<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

5 อันดับบริษัท Internet of Things (IoT) ที่น่าจับตามองในปี 2023

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

จุดประสงค์ของเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) คือ สิ่งที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ เครื่องจักร และวัตถุทางกายภาพเข้ากับอินเทอร์เน็ต เพื่อรวบรวม แบ่งปัน และดำเนินการกับข้อมูล ซึ่งช่วยให้การทำงานเป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อการควบคุมระบบและทรัพย์สินมีประสิทธิภาพดีขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มความสามารถด้านการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

บริษัท IoT ต่าง ๆ มีเป้าหมายที่จะจัดหาโซลูชันเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถรวบรวม วิเคราะห์ และดำเนินการกับข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างรายได้อยู่เสมอ ซึ่งอาจรวมถึงการจัดหาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นด้านการเชื่อมต่ออุปกรณ์กับอินเทอร์เน็ต การพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์เหล่านั้น และการสร้างแอปพลิเคชันที่สามารถทำงานอัตโนมัติหรือรับข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ

ในขณะนี้เทคโนโลยี IoT ถูกนำมาใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การผลิต การดูแลสุขภาพ การขนส่ง และเมืองอัจฉริยะ (smart cities) ทั้งนี้บริษัท IoT ต่าง ๆ ยังสนใจที่จะสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ และโอกาสในการสร้างรายได้ด้วยการให้บริการต่าง ๆ เช่น การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ การตรวจสอบตามเวลาจริง และการควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกลอีกด้วย

ในปีนี้ มีบริษัท IoT ที่น่าสนใจอยู่หลายแห่งด้วยกัน อย่างไรก็ดี ทางสื่อข่าว beincrypto ได้แนะนำว่ามีบริษัท IoT ที่มีความโดดเด่นในปี 2023 อยู่ทั้งหมด 5 แห่ง มาดูกันว่าบริษัทที่มีรายชื่ออยู่ในการจัดอันดับครั้งนี้มีอะไรบ้าง

IOTA

IOTA ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Tangle เพื่อสร้างเครือข่ายแบบ decentralized ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ Tangle โดยเป็นประเภทใหม่ของบัญชีแยกประเภทแบบ distributed ที่ช่วยให้การทำธุรกรรมรวดเร็วและปลอดภัยโดยไม่จำเป็นต้องขุดหรือเสียค่าธรรมเนียม

IOTA มีความร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่ง รวมถึง Bosch และ Fujitsu และกำลังทำงานเพื่อสร้างระบบนิเวศใหม่ของอุปกรณ์เชื่อมต่อที่สามารถส่งและรองรับการชำระเงินได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

Helium

Helium กำลังทุ่มเทเพื่อสร้างเครือข่ายแบบ decentralized ของอุปกรณ์ไร้สายที่สามารถใช้สร้างอินเทอร์เน็ตประเภทใหม่ได้ ทั้งนี้เครือข่ายของ Helium ขับเคลื่อนด้วยสกุลเงินดิจิทัลที่เรียกว่า HNT ซึ่งใช้เพื่อจูงใจผู้ใช้ในการสร้างและบำรุงรักษาเครือข่าย โดยขณะนี้เครือข่ายของ Helium ถูกนำไปใช้งานอย่างหลากหลาย รวมไปถึงอุปกรณ์ติดตามสำหรับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับการเกษตร และการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม

Ambrosus

ผู้นำด้าน IoT อันดับสาม คือ Ambrosus ซึ่งกำลังสร้างแพลตฟอร์มแบบ decentralized สำหรับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดย Ambrosus ใช้สกุลเงินดิจิทัลที่เรียกว่า AMB เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้สร้างและดูแลเครือข่าย และขณะนี้บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่ง รวมถึง Nestle และ Carrefour ก็กำลังใช้แพลตฟอร์มของ Ambrosus อีกด้วย

แพลตฟอร์มของ Ambrosus ได้รับการออกแบบมาเพื่อมอบความโปร่งใสและตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานแบบย้อนกลับได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถช่วยปรับปรุงความปลอดภัยของอาหารและลดจำนวนสินค้าที่เสียหาย

WISE

แพลตฟอร์มของ WISE ได้รับการออกแบบให้เป็นศูนย์รวมอุปกรณ์ IoT เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อและจัดการอุปกรณ์ของตนได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้แพลตฟอร์ม WISE ขับเคลื่อนด้วยสกุลเงินดิจิทัลที่เรียกว่า WSE เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้สร้างและบำรุงรักษาเครือข่าย โดยในขณะนี้ WISE ถูกนำไปใช้งานอย่างหลากหลาย ตั้งแต่ระบบอัตโนมัติภายในบ้าน ไปจนถึง IoT ในอุตสาหกรรม

Atonomi

Atonomi นำเสนอโครงสร้างพื้นฐานบนบล็อกเชนสำหรับการระบุอุปกรณ์ที่ปลอดภัยและการจัดการสำหรับอุปกรณ์ IoT โดยโครงสร้างพื้นฐานนั้นใช้ บล็อกเชน Ethereum และใช้ smart contracts เพื่อระบุตัวตนที่ปลอดภัยและสามารถตรวจสอบได้สำหรับอุปกรณ์ IoT

ประโยชน์ของ IoT

  • IoT มีศักยภาพด้านการสร้างเครือข่ายแบบ decentralized รูปแบบใหม่ที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากกว่าเครือข่ายแบบ centralized แบบเดิม เนื่องจากเครือข่ายเหล่านี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากความล้มเหลวเพียงจุดเดียว และทนทานต่อการโจมตีทางไซเบอร์ได้ดีกว่า
  • IoT สามารถใช้เพื่อสร้างแอปพลิเคชันและบริการประเภทใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถทำได้ในเครือข่ายแบบ centralized รูปแบบเดิม
  • IoT สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างแรงจูงใจประเภทใหม่ ๆ ให้กับผู้ใช้เครือข่ายได้ ตัวอย่างเช่น อาจใช้เครือข่ายอย่าง Helium เพื่อจูงใจผู้ใช้ให้สร้างและบำรุงรักษาเครือข่าย ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจว่าเครือข่ายจะประสบความสำเร็จในระยะยาว

ข้อเสียของ IoT

  • ความสามารถด้านการปรับขนาดของเครือข่าย IoT เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่ากังวล เนื่องจากเครือข่ายเหล่านี้อาศัยเครือข่ายอุปกรณ์แบบ decentralized จึงอาจไม่สามารถรองรับธุรกรรมจำนวนมากได้ ดังนั้นสิ่งนี้อาจจำกัดกรณีการใช้งานที่เป็นไปได้สำหรับเครือข่าย IoT และอาจเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ IoT ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
  • ข้อกังวลอีกประการหนึ่ง คือ ความปลอดภัยของเครือข่าย IoT เนื่องจากเครือข่ายเหล่านี้จำนวนมากยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา จึงอาจมีช่องโหว่ที่ยังไม่ถูกค้นพบ

บทสรุป

บริษัท IoT ชั้นนำต่าง ๆ เช่น IOTA, Helium, Ambrosus, WISE และ Atonomi ถือว่าเป็นผู้นำในเทคโนโลยีนี้และควรค่าแก่การจับตามองในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เนื่องจากเทคโนโลยี IoT จะยังคงเติบโตและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในอนาคต เครือข่ายของ IoT อาจนำไปสู่การสร้างแอปพลิเคชันและบริการประเภทใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถทำได้ในเครือข่ายแบบดั้งเดิม ดังนั้น IoT จึงอาจสามารถเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับนักลงทุนในอนาคต

ที่มา: beincrypto