<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

10 คำทำนายด้าน Blockchain ในปี 2020 ที่น่าสนใจ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ผ่านปี 2019 มาได้แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านจากตลาดที่มีความผันผวนค่อนข้างจะสูง โปรเจ็ค Blockchain เติบโตขึ้น ภาครัฐเริ่มหันมาสนใจคริปโตเคอร์เรนซีและบล็อกเชนเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งพัฒนาเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีของประเทศ หรือเหรียญดิจิทัลที่มีสกุลเงินของชาติมาเป็นเครื่องมือหนุนมูลค่า ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนก็มีความสนใจในเทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นอย่างมากจนประธานาธิบดีสี จิ้นผิงประกาศรองรับบล็อกเชนส่งผลให้ราคาคริปโตต่างๆ พุ่งทะยานกันอย่างเต็มที่

ในปี 2020 นี้ก็ยังคงมีแนวโน้มและโปรเจ็คต่างๆ มากมายที่จะเกิดขึ้นและน่าจับตามอง ซึ่งบทความนี้จะเป็นการวิเคราะห์ว่าจะเทรนด์ใดบ้างที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมคริปโตเคอร์เรนซีและมันจะเกิดอะไรขึ้นกับโปรเจ็คที่ค้างอยู่ ซึ่งทางรัฐบาลยังไม่มีทีท่าว่าจะอนุมัติเสียที อย่างเหรียญ Libra ของ Facebook และกองทุน Bitcoin ETF

1. จีนกำลังจะเปิดตัวเหรียญดิจิทัลของตนเอง DBDC

จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่แสดงความสนใจในตัวเทคโนโลยีมากที่สุดเลยก็ว่าได้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมานี้ ทั้งเว็บเทรดและบริษัทขุดคริปโตจำนวนมากก็ตั้งอยู่ในจีน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเองก็ถึงกับมาประกาศเลยว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนจะกลายมาเป็นอนาคตของโลกนี้และจีนจะเป็นผู้นำ ซึ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีออกมาประกาศเช่นนั้นมันก็ทำให้มีโปรเจ็คบล็อกเชนเกิดขึ้นมามากมาย รวมถึงการวิจัย การเรียนการสอนด้านบล็อกเชนเกิดขึ้นในประเทศด้วย ธนาคารแห่งประเทศจีนก็ได้ออกพันธบัตรทางการเงินให้กับบริษัทขนาดย่อมมูลค่ากว่า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อีกหนึ่งสิ่งที่จะละเลยไม่พูดถึงไม่ได้คือโปรเจ็ค Digital Currency/Electronic Payment (DC/EP) ซึ่งเป็นโปรเจ็คเหรียญดิจิทัลของจีนที่ได้ออกมาประกาศว่าจะเปิดตัวออกมาในปี 2020 นี้ซึ่งแน่นอนว่าจะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่จำกัดเพื่อให้เข้ากับนโยบายการปกครองของประเทศ

2. Libra ของ Facebook

Facebook ออกมาประกาศเปิดตัวโปรเจ็ค Libra มาตั้งแต่ช่วงปีที่แล้ว แต่ก็ไม่สามารถเปิดใช้งานได้เพราะคำคัดค้านของฝ่ายรัฐบาลว่า Facebook จะละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานอีก ซึ่งคาดว่า Libra หากเปิดใช้งานออกมาจริงๆ ในปีนี้แล้วอาจจะถูกจำกัดสโคปของการใช้งานและไม่น่าจะถูกนำมาเป็นฟันเฟืองการชำระเงินที่สำคัญและใช้เป็นการทั่วไปทั่วโลกอย่างที่ Facebook นั้นตั้งใจไว้แน่นอน

3. Bitcoin ETF ก็อาจจะยังไม่ได้รับการอนุมัติในปี 2020 นี้

หลังจากที่บริษัทต่างๆ ได้มีการยื่นคำขออนุมัติกองทุน Bitcoin ETF แต่สำนักงาน ก.ล.ต. แห่งสหรัฐอเมริกาก็ไม่มีทีท่าว่าจะอนุมัติ ทำให้ทุกครั้งที่มีคำขอสำนักงาน ก.ล.ต. ก็จะเลื่อนการพิจารณาออกมาแทบจะทุกครั้งและปฏิเสธคำขอไป ทำให้บริษัทต่างต้องยื่นคำขออีกรอบ โดยทางสำนักงาน ก.ล.ต. ก็ได้ให้เหตุผลว่ากังวลเรื่องการควบคุมและปั่นตลาด Bitcoin จึงไม่ได้มีการอนุมัติ แต่อีกเหตุผลหนึ่งก็น่าจะเป็นเพราะนาย Brad Sherman นั่งเก้าอี้เป็นประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้ลงทุน ผู้ประกอบการและตลาดทุนซึ่งดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงาน ก.ล.ต. และหน่วยงานกำกับดูแลอย่าง FINRA และเขาก็ไม่เคยแสดงความคิดเห็นที่เป็นการยอมรับ Bitcoin และคริปโตเคอร์เรนซีอื่นๆ

4. Stablecoin กำลังมาแรง

นอกจากเหรียญคริปโตต่างๆ ที่พัฒนาโดยประเทศ เราก็ยังเห็นอีกเทรนด์หนึ่งที่เป็นที่นิยมไม่แพ้กันเลยก็คือ Stablecoins ซึ่งโปรเจ็คเหรียญคริปโตที่จะออกโดยบริษัทใหญ่ๆ หรือภาครัฐมักจะมีการหนุนด้วยเงินเฟียตของประเทศเสมอ ต่อไปคาดว่าจะมีการนำ Stablecoin ไปใช้มากขึ้นในอนาคต โปรเจ็คของ J.P. Morgan อย่าง Fnality ก็จะเริ่มเปิดตัวให้บริการเช่นกัน

5. การเงินแบบ DeFi และระบบนิเวศการเงินแบบโอเพ่นเติบโตขึ้น

ในเวลานี้เทคโนโลยีการเงินแบบ Decentralized Finance หรือ DeFi นั้นได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เงินมูลค่ามากกว่า 290 ล้านดอลลาร์ถูกล็อคไว้กับระบบนิเวศของ DeFi และที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็เห็นจะเป็น Maker DAO และ Dai stablecoin นอกจากนี้กระดานเทรด Decentralized หรือ DEXs ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน และเทรนด์นี้ก็ยังคงมีแนวโน้มว่าจะเติบโตต่อไป

6. Ethereum 2.0 จะพัฒนาต่ออย่างไม่หยุดยั้ง

ทีมงานที่พัฒนา Ethereum ก็จะไม่หยุดพัฒนาเครือข่ายโดยการฟังเสียงของชุมชน ซึ่งนี้เป็นสิ่งที่ดีสำหรับ Ethereum นอกจากนี้หลังจากที่มีการอัพเกรด Istanbul แล้ว ศักยภาพในการรองรับจำนวนการทำธุรกรรมบนเครือข่ายของ Ethereum ก็พัฒนาขึ้นอีก 2,000 เท่า ถือเป็นผลการดำเนินงานที่ดีมาก

7. เทคโนโลยี Lightning Network เริ่มได้รับความนิยมยิ่งขึ้นอีก

เทคโนโลยี Lightning Network นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานอยู่บนเลเยอร์ที่สองของเครือข่าย Bitcoin เพื่อให้มีการทำธุรกรรมโอนและรับ Bitcoin ได้อย่างทันที ซึ่งมันพัฒนาความเร็วในการทำธุรกรรมโดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลแบบ of-chain และคิดค่าธรรมเนียมที่ต่ำมากๆ ในปี 2020 นี้เราอาจได้เห็นการใช้งานเครือข่าย Lightning Network มากขึ้นกว่าเดิม จะมีโหนดและช่องสร้างบนเลเยอร์สองมากขึ้นด้วย 

8. มีการใช้งานเครื่องมือที่เน้นความเป็นส่วนตัวและ Oracles มากขึ้น

ในปีที่แล้วประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวนั้นเริ่มมีความอ่อนไหวเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งทีเราได้เห็นข่าวประท้วงที่ฮ่องกงและสถานการณ์ก็เริ่มซาๆลงบ้างแล้ว ในปี 2020 นี้เราจะได้เห็นโปรโตคอลแบบ zero-knowledge (ZK) และ multi-party computations (MPC) กันมากขึ้น โปรเจ็คเหล่านั้นจะเติบโตและเข้ามาในอุตสาหกรรรมคริปโตเคอร์เรนซีมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างโปรเจ็ค Oracle ของ Chainlink ก็จะได้รับความสนใจมากขึ้นอื่นซึ่งอาจจะมีการพาร์ทเนอร์เข้าร่วมกับบริการใหม่ๆ ให้เราได้เห็นกัน

9. บล็อกเชนและโปรโตคอลที่แตกต่างกันจะเริ่มทำงานร่วมกันได้

เทรนด์ที่เปลี่ยนไปอีกตอนนี้คือเริ่มมีการวิจัยและการศึกษาให้บล็อกเชนที่แตกต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้ ตั้งแต่ปี 2019 ก็มีการใช้งาน multi-cloud blockchain เกิดขึ้นมากมาย ไม่น่าแปลกหากปีนี้จะมีเริ่มมีโปรเจ็คบล็อกเชนที่แตกต่างกันเริ่มทำงานด้วยกันได้แล้ว

10. ภาคกฎหมายจะเริ่มเดินรอยตามรัฐไวโอมิ่ง

รัฐไวโอมิ่งถือเป็นรัฐที่มีการออกกฎหมายกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลที่ค่อนข้างจะเป็นมิตรมากๆ ซึ่งได้มีการแบ่งแยกสินทรัพย์ดิจิทัลออกเป็น 3 หมวดหมู่ใหญ่ๆ ด้วย มีการอธิบายว่าสกุลเงินเสทมือนนั้นแตกต่างจากหลักทรัพย์ดิจิทัลอย่างไรซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่ในเรื่องของบล็อกเชนนั้นรัฐไวโอมิ่งยังไม่ดังเท่ากับของโคโลราโด และรัฐอื่นๆ อย่างนิวเม็กซิโกและแอริโซนาก็เริ่มออกกฎเกณฑ์กำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลไปในทิศทางเดียวกันกับของไวโอมิ่ง

โดยภาพรวมในปี 2020 นี้เป็นอีกปีที่น่าจับตามอง เป็นปีที่มีโปรเจ็คบล็อกเชนเติบโตมากขึ้นและเราต่างคาดหวังว่ามันจะมีการใช้งานคริปโตเคอร์เรนซีและบล็อกเชนมากขึ้นเรื่อยๆ ในทศวรรษใหม่นี้

ที่มา : forbes

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น