<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

คอมพิวเตอร์ควอนตัมที่เร็วที่สุดในโลกถูกเปิดตัวแล้ว Bitcoin จะตกอยู่ในความเสี่ยงหรือไม่

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

บริษัทด้านเทคโนโลยีระดับโลก Honeywell ได้ออกมาเคลมว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมของพวกเขาที่เพิ่งจะถูกทดสอบไปเมื่อไม่นานนี้มีความเร็วมากที่สุดในโลก คำถามที่ตามมาก็คือว่าซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นนั้นจะสามารถทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นขนาดไหน และมันจะส่งผลกระทบต่อวงการคริปโตเคอเรนซี่และ bitcoin  อย่างไร

โดยเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาทาง Honeywell ได้ออกมาประกาศว่าทีมนักวิทยาศาสตร์, วิศวกร และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆสามารถที่จะพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีวอลลุ่มขนาด 64 ได้ โดย Volume ดังกล่าวนั้นถูกใช้เพื่อวัดจำนวนตัวเลขคิวบิทของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงการที่มันสามารถจัดการประมวลผล โดยก่อนหน้านี้เครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมของ IBM  สามารถที่จะทำคะแนนได้อยู่ที่ 32 ซึ่งนั่น ซึ่งนั่นหมายความว่าของ Honeywell นั้นมีความเร็วที่มากกว่าเท่าตัว

เครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมของ Honeywell นั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถเพิ่มจำนวนคิวบิท ได้สูงถึง 640,000 โดยนาย Tony Uttley ประธานของบริษัท Honeywell กล่าวให้สัมภาษณ์กับช่อง CNET ว่า

“คิดถึงห้องประชุมที่มีที่นั่งอยู่เป็นจำนวนมาก พวกเราได้สร้างระบบ infrastructure ให้เป็นเหมือนกับห้องประชุม โดยพวกเราได้ทำการเพิ่มที่นั่งประมาณ 2-3 ที่ในเวลาเดียวกัน”

เครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมสามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนสูงได้ เนื่องจากว่าคิวบิทสามารถที่จะทำงานแบบ “superposition” หรือทำงานใน 2 รูปแบบได้ในเวลาเดียวกัน

นาย Uttley กล่าวต่ออีกว่า

“นั่นหมายความว่าเมื่อคุณมีคิวบิทที่มีปฏิกิริยาต่อกันในคอมพิวเตอร์ คุณก็จะได้ในสิ่งที่ผมเรียกว่า quantum superpower โดยคุณจะสามารถขยายตัวเลขไปเรื่อยๆแบบเอกซ์โพเนนเชียลทุกๆตัวได้ในเวลาเดียวกัน”

บริษัท Honeywell ได้ทำการจับมือกับ Azure Quantum ของ Microsoft โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำเอาคอมพิวเตอร์ควอนตัมมาใช้งานในชีวิตจริง 

นาย Darius Adamczyk หรือ CEO ของ Honeywell ให้สัมภาษณ์กับ cnbc  เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาโดยเขากล่าวว่าธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ JP Morgan นั้นเป็นหนึ่งในลูกค้าคอมพิวเตอร์ควอนตัมของพวกเขาด้วย

“มันมี Application  ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นในด้านของวิทยาศาสตร์, การปรับแต่งเส้นทางอากาศ, รวมไปถึงซอฟต์แวร์ด้านการเงิน ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ทาง JP Morgan กำลังจะใช้ อะไรก็ตามที่ก่อนหน้านี้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมไม่สามารถทำได้ จะถือเป็นโอกาสอันดีงามที่จะได้นำมาลองในเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัม”

ปัจจุบันเราเริ่มที่จะได้เห็นผู้แข่งขันในตลาดคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มากขึ้นเรื่อยๆแล้ว Google และ IBM  นอกจากนี้บริษัท Startup PsiQuantum ก็กำลังทำการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบโฟตอนที่เคลมไว้ว่าจะสามารถทำได้ถึง 1 ล้านคิวบิทอีกด้วย 

ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญกำลังคาดหวังว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมจะสามารถมาเปลี่ยนแปลงและยกระดับอุตสาหกรรมได้ทุกอุตสาหกรรม รวมไปถึงระบบความปลอดภัยด้านการเข้ารหัสอย่างเช่น bitcoin และบล็อกเชนอื่นๆ ดูเหมือนว่ามันจะต้องใช้คิวบิทที่มากขึ้น

นาย Dragos Ilie นักวิจัยด้านเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมและด้านการเข้ารหัสที่มหาวิทยาลัย Imperial College London  กล่าวว่าการเพิ่มจำนวนคิวบิทเพื่อทำการขยายระบบนั้นมีความซับซ้อนสูงมาก และอาจส่งผลทำให้ระบบนั้นไร้ความเสถียรได้

“ปัจจุบันเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของ Google  นั้นมี 53 คิวบิท

หากจะให้มันมีผลกระทบต่อ bitcoin และระบบด้านการเงินอื่นๆ มันจะต้องมีจำนวนคิวบิทอยู่ที่ประมาณ 1,500 คิวบิท และระบบนั้นจะต้องมีการอนุญาตให้เชื่อมต่อเข้ากันทั้งหมด”

แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญในวงการคิดโตอย่างนาย Charles Hayter จากบริษัท CryptoCompare เคยออกมาชี้ว่าวงการคริปโตและบล็อกเชนนั้นสามารถที่จะปรับตัวตามเข้าสู่ยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้ แต่รายงานล่าสุดจาก Global Risk Institute เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาชี้ว่าความเสี่ยงของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ควอนตัมสู่ระบบการเข้ารหัสนั้นจะต้องมีการตรวจสอบและประเมินผลอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากว่าเทคโนโลยีและอัลกอริธึมดังกล่าวนั้นมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ

สำหรับผู้ที่สนใจนั้นสามารถดูวีดีโอด้านล่างได้