<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผู้เชี่ยวชาญชี้ “ระดับเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% จะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อตลาด Crypto”

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

แม้ว่าธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก จะเริ่มปรับใช้นโยบายที่กำหนดขึ้นเพื่อรักษาอัตราเงินเฟ้อ แต่ความวุ่นวายด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันอาจทำให้พวกเขาเร่งปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับสกุลเงิน Fiat แต่เป็นเรื่องดีสำหรับ Crypto ในระยะยาว

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางได้ใช้นโยบายการเงินเพื่อคงอัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ 2% หรือต่ำกว่า ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะพยายามควบคุมหนี้สินต่อไปเพื่อรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจนี้

ทว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวได้พังทลายลงในช่วงวิกฤตการเงินในปี 2008 อันมีสาเหตุมาจากธนาคารเพื่อการลงทุนที่หากำไรจากสินเชื่อ ซึ่ง Bitcoin ได้เกิดขึ้นจากการล่มสลายทางเศรษฐกิจที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ตามมาด้วยการแทรกแซงจากธนาคารเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวทางการเงินกำลังเกิดขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงอย่างมหาศาลจนเกินควบคุม และธนาคารกลางต่าง ๆ ก็พยายามต่อสู้เพื่อรักษาสถานการณ์ไว้ โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว The Economist ชี้ให้เห็นว่าเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ที่มีมายาวนานอาจเพิ่มขึ้นเป็น 4%

โดยเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม Jeremy Allaire ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของ Circle ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อตอบสนองต่อข้อเสนอของผู้ให้บริการด้านสภาพคล่องของ Crypto อย่าง Cumberland

ตามรายงานของ The Economist การแก้ไขเป้าหมายที่เพิ่มเป็น 4% จะช่วยให้ธนาคารกลางสามารถจัดการกับงบประมาณแผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และหาทางออกจากวิกฤตการณ์เงินเฟ้อที่กำลังจะเกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นนั้นยังไม่ใช่วิธีการที่ดีนัก โดยอาจส่งผลให้นักเทรดสูญเสียความเชื่อถือเพราะมองว่าเป็นเพียงรูปแบบการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อีกรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันด้วย เนื่องจากการลงทุนที่ป้องกันเงินเฟ้อไม่สามารถใช้ได้กับคนส่วนใหญ่

เงินทุนมีแนวโน้มจะไหลเข้าสู่สินทรัพย์ที่มีมูลค่าในช่วงเวลาเหล่านี้ และมักจะเป็นสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริง แต่ในอีกด้านหนึ่ง แม้ว่า Crypto จะสูญเสียคุณสมบัติด้านการป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในปีนี้ และสูญเสียมูลค่าไปในปีที่ผ่านมา แต่วัฏจักรของตลาดมักใช้เวลาสองสามปี ดังนั้นสภาวะเงินเฟ้อสูงที่ยืดเยื้ออาจส่งผลดีต่อสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นอย่างมาก

Cumberland ชี้ให้เห็นว่า Crypto เป็นการป้องกันความเสี่ยงจากการเสื่อมสภาพมากกว่าการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ

“อัตราเงินเฟ้อที่ยั่งยืนเป็นเพียงรูปแบบอื่นของการลดค่าเงิน Fiat ซึ่งเป็นเบื้องหลังการดำเนินการอย่างน่าทึ่งของ Crypto”

คุณสมบัติเหล่านี้ยังสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนในประเทศต่าง ๆ ด้วย เช่น อาร์เจนตินา เวเนซุเอลา และตุรกี ซึ่งได้เพิ่มระบบการชำระเงินด้วย Crypto มากขึ้นหลังจากที่สกุลเงิน Fiat ของพวกเขาล่มสลาย

ที่มา: beincrypto