<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการร่าง พรก. ด้านภาษีเงินดิจิตอล ‘เก็บภาษี 15% จากกำไีรการซื้อขาย Bitcoin’

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

จากที่สยามบล็อกเชนได้รายงานข่าว กรมสรรพากรอาจเก็บภาษี Captial gain 10% จากกำไรในการลงทุน Cryptocurrency ไปเมื่อวันวานนี้ วันนี้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเรื่องการจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินดิจิตอล ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

โดยเผยให้เห็นว่าจะมีการเก็บภาษี 15% จากรายได้ที่ได้จากการซื้อขาย Bitcoin และ Cryptocurrency

อ้างอิงจากเว็บฐานเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2018 ที่ผ่านมามีรายงานว่าทางกระทรวงการคลังพิจารณาว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร สำหรับการเก็บภาษีเงินได้จากเงิน Cryptocurrency

โดยในนิยามของทรัพย์สินดิจิตอลในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ระบุว่า “ทรัพย์สินดิจิตอล” หมายความว่า

  1. คริปโทเคอร์เรนซี
  2. โทเคนดิจิตอล
  3. ทรัพย์สินในรูปหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด

โดยใจความสำคัญคือการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% และต้องนำรายได้รวมไปคำนวณภาษีในหมวด 40(4) ที่ประกาศเพิ่มสองหมวดย่อย คือ (ซ) สำหรับกำไรเป็นเงินจากเงิน Crypto และ (ฌ) สำหรับผลประโยชน์อื่นที่ตีราคาเป็นเงินได้ และมีกำไร

กล่าวคือเมื่อนักลงทุนมีรายได้จากการลงทุนใน Cryptocurrency ก็จะต้องนำมาคำนวนหักภาษี 15% และต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

 

สำหรับการกำหนดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายนั้นสามารถดำเนินการโดยการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้และคำสั่งกรมสรรพากร เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อพระราชกำหนดฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้ว

อย่างไรก็ตาม รายงานยังไม่ได้เผยว่าร่างกฎหมายที่ว่านี้จะถูกบังคับใช้เมื่อใด ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปว่านักลงทุนจะต้องเริ่มนำรายได้จากการซื้อขายเหรียญ Cryptocurrency ไปยื่นตามแบบในวงเล็บดังกล่าวเมื่อใด และทางรัฐจะมีมาตรการตรวจสอบนักลงทุน Cryptocurrency ที่ไม่ได้ทำการซื้อขายผ่านเว็บเทรดว่าชำระภาษีแล้วหรือไม่อย่างไร

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น