีไม่พ้นกับเทคโนโลยีที่คาดว่าจะมาเอาชนะ Bitcoin ได้ ซึ่งก็คือระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมนั่นเอง

จากรายงานของ Financial Times ได้เปิดเผยว่าตอนนี้ทางบริษัทยักษ์ใหญ่ Google ได้ออกมาอ้างว่าสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมสำเร็จแล้วหมายความว่าคอมพิวเตอร์นี้จะสามารถเข้ามาแก้ปริศนาคณิตศาสตร์ที่เคยแก้ไม่ได้ให้มันสำเร็จขึ้นได้แล้ว

ถ้าหากมันเป็นจริงถือว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว และมันอาจจะมาฆ่าเทคโนโลยี Blockchain ที่เพิ่งจะเริ่มใช้กันแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในวันนี้

ตั้งแต่ที่ Bitcoin เกิดขึ้นมา ภัยคุกคามในเรื่องของระบบประมวลผลแบบควอนตัมก็ทำให้นักวิจัย, นักเทคโนโลยี รวมถึงรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างซอฟต์แวร์ที่ต้านทานต่อการโจมตีทางไซเบอร์ทุกรูปแบบแม้กระทั่งระบบควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังมากที่สุด

อย่างไรก็ตามระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมยังคงเป็นทฤษฎีอยู่ ซึ่งหากมันมีระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมขึ้นมาแล้ว ปริศนาคณิตศาสตร์ที่ว่ายาก ๆ ควอนตัมคอมพิวเตอร์นี้ก็สามารถแก้ไขได้หมดด้วยระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่วินาทีเมื่อเทียบกับมนุษย์ธรรมดาที่อาจใช้เวลาทั้งชีวิตในการแก้ไขมัน

ทางด้าน CB Insights บริษัท วิจัยข้อมูลคอมพิวเตอร์ควอนตัมนั้นอาศัย “ปรากฏการณ์ควอนตัมเชิงกลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ” ซึ่งรู้จักกันในชื่อของทฤษฎีการทับซ้อน (Superposition) และควอนตัมเอนแทงเกิลเมนต์ (Quantum entanglement)

“เมื่อเราเอาหลักการดังกล่าวมาใช้มันจะเข้ามาช่วยเพิ่มความเร็วในการประมวลผลขึ้นเยอะมาก” รายงานของ CB เผย

แคนาดาเข้าร่วม

ในฤดูร้อนที่ผ่านมาสภาวิจัยแห่งชาติ (NRC) ของแคนาดาร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูเพื่อเปิดตัวโครงการวิจัยที่มีระยะเวลาสองปีในการวิจัยเทคโนโลยี Blockchain ที่ปลอดภัยจากระบบควอนตัม

การวิจัยที่นำโดยอาจารย์มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู Srinivasan Keshav และ Michele Mosca ได้รับเงินเป็นจำนวน 180,000 ดอลลาร์ที่ลงทุนในการวิจัยตลอดช่วงระยะเวลาสองปีนี้เพื่อสร้างทีมงานที่มีศักยภาพ

ประเทศแคนาดานั้นจัดได้ว่าเป็นผู้นำด้านการวิจัยควอนตัม ผู้บริหารของบริษัท quantum R&D และ Post-Quantum คุณ Andersen Cheng ได้ออกมากล่าวว่า

“รัฐบาลอื่น ๆ พยายามไล่ตามให้ทัน สหรัฐฯ ค่อนข้างจะล่าช้า ส่วนสหราชอาณาจักรก็ลงเงินจำนวนมากไปกับฮาร์ดแวร์ควอนตัม พวกเขาเริ่มพัฒนาถึงระบบซอฟต์แวร์ post-quantum และ cryptography แล้ว”

ด้านสหรัฐอเมริกาประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์เพิ่งจะลงนามในพระราชบัญญัติควอนตัมแห่งชาติ (National Quantum Initiative Act) และจัดสรรเงินประมาณ 1.2 พันล้านดอลลาร์รวมกว่า 5 ปีในการลงทุนด้านควอนตัมนี้ และในเดือนมิถุนายนโครงการควอนตัมเทคโนโลยีแห่งชาติของสหราชอาณาจักรได้รับเงินทุนเพิ่มเติมจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร 193 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรัฐบาลได้ลงทุนในโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2017 เป็นเงินจำนวนกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์

ภาคเอกชนก็หันมาสนใจ

นอกจากภาครัฐบาลจะให้ความสนใจกับระบบควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ ภาคเอกชนก็ให้ความสนใจไม่แพ้กัน โดยรายงานจาก CB Insights พบว่ามีการลงทุนจากภาคเอกชนในบริษัทสตาร์ทอัพด้านควอนตัมเพิ่มขึ้นกว่า 200 เปอร์เซ็นต์ในหกปีที่ผ่านมา

นาย Adam Koltun แห่ง Quantum Resistant Ledger (QRL) Foundation ก็ได้ออกมาพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยว่า

“เมื่อประมาณสิบปีที่แล้วผู้คนบอกกันว่ามันต้องใช้เวลาประมาณห้าสิบปีนู่นกว่าโลกจะพัฒนามาถึงทุกวันนี้ที่เราพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้ และเมื่อห้าปีที่แล้วพวกเขาก็พูดกันว่าอีก 25 ปีนู่นแหละมันถึงจะพัฒนามาถึงวันนี้ เพราะฉะนั้นควอนตัมคอมพิวเตอร์มันจึงมาเร็วกว่าที่หลาย ๆ คนได้คาดการณ์เอาไว้”

พร้อมกล่าวเสริมว่า “อุตสาหกรรมบล็อกเชนไม่จำเป็นต้องรับมือกับสิ่งนี้แต่ก็ต้องระวัง”

เขาได้ออกมาอ้างด้วยว่ากลุ่มของเขากำลังสร้าง Blockchain ที่ปลอดภัยจากการโจมตีทางควอนตัม ถ้าหากไม่ทำเช่นนี้ระบบควอนตัมคอมพิวเตอร์อาจเป็นอันตรายต่อคริปโตเคอร์เรนซี, Blockchain และระบบอินเตอร์เน็ตได้

การโจมตีโดยควอนตัมคอมพิวเตอร์

แม้ระบบควอนตัมจะถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อเทคโนโลยี Blockchain แต่อันที่จริงแล้วมันมีทางเป็นไปได้เพียงแค่สองถึงสามทางที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมจะทำลาย Blockchain ได้

เหตุผลประการแรกคือเทคโนโลยี Blockchain มันปลอดภัยด้วยวิธีการเข้ารหัสทางดิจิทัลซึ่งใช้ elliptic curve cryptography (ECC)

อย่างไรก็ตาม ECC มันไม่ได้ปลอดภัยทั้งหมดจากการโจมตีควอนตัม จากข้อมูลของนาย Cheng ที่ให้สัมภาษณ์ มันเป็นไปได้ว่าระบบควอนตัมที่มีพลังประมวลผลสูงมากสามารถถอดรหัส private key ของผู้ใช้งานได้และเข้าปลอมแปลงลายเซ็นต์การทำธุรกรรม

“เมื่อมันเป็นเช่นนั้นแล้ว คริปโตเคอร์เรนซีตายสนิทแน่นอน” Cheng กล่าวพร้อมเสริมว่า

“แล้วถ้าเมื่อคุณไม่สามารถบอกได้ว่าคุณเป็นคนเซ็นต์ธุรกรรมนั้นจริงหรือไม่ ความน่าเชื่อถือมันหมดลงแล้ว ในโลกคริปโตความไว้เนื้อเชื่อใจมันคือสิ่งที่สำคัญที่สุด”

ประเด็นของควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดสำหรับ Blockchain โดยเฉพาะ Shor’s algorithm ที่ถูกนำมาใช้กับควอนตัมคอมพิวเตอร์เพื่อแฮ็กลายเซ็นดิจิทัล elliptic curve digital signatures

ควอนตัมคอมพิวเตอร์อาจเข้ามาทำให้ Blockchain นั้นล้าสมัยไปเลย แต่กระนั้นเองมันก็ยังคงเป็นเพียงทฤษฎีอยู่และยังไม่มีใครรู้ศักยภาพอย่างแท้จริงของมัน

“คุณควรระวังใครก็ตามที่อ้างว่าสามารถ Blockchain ที่ป้องกันการโจมตีควอนตัมได้ ได้เพราะตอนนี้เรายังไม่ได้รู้ถึงศักยภาพของคอมพิวเตอร์ควอนตัมอย่างเต็มที่…สำหรับใครที่อ้างว่าสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีหรือ Blockchain ด้านควอมตัมคอมพิวเตอร์ซึ่งรู้แล้วว่าเทคโนโลยีทำอะไรได้บ้าง ทั้งที่จริง ๆ แล้วเรายังไม่ได้รู้ขนาดนั้น”

ต่อสู้กับศัตรูที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น

เนื่องจากว่าเรายังไม่ได้รู้ว่าควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถทำอะไรได้บ้าง การที่จะสร้างแพลตฟอร์มมาป้องกันการโจมตีจากควอนตัมคอมพิวเตอร์ก็ดูจะเป็นเรื่องที่ก้าวกระโดดเกินไป

ทางด้านนาย Andreas M. Antonopoulos ก็ได้ออกมาแสดงความเห็นว่าเราตีตนไปก่อนไข้เรื่องควอนตัมคอมพิวเตอร์มากเกินไป

“เราแค่ย้ายไปใช้อัลกอริทึมอันใหม่ มันไม่ใช่ภัยคุกคามใหญ่โตอะไรอย่างที่หลาย ๆ คนคิด” เขากล่าวในยูทูปช่วงตอบคำถาม

ยิ่งไปกว่านั้นแล้วความสามารถของระบบควอนตัมคอมพิวเตอร์มันอาจมีมากกว่าที่เราคิดเสียอีก

“การพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมของ Google นั้นเป็นเพียงการสร้างสำหรับการคำนวณควอนตัมแบบดั้งเดิมเท่านั้นที่ไม่สามารถจะทำลายการเข้ารหัสได้ เรายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราสามารถสเกลควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้ไหม” นักพัฒนาหลักของ Bitcoin นาย Peter Todd โพสต์บนทวิตเตอร์

แล้วนอกจากนี้ถ้าหากระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมมันเป็นปัญหาสำหรับการพัฒนา Blockchain จริง อาจารย์มหาวิทยาลัยวอเทอร์ลู Keshav ก็ตั้งคำถามว่า

“เราไม่ควรที่จะทำอะไรกับมันหน่อยเหรอ?”

ทีมงานของ Keshav กำลังมองหาช่องทางการเข้ารหัสที่ปลอดภัยจากควอนตัมอยู่ ซึ่งมันรวมถึง lattice-based cryptography และ multivariate public-key cryptography ซึ่งทีมวิจัยของเขาจะเริ่มทดสอบกับองค์กรที่ใช้ Hyperledger Fabric blockchain ก่อน

จริง ๆ แล้วมันมีหลายอย่างที่ควรจะพิจารณา เขาได้กล่าวถึงการแข่งขันที่จัดทำโดยสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIST) ซึ่งคุณ Keshav กล่าวว่ามีข้อเสนอกว่า 80 ข้อเสนอที่ยื่นจากนักวิจัยและนักวิชาการในเรื่องของอัลกอริธึมการเข้ารหัสลับคีย์สาธารณะและการต่อต้านการโจมตีควอนตัม

นอกจากนี้ผู้บริหารของ Post-Quantum ก็ได้ออกมากล่าวทิ้งท้ายว่า

“คุณไม่จำเป็นต้องให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมเกิดขึ้นก่อนถึงจะหาเครื่องมือเพื่อรับภัยคุกคามจากมัน นี่ไม่ใช่การลองผิดลองถูกเพราะคุณสามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ว่าอะไรดีพอหรือไม่”

ที่มา : coindesk

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น