<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

การลงทุนใน Cryptocurrency: อารมณ์และการตัดสินใจ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

แม้ว่ามากกว่า 70% ของมูลค่าตลาด Crypto จะลดลงภายในเวลาไม่กี่วัน แต่ก็ทำให้เห็นแง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ นั่นก็คือการที่ตลาด Crypto ยังคงอยู่ได้ และบริษัทส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ ซึ่งทำให้เห็นว่าพฤติกรรมของตลาด Cryptocurrency นั้นไม่ได้เหมือนกับพฤติกรรมของตลาดอื่น ๆ เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าร่วมในตลาดนี้ได้อย่างง่ายดาย (ไม่มีระบบ KYC, กฏระเบียบและอื่น ๆ) และถึงแม้ราคา Bitcoin จะลดลงถึง 70% แต่มันก็ยังคงอยู่ได้และยังคงทำสถิติราคาใหม่อยู่ตลอด

ใครเป็นนักเทรดที่ไม่ดีบ้าง

นักเทรดที่ไม่ดีก็คือนักลงทุนรายย่อยทั้งหลายที่ทิ้งเงินโดยการที่ซื้อเหรียญต่าง ๆ ที่ราคาสูง และเมื่อราคาเหรียญลงก็เกิดความกลัวจึงขายเหรียญไปในราคาที่ต่ำกว่าที่ซื้อมา

นักลงทุนรายย่อยจึงควรถามคำถามดังต่อไปนี้ก่อนที่จะทำการลงทุนในโปรเจกต์ใด ๆ ก็ตาม

  • ข่าวนี้เป็นเรื่องดีหรือไม่ดีสำหรับเหรียญนี้?
  • มีคนโพสต์ความคิดเห็นเชิงบวกหรือลบเกี่ยวกับเหรียญ?
  • มูลค่าตลาด และ มูลค่าเงินระดมทุนมีมูลค่าเท่าไหร่?
  • รีวิวและการให้คะแนนในแต่ละ ICO เป็นอย่างไร?
  • ความรู้สึกของผู้คนเกี่ยวกับทีมงานผู้สร้างเหรียญ?
  • การตอบรับของชุมชนต่อ Project นี้?
  • เหรียญนี้มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอะไรบ้าง?
  • มีเหรียญที่คล้ายคลีงกันหรือไม่?

ปัจจัยอะไรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ Portfolio ของคุณโดยตรง

นอกจากข้อมูลและการวิเคราะห์ต่าง ๆ แล้วนั้น อีกปัจจัยที่สำคัญก็คืออารมณ์ของนักลงทุน

นักลงทุนที่ดีที่สุดนั้น ไม่ใช่คนที่ไม่มีอารมณ์แต่อย่างใด แต่เป็นคนที่ใช้อารมณ์ในด้านบวกในระหว่างกระบวนการในการตัดสินใจต่างหาก อย่างไรก็ตาม หากไม่มีอารมณ์ใดเลยนั้นก็จะไม่สามารถทำการตัดสินใจใด ๆ ได้เช่นกัน

เห็นได้จากกรณีของนาย Phineas Gage ที่ประสบกับเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่ได้เปลี่ยนชีวิตของเขาไปตลอดกาล โดยในวันหนึ่งของการทำงาน เขาได้ถูกแผ่นเหล็กเจาะทะลุกระโหลกศีรษะเข้าไปทำลายสมองของเขา แม้ว่านาย Phineas จะสามารถฟื้นตัวและรื้อฟื้นทักษะด้านเครื่องกลกลับมาได้ แต่เนื่องจากสมองส่วน Pre-Frontal Cortex ของเขานั้นถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงทำให้เขาไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้แม้แต่ในขั้นพื้นฐานเลย ทำให้กระทบต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพของเขาอย่างมาก

นาย Antonio Damasio นักสรีรวิทยาชาวโปรตุเกสผู้ศึกษากรณีของนาย Phineas ได้เขียนสิ่งที่เขาค้นพบไว้ ซึ่งมีใจความสำคัญคือ ความรู้สึกและเหตุผลมีนั้นการเชื่อมโยงกันและเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแยกทั้งสองสิ่งออกจากกัน

กล่าวคือการตัดสินใจแต่ละครั้งนั้นเชื่อมต่อกับทั้งอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำและกับความรู้สึกทางกายภาพด้วย และนี่คือเหตุผลที่เราเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผิดพลาด ยิ่งเลวร้ายเท่าไรก็ยิ่งดี ซึ่งถ้าเราสูญเสียการเชื่อมต่อนั้น ๆ เราจะไม่สามารถที่จะตัดสินใจอะไรได้เลย

เราจะสามารถใช้ประโยชน์ของอารมณ์ในกระบวนการตัดสินใจได้อย่างไร?

คำแนะนำก็คือควรนำความเข้าใจในเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น และหากมีเครื่องมือที่จะสามารถช่วยให้สามารถช่วยจัดการกับอารมณ์ และช่วยทำการตัดสินใจด้วยผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็ควรใช้เครื่องมือเหล่านี้

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงทำนาย (Predictive Analytics) จะช่วยในการวิเคราะห์วิธีและตรรกะของคุณเทียบกับตลาด Crypto ได้ โดยมีเว็บที่ให้บริการด้านนี้อยู่ เช่น Stox, Augur และ Gnosis ซึ่งการใช้เครื่องมือเหล่านี้ก็เพื่อเป็นการช่วยตรวจสอบความรู้สึกของคุณต่อเหรียญใด ๆ  เช่น สิ่งที่คุณทำเป็นอย่างไร? เหรียญนี้หลอกลวงหรือไม่? มูลค่าต่ำกว่าที่เป็นหรือไม่? อารมณ์ของคนอื่น ๆ ในตลาดเป็นอย่างไรและสอดคล้องกับอารมณ์ของคุณไหม?

ซื้อตอนที่ทุกคนขาย และขายตอนที่มีกระแส

เมื่อลองเปรียบเทียบระหว่างราคา Bitcoin กับ จำนวนครั้งที่ Bitcoin ถูกนำไปเสิร์ชบน Google ก็จะพบว่าทั้งสองสิ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างกันคือเมื่อราคาเพิ่มขึ้นก็จะมีผู้เสิร์ชคำนึ้มากขึ้น ในทางกลับกันเมื่อราคาตกลง จำนวนครั้งในการเสิร์ชคำนี้ก็จะลดลง

อย่างไรก็ตาม ในแต่ละวันก็จะมีทั้งนักลงทุนที่ชนะและพ่ายแพ้ ในการที่จะอยู่ในด้านที่ชนะก็ต้องผ่านการสูญเสียมาก่อน ดังนั้นเราควรเรียนรู้จากความผิดพลาดว่าควรจะตัดสินใจอย่างไรให้ดีขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไป

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น