<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผู้สร้าง Ethereum คว่ำบาตรงานสัมมนาเว็บข่าวสารคริปโต Coindesk หลังโฆษณาให้นักต้มตุ๋น

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา นาย Vitalik Buterin ผู้ก่อตั้ง Ethereum ได้ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อเว็บข่าวสารคริปโตนาม Coindesk ผ่านบัญชี Twitter ของเขา และปฎิเสธที่ไม่เข้าร่วมในงานสัมมนา “Coindesk’s Consensus 2018” เนื่องจากเว็บดังกล่าวสนับสนุนผู้หลอกลวง,ให้ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความแตกแยก และ ’มีนโยบายที่ห่วยแตก’

เว็บ Coindesk เป็นที่รู้จักกันดีในวงการคริปโตเนื่องจากเป็นเว็บที่ให้ข่าวสารเกี่ยวกับคริปโตตั้งแต่ปี 2013

แต่ดูเหมือนว่า เว็บไซต์ดังกล่าวจะสร้างความไม่พอใจให้กับนาย Buterin อย่างมากในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เนื่องจากเว็บดังกล่าวได้ทำการโฆษณาให้กับนักต้มตุ๋น ผ่านลิงค์ในบทความ OMG ล่าสุดของพวกเขา

ซึ่งก่อนหน้านี้นาย Buterin ได้ออกมาเตือนสื่อคริปโตต่าง ๆ แล้วว่าให้ระวังเรื่องพวกนี้


นาย Buterin เขียนต่อว่า :

บทความที่อธิบายถึง EIP 999 นั้นย่ำแย่มาก เห็นได้ชัดเจนเลยว่าผู้เขียนบทความดังกล่าวต้องการสร้างความแตกแยกในชุมชน เนื่องจากบทความนั้นเขียนว่า Ethereum กำลังที่จะมีแยก Chain ซึ่งการนำ EIP 999 มาใช้นั้น ยังห่างจากการยอมรับจากกลุ่มผู้พัฒนาอยู่มาก นี่คือสาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ต้องถูกแทนที่ด้วย Prediction Market ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้”

“พูดจริง ๆ นะ ความเร็วมันสำคัญกว่าความถูกต้องขนาดนั้นเลยหรือ ?”

นาย Peter Szilagyi หนึ่งในนักพัฒนาหลักของ Ethereum ยังโพสในบัญชี Twitter แสดงไม่พอใจของเขาด้วยว่า :

“ถึงแม้ว่า Coindesk จะติดต่อมาสอบถามถึงความเห็นของผมเกี่ยวกับ EIP 999 แต่เหมือนคำตอบของผมนั้นจะไม่ได้อยู่ในบทความของเขาเลย”

นอกจากนี้ เขายังตำหนิถึงระบบรายงานของเว็บดังกล่าว เนื่องจากหากเราเห็นว่าเนื้อหาส่วนไหนในบทความผิดเพี้ยนไปจากความจริงอย่างชัดเจน แล้วเราไปรายงานกับทางเว็บ ต้องรอให้ทางเว็บอนุมัติก่อน ผู้เขียนบทความนั้นจึงจะไปแก้ไขให้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่วุ่นวายเกินไป

และที่สำคัญเหมือนงานประชุมที่ Coindesk กำลังจะจัดนั้นก็ไม่ได้มีค่าตั๋วที่ถูกเลย ค่าเข้าร่วมงานนั้นอยู่ประมาณ 2 ถึง 3 พันดอลลาร์ นาย Buterin ปฎิเสธที่จะเข้าร่วมในงานนี้ และยังเชิญชวนผู้อื่นให้คว่ำบาตรงานดังกล่าวอีกด้วย

“ผมปฎิเสธที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการหาแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจในครั้งนี้”

ในเวลาต่อมา หลังจากที่เว็บดังกล่าวทราบข่าวถึงนี้ พวกเขาได้ทำการแก้บทความ OMG และได้นำลิงค์ที่โฆษณานักต้มตุ๋นออกไป

เหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเป็นบทเรียนสำหรับวงการคริปโตว่าก่อนที่จะปักใจเชื่อข้อมูล ให้ศึกษาอย่างถี่ถ้วนซะก่อนคิดว่ามันเป็นข้อเท็จจริง ขนาดเว็บที่ทำข่าวมาเกือบ 5 ปียังผิดพลาดได้ ผู้อ่านทุกท่านก็ควรจะระวังตัวให้มากขึ้นต่อจากนี้

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น