<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ชวนรู้จัก “Death Bot” AI ที่สามารถพยากรณ์ความตายได้แม่นยำถึง 79% 

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนา AI ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ของบุคคล เช่น ข้อมูลสุขภาพ , ประวัติการศึกษา , ประวัติการทำงาน และข้อมูลอื่นๆ เพื่อทำนายว่าบุคคลนั้นจะมีแนวโน้มเสียชีวิตเมื่อไหร่ โดย AI นี้มีความแม่นยำในการทำนายสูงถึง 79%

Boffins กำลังสร้าง AI Death Bot หรือ บอทแห่งความตาย ที่สามารถคาดเดาได้ว่าผู้คนจะ “สิ้นลมหายใจ” เมื่อไหร่

AI ตัวนี้จะวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ,การศึกษา, อาชีพ ,รายได้, ที่อยู่ และรูปแบบการทำงานของผู้คน เพื่อคาดการณ์อย่างแม่นยำว่าเมื่อใดจะเสียชีวิต

นักวิทยาศาสตร์ในเดนมาร์กกล่าวว่า  AI ตัวนี้มีความแม่นยำถึง 79% และเป็นระบบการวิเคราะห์ชีวิตมนุษย์แม่นยำที่สุด ซึ่งพวกเขากำลังพัฒนา AI ด้วยข้อมูลของชาวเดนมาร์กจำนวนทั้งหมด 6 ล้านคนที่รวบรวมมาในช่วงระหว่างปี 2551 ถึง 2563

ระบบนี้ออกแบบมาโดย มองชีวิตมนุษย์เป็นลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับที่ชุดคำแต่ละคำที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อสร้างความหมายของประโยค

Sune Lehmann Jorgensen จากมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเดนมาร์กกล่าวว่า “เราใช้แบบจำลองนี้เพื่อสามารถทำนายเหตุการณ์ในอนาคตของคุณตามเงื่อนไขและเหตุการณ์ในอดีตของคุณได้ “

นักวิจัยได้นำกลุ่มคนอายุ 35 ถึง 65 ปี ซึ่งครึ่งหนึ่งเสียชีวิตระหว่างปี 2559 ถึง 2563 และป้อนข้อมูล ในระบบให้กับพวกเขาตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2559 เพื่อขอให้ AI คาดการณ์ว่าใครจะยังมีชีวิตอยู่และใครจะเสียชีวิตภายในปี 2563

การสุ่มเดานั้นมีอัตราความแม่นยำ 50% แต่ระบบอัตโนมัตินี้มีความแม่นยำถึง 78.8%

ก่อนหน้านี้ไม่มี AI ใดที่ประสบความสำเร็จขนาดนั้น โดยมีความแม่นยำมากกว่า “ตารางชีวิตตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย” ที่บริษัทประกันภัยใช้ ซึ่งมีอัตราความแม่นยำเพียง 55.5% ตามการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Computational Science นักวิจัยเตือนว่า จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมก่อนที่จะใช้แบบจำลองนี้เพื่อประเมิน “ความเสี่ยงส่วนบุคคลในการติดโรคหรือเหตุการณ์ในชีวิตอื่น ๆ ที่จะสามารถป้องกันได้”

ความแม่นยำนี้ วัดได้จากการทดสอบกลุ่มคนจำนวนครึ่งหนึ่งที่รู้ว่า จะเสียชีวิตและระมัดระวังมากขึ้นในการใช้ชีวิต ดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้นหรืออาจพักผ่อนมากขึ้น เพื่อให้รอดชีวิต

การวิจัยกล่าวว่า อัตราการเสียชีวิตโดยปกติแล้วเป็นเรื่องที่ “ท้าทายสำหรับการทำนาย” ในกลุ่มคนอายุระหว่าง 30 ถึง 60 ปี

Jorgensen บอกกับ New Scientist ว่าโมเดลนี้ “ไม่ควรถูกนำมาใช้โดยบริษัทประกันภัย” เพราะ แนวคิดพื้นฐานของการประกันภัย คือ การที่ผู้คนมาซื้อประกันเพื่อแบ่งเบาความเสี่ยง ทุกคนจ่ายเบี้ยประกันส่วนหนึ่งให้กับบริษัทประกันภัย โดยที่เราไม่รู้ว่าใครจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์โชคร้าย แต่โมเดลนี้สามารถคาดการณ์ได้ว่าใครมีแนวโน้มจะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้ทุกคนสามารถ “แบ่งเบาความเสี่ยง” ได้

ที่มา : Dailystar