<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ยักษ์ใหญ่ Fintech ‘Stripe’ เตรียมนำการชำระเงินด้วย Crypto กลับมา หลังยกเลิกไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

บริษัทเทคโนโลยีด้านการเงิน Stripe เตรียมนำบริการชำระเงินด้วยคริปโตกลับมาอีกครั้ง หลังจากยกเลิกการสนับสนุน Bitcoin (BTC) และการชำระเงินด้วยคริปโตทั้งหมดเมื่อ 6 ปีที่แล้ว โดยการกลับมาเปิดให้ใช้งานอีกครั้งในช่วงฤดูร้อนนี้ตอนนี้ ในเบื้องต้นจะรองรับเฉพาะ USDC ซึ่งเป็น stablecoin ของ Circle เท่านั้น

“เรามีความตื่นเต้นที่จะประกาศว่าเรากำลังนำคริปโตกลับมาเป็นอีกหนึ่งช่องทางการรับชำระเงิน แต่ในครั้งนี้มาพร้อมกับประสบการณ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม” John Collison ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Stripe กล่าวในงานประชุม Global Internet Economy conference ของบริษัทเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

บริษัท Fintech แห่งนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในวงการคริปโต โดยเริ่มต้นเข้าสู่ระบบนิเวศของ Bitcoin ในปี 2014 แต่สี่ปีต่อมา ในปี 2018 บริษัทได้ยุติความพยายามทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่า Bitcoin มีความผันผวนมากเกินไปและทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์มากกว่าสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ยังเคยวิพากษ์วิจารณ์เรื่องระยะเวลาในการทำธุรกรรมที่ยาวนานและค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ปีนั้นถือเป็น “ฤดูหนาวของคริปโต” ครั้งแรกของ Bitcoin โดยมูลค่าของโทเค็นลดลงจากจุดสูงสุดที่ 19,650 ดอลลาร์ในเดือนธันวาคม 2017 เหลือ 3,401 ดอลลาร์ ในท้ายปี 2018

แต่อย่างไรก็ดีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีทางการเงิน แห่งนี้ได้ดำเนินการเพื่อกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้งในปีถัดมา โดยการเป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ Libra ของ Facebook แต่ได้ถอนตัวออกไปในปลายปีนั้นเอง และโครงการ Libra ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

ในปี 2022 Stripe ได้เปิดตัวโครงการเพื่อสนับสนุนการชำระเงินแบบ fiat-to-crypto

“คริปโตกำลังมีประโยชน์ใช้สอยที่แท้จริง” Collison กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา “ด้วยความเร็วของธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นและค่าธรรมเนียมที่ลดลง เรากำลังเห็นว่าคริปโตเริ่มมีเหตุผลมากขึ้นในการนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน”

Stripe กล่าวว่า การชำระเงินจะรองรับบนบล็อกเชนของ Solana (SOL), Ethereum (ETH) และ Polygon (MATIC)

บริษัทมีมูลค่าตามราคาตลาดอยู่ที่ 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ตามข้อมูลของ Bloomberg และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการชำระเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีมูลค่าธุรกรรมเกินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2023

ที่มา: coindesk