<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Investment Token คืออะไร ทำไมถึงเป็นเทรนด์ใหม่แห่งโลกการระดมทุนในอนาคต ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ก่อนอื่นเลยทุกท่านคงจะรู้ว่าในโลกของการเทรดเหรียญนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ คริปโต (เหรียญที่รันบนบล็อกเชนตนเอง) และ โทเคน ซึ่งตัวโทเคน นี้สามารถแบ่งแยกย่อยออกได้อีก 2 ประเภท โดยประเภทแรกคือ Utility token ซึ่งตัวโทเคนจะทำหน้าที่ให้สิทธิกับผู้ใช้ง่านในด้านต่าง ๆ เช่น ชำระค่าบริการ หรือ กำกับดูแลเครือข่าย และ Investment Token (โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการถือหุ้นบนตลาดหลักทรัพย์ คือผู้ลงทุนนั้นจะคาดหวังกับผลตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอไว้เช่น ส่วนแบ่งกำไร หรือ รายได้ รวมไปถึงสิทธิต่าง ๆ แล้วแต่ข้อกำหนดข้อตัวโทเคน

Investment Token นั้นมีข้อดีด้วยความที่มันเป็นโทเคน แม้ไม่มีสภาพคล่อง หรือ ขายไม่ได้ในราคาที่ต้องการก็ยังมีคุณประโยชน์อยู่ทำให้มีความเสี่ยงที่จำกัดกว่าคริปโต อีกทั้งยังมีสินทรัพย์จริงที่จับต้องได้คอยหนุนอยู่ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่สูงกว่า Utility token เนื่องจากผู้ที่ลงทุนในเหรียญนี้นั้นลงทุนเพื่อคาดหวัง ผลกำไร ซึ่งมีโอกาสที่ธุรกิจนั้น ๆ จะเกิดการขาดทุนได้ ซึ่งตัวของโทเคนนั้นจะสามาถซื้อได้ผ่านการระดมทุน ( ICO

โครงสร้างของ Investment Token ยังสามารถแบ่งแยกย่อยได้เป็นอีก 2 ประเภทตามรูปแบบของการ ICO ได้แก่ Dept-Like ICO คือโทเคนที่มีลักษณะคล้ายหนี้ ใกล้เคียงกับหุ้นกู้ โดยเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้เข้ามาร่วมลงทุนและได้รับผลตอบแทนหลังจบโครงการ และ ประเภทที่ 2 อย่าง Infra-Backed ICO ที่ในรูปแบบนี้จะสินทรัพย์อ้างอิง หรือ รายรับจากกิจการบนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

สาเหตุที่ Investment Token ได้ชื่อว่าเป็นอนาคตของการระดมทุน นั้นเป็นเพราะว่า ตัวของมันอยู่ในจุดกึ่งกลางระหว่างการลงทุนรูปแบบเดิม ที่มีกฎหมาย และการตรวจสอบความปลอดภัยที่ชัดเจน ประกอบกับมีสินทรัพย์ที่ดูจับต้องได้ ผนวกกับ การลงทุนรูปแบบใหม่ที่นิยมกันในปัจจุบัน ที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอด 24 ชั่วโมงและมีความปลอดภัยด้วยการทำงานบนบล็อกเชน นักลงทุนรายย่อยก็สามารถเข้ามาร่วมลงทุนได้อย่างไม่ยากลำบากทั้งในเรื่องของเงินทุนที่จะต้องลงทุนและลดความยุ่งยากในการลงทุนลง

เมื่อปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าทางรัฐบาลไทยก็ได้มีการสนับสนุน โทเคนประเภทนี้ โดยได้มีการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักลงทุนที่ถือ โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน และ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ออกโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน

ในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยได้มีออกกฎนำร่องสำหรับโทเคนประเภทนี้แล้ว โดยทาง กลต. ได้ จัดให้โทเคนอยู่ในหมวดหมู่ของ “สินทรัพย์ดิจิทัล” และถูกกำกับดูแลภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล


ที่มา : SET KUBIX SCB