<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

การนำเทคโนโลยี Blockchain กับ 5G มาผสมกัน จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจโลกได้อย่างไร

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในช่วงเวลานี้หลาย ๆ ท่านคงกำลังตั้งหน้าตั้งตารอคอยให้มีการใช้งาน Internet of Things (loT) มาหลายปี ซึ่งอุปสรรคของ loT ก็คือศักยภาพและความปลอดภัยของมัน แต่ในตอนนี้เทคโนโลยีใหม่ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกแล้ว ปีนี้ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์อย่าง  AT&T และ Verizon ในประเทศสหรัฐฯ จะเปิดตัวสัญญาณ 5G ซึ่งเป็นสัญญาณโทรศัพท์ใหม่ล่าสุดของยุคนี้ และประเทศไทยของเราก็มีแนวโน้มที่จะได้ใช้มันในปีหน้าด้วยเช่นกัน โดยแพลทฟอร์ม 5G จะให้ความเร็วมากกว่า ประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเชื่อมต่อมากขึ้นกว่าเดิม

การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี 5G และ Blockchain มีประสิทธิภาพที่จะทำให้มูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยประสิทธิภาพของ 5G จะนำมาซึ่งความรวดเร็วทำให้อุปกรณ์ IoT ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันอุปกรณ์ IoT เหล่านี้ก็จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain ด้วยซึ่งก็คือความปลอดภัย การไม่มีส่วนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง (Decentralization) การบันทึกข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และใช้ระบบฉันทามติ ซึ่งก็หมายความว่า เมืองอัจฉริยะ, ยานพาหนะไร้คนขับ และ ระบบบ้านอัจฉริยะ จะได้รับประโยชน์ที่ตอบโจทย์ความต้องการจากการผสมผสานกันระหว่างสองเทคโนโลยีนี้

เลเยอร์แรกของการผสมผสานทั้งสองระบบนี้คือเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งจะให้ประโยชน์ด้านความปลอดภัยและระบบฉันทามติ ในขณะที่เทคโนโลยี IoT ซึ่งเป็นเลเยอร์ที่สองจะให้ประโยชน์ในการเพิ่มช่องทางการชำระเงินและการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากการทำธุรกรรมบน Blockchain ซึ่งประสิทธิภาพของเครือข่าย IoT จะได้รับการสนับสนุนโดยเทคโนโลยี 5G

นอกจากนี้เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาช่วยระบบ Blockchain ทำให้มีผู้เข้าร่วมในโหนดมากยิ่งขึ้นและทำให้มีความ Decentralization มากขึ้น รวมถึงย่นระยะเวลาของ Block และเพิ่มประสิทธิภาพของการสเกล ทั้งหมดนี้จะเข้ามาช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ IoT  

การเปิดตัวของเทคโนโลยี 5G

ผู้ให้บริการด้านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเริ่มทดลองเปิดให้บริการ 5G ในสหรัฐอเมริกา และคาดว่าจะให้บริการทั่วโลกในปี 2020 โดยทาง Verizon จะเริ่มเปิดให้บริการในเมืองชิคาโกและมินนีแอโพลิสตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน และจะเพิ่มเขตให้บริการเพิ่มขึ้นในเมืองอีก 30 เมืองภายในปี 2019 นี้

ส่วนบริษัท Samsung จะเปิดตัว Galaxy S10 ที่ใช้ 5G ในเดือนหน้า นอกจากนี้ Huawei และ LG ก็ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของตนเองซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวออกมาให้เห็นในเร็ว ๆ นี้

นอกจากนี้บริษัท Qualcomm ก็จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของตนเอง X55 ที่จะรับรองสัญญาณทั้ง 4G และ 5G คาดว่าจะเปิดตัวออกมาในไตรมาสที่ 3 หรือ 4 ของปีนี้ ส่วนสาวก Apple คงจะต้องรอไปอีกเนื่องจากทาง Apple คาดว่าจะเปิดตัว iPhone ที่รองรับสัญญาณ 5G ในปี 2020 ซึ่งทาง Apple กำลังทำการสำรวจสภาพการตลาดอยู่

ปลุกเทคโนโลยี Internet of Things

เมื่อพูดถึงประโยชน์ของ 5G สิ่งแรกที่เราคำนึงถึงก็คงเป็นเรื่องของความเร็ว ซึ่ง 5G นั้นเป็นระบบเครือข่ายความเร็วสูง ช่วยย่นระยะเวลาการรับส่งสัญญาณ (Latency) และสามารถที่จะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อีกมากในโลกปัจจุบันที่เป็นยุคดิจิทัลมันปฏิเสธไม่ได้ว่าระยะเวลาของสัญญาณในการรับและส่งข้อมูลนั้นมีสำคัญเป็นอย่างมาก หากเรานำความหมายของ Latency ไปใช้กับ Blockchain มันก็หมายถึงระยะเวลาระหว่างการถ่ายทอดข้อมูลกับการรับข้อมูลของโหนด และสำหรับเทคโนโลยี IoT ไม่ว่าจะนำไปใช้กับ smat home หรือรถยนต์แล้ว การมีระยะเวลารับส่งสัญญาณที่สั้นนั้นเป็นหัวใจสำคัญ เพราะอุปกรณ์ต่าง ๆ มันจำเป็นต้องเชื่อมต่อถึงกันโดยไม่มีการสะดุด

Internet of Things คือการที่สิ่งของรอบ ๆ ตัวเรานั้นกำลังเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่ !

นอกจากนี้แล้วประโยชน์ของการย่นระยะเวลารับส่งสัญญาณก็นำไปสู่อีกเทคโนโลยีหนึ่งเช่นกัน ซึ่งเรียกว่า Internet of Skills (IoS) เทคโนโลยี IoS นั้นทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถที่จะทำงานจากที่ห่างไกลได้โดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศผ่านทางชุดหูฟัง headset ซึ่งจะฉายภาพที่เหมือนกับอยู่ที่นั่นจริง ๆ ให้เรา เช่น ทันตแพทย์สามารถทำการรักษาฟันได้จากที่แห่งใดก็ได้ หากระยะเวลาการรับส่งข้อมูลยังคงใช้เวลานานอยู่ ทันตแพทย์ก็จะไม่สามารถตอบสนองต่องานนั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคนไข้และอาจส่งผลเสียต่อระบบทั้งระบบได้

การนำเทคโนโลยี 5G มาใช้อาจขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกด้วย ซึ่งอาจผลักดันให้ GDP รวมของโลกสูงถึง 12.3 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2035 และที่สำคัญที่สุดเลยคือ 5G จะทำให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 10 Gbps ซึ่งนับว่าสูงมากเลยทีเดียว เป็นการปรับปรุงศักยภาพของอินเตอร์เน็ตบ้านและมือถือในปัจจุบัน หากมองในมุมมองภาพรวมของโลก 5G จะผลักดันให้ความเร็วของอินเตอร์เน็ตโลกโดยเฉลี่ยและอินเตอร์เน็ตที่มิใช่มือถือมีความเร็วสูงถึง 7.2 Mbps เพราะความเร็วสูงเช่นนี้จึงทำให้ 5G จะกลายมาเป็นอินเตอร์เน็ตที่ใช้กันทั่วไป

เครือข่าย Multi-access Edge Computing (MEC) จะเข้ามาช่วยผลักดันการใช้งาน 5G กับ IoT และแนวคิดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันนี้ให้เพิ่มมากขึ้น เพราะมันเป็นเครือข่ายที่บริการของมันจะกระจายตัวมากจากโหนดส่วนกลางสู่โหนดรอบนอก ซึ่งส่งผลให้ยิ่งมีความเร็วเพิ่มขึ้นมากไปอีกและย่นระยะเวลาการรับส่งสัญญาณให้เหลือน้อยลงกว่าเดิมอีกด้วย

IoT จะตั้งอยู่บนพื้นฐานและความสามารถนี้สำหรับการเชื่อมต่อของอุปกรณ์แต่ละอุปกรณ์เข้าด้วยกัน ซึ่งคาดว่าจะมีการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ IoT กว่า แสนล้านการเชื่อมต่อภายในปี 2025 อ้างอิงจากการวิจัยของหัวเหว่ย

เพิ่มประสิทธิภาพของระบบอัตโนมัติ

เมื่อเราพูดถึงเครื่องจักรอัตโนมัติแล้วเรามักนึกถึงการที่หุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทนมนุษย์ อย่างไรก็ตามที่จริงแล้วการนำระบบอัตโนมัติมาใช้แทนมันกว้างขวางกว่านั้น ซึ่งนั่นรวมถึงการนำหุ่นยนต์มาใช้ทำงานที่น่าเบื่อและงานที่ไม่มีการจ่ายค่าจ้างด้วย

เห็นได้จากระบบ Smart Home ที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้านสามารถเชื่อมถึงกันได้ หรือโกดังสินค้าที่มีระบบอัตโนมัติคอยรักษาระดับสินค้าและจัดการกับรายการสินค้า รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่เพิ่งทดสอบการใช้งานไปเมื่อไม่นานมานี้ซึ่งกำลังรอการออกกฎหมายมารับรอง

ในอีกหนึ่งทศวรรษอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น การเกษตร การทำเหมืองแร่และการขุดเจาะ คาดว่าจะนำเครื่องจักรมาใช้ผ่านทาง IoT ที่มีอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ส่งรับสัญญาณต่อกันกว่าพันล้านเครื่องผ่าน 5G ซึ่งมีความเร็วสูง

ประโยชน์ของ 5G

การนำ 5G มาช่วยจะทำให้ระบบมีความรวดเร็ว ลดระยะเวลาการรับส่งสัญญาณเพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการใช้งานระดับโลก อย่างไรก็ตามการใช้งาน 5G ก็มีข้อควรระวังเช่นกัน คือถ้าหากมีอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งติดไวรัสอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบที่เชื่อมถึงกันทั่วไปได้

5G ยังเข้ามาช่วยเรื่องของการทำธุรกรรมและการชำระเงินด้วย วอลลุ่มดังกล่าวจะทำให้ความสามารถในการแบกรับธุรกรรมของโครงสร้างการเงินทั้งแบบรวมศูนย์ (Centralized) และกระจายศูนย์ (Decentralized) กลายเป็นสิ่งเล็กน้อยไปเลย

ประโยชน์ของเทคโนโลยี Blockchain

นวัตกรรม Blockchain นั้นได้เข้ามาแก้ปัญหาแรก คือทำให้ข้อมูลที่ถูกบันทึกลงไปใน Blockchain สาธารณะไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ ป้องกันการถูกปลอมแปลง สร้างระบบฉันทามติระหว่างบุคคลต่าง ๆ  ที่ไม่ไว้วางใจ

นอกจากนั้นแล้ว Blockchain สามารถนำมาเป็นเลเยอร์พื้นฐานในการจัดการกับข้อขัดข้องระหว่างอุปกรณ์ IoT ที่ไม่สามารถทำธุรกรรมหรือทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน Smart Contract ได้ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มันสามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับเงินได้ และทำให้ยานพาหนะทำงาน ดังนั้นการที่มีโปรโตคอลเลเยอร์พื้นฐานที่ปลอดภัยสูงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และ Blockchain ก็เข้ามาตอบโจทย์ในข้อนี้

Blockchain ที่เป็นระบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ยังเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ Client Server ที่ใช้ในอุปกรณ์ IoT ซึ่งในตอนนี้อุปกรณ์ IoT ทั้งหมดมีการยืนยันตัวตนผ่าน Cloud Server และข้อมูลการยืนยันตัวตนต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้ใน Clound ทั้งหมดซึ่งก็เสี่ยงต่อการถูกแฮ็กหรือถูกขโมยข้อมูลและเป็นภัยต่อความปลอดภัยของแอปพลิเคชั่นที่เปิดใช้งานอยู่บนเครือข่ายนี้

การใช้ Blockchain ที่เป็นระบบกระจายศูนย์ข้อมูลจะช่วยเข้ามาเสริมความปลอดภัยในการยืนยันตัวตนมากยิ่งขึ้นโดยการใช้ระบบการเข้ารหัสและอัลกอริทึมการขุดเข้าไป อุปกรณ์เหล่านี้จะถูกลงทะเบียนบน address บน Blockchain ของตนเอง ดังนั้นการนำ Blockchain มาใช้สำหรับการยืนยันตัวตนจะให้ความปลอดภัยมากกว่าและสามารถแก้ปัญหาอื่น ๆ ที่ระบบแบบ Centralized มีอยู่ตอนนี้

ปัญหาการ Scaling

ปัญหาเรื่องของการ Scaling ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นข้อจำกัดด้านการประมวลผลของ Blockchain ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี IoT ตรงที่สถาปนิกก็ไม่สามารถจัดการกับปริมาณ Throughput (ปริมาณงานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล) ที่จำเป็นและสำคัญได้ เช่น ปริมาณของธุรกรรมบน Blockchain

ปัญหาดังกล่าวจึงทำให้มีการคิดค้นแนวคิดในการเคลื่อนย้ายธุรกรรมส่วนใหญ่ไปประมวลผลที่โปรโตคอลเลเยอร์ที่สองอย่าง Lightning Network ซึ่งเป็นช่องทางการชำระเงินทางเลือกหรือที่เรียกว่า ‘Sidechain’

ซึ่งมันทำให้ทุก ๆ อุปกรณ์จะต้องมี Address ของตัวเองและมีการทำธุรกรรมบน Blockchain (on-chain transaction) ที่ความสามารถของการประมวลผลธุรกรรม on-chain นี้คือจะต้องสามารถประมวลผลธุรกรรมมากกว่าหนึ่งหมื่นธุรกรรมภายในหนึ่งวินาที เพราะฉะนั้นปัญหาของ Scalability จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการปรับปรุงบนทั้งสองเลเยอร์เพื่อให้รองรับปริมาณธุรกรรมที่มีจำนวนมากได้

Blockchain ของ Bitcoin Cash เวอร์ชัน ABC ก็เลือกที่จะแก้ปัญหาตรงนี้ด้วยการเพิ่มขนาดของ Block ให้ใหญ่ขึ้น ส่วน Ethereum ก็เลือกที่ใช้ระบบ Sharding ส่วนระบบ Lightning Network ก็เริ่มมีการนำไปพัฒนาต่อยอดมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว เช่น Liquid จาก Blockstream หรือเครือข่าย Plasma ของ Ethereum ทั้งนี้เทคโนโลยี 5G และโครงสร้างพื้นฐาน blockchain เลเยอร์สองจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการสเกลและพัฒนาเศรษฐกิจ IoT กล่าวคือมันจะเข้ามาช่วยให้สถาปนิกสามารถเพิ่มโครงสร้างอื่น ๆ ได้อีกเช่น กราฟระหว่างเลเยอร์ Blockchain พื้นฐานและอุปกรณ์ IoT ส่วนการออกแบบกราฟอื่น ๆ เช่น Directed Acylic Graph (DAGs) ก็ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถรับปริมาณ Throughput ได้สูงขึ้น ทว่าอย่างไรก็ตามการทำเช่นนี้มักจะทำให้ระบบความปลอดภัยลดลงและไม่มีความการกระจายศูนย์ (Decentralized)

ทั้งเรื่องของการสเกล ความปลอดภัยและความ Decentralized เป็นสิ่งที่เครือข่าย IoT ที่มี Blockchain เป็นพื้นฐานนั้นจำเป็นต้องมี หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปมันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใช้งานเป็นอย่างมากและทำลายจุดประสงค์ของการเลือกใช้โปรโตคอลนี้แต่แรก ดังนั้นนักพัฒนาจึงต้องออกแบบสิ่งที่สามารถรองรับปริมาณ Throughput ได้สูงสุดโดยที่จะต้องไม่ไปลดความปลอดภัยหรือความ Decentralized ลง

การป้องกันการถูกดัดแปลงข้อมูล

5G จะทำให้อุปกรณ์ IoT สามารถโอนข้อมูลหากันได้มากขึ้น โครงการของ Cisco ได้วางแผนให้อุปกรณ์ IoT สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 847 เซตตะไบต์ภายในปี 2021 แม้ว่าจะใช้ Blockchain ในการเก็บข้อมูลเป็นหลักแต่มันก็ยากที่จะเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่บน Blockchain ได้ และถ้าหากข้อมูลของ IoT ไม่ถูกเก็บไว้บน Blockchain มันก็อาจจะเสี่ยงต่อการถูกแฮ็กได้

อย่างไรก็ตามการเก็บ Hash Data ไว้บน Blockchain แล้วลิ้งค์ไปยังพื้นที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ภายนอกเพื่อที่จะรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ด้วยกันก็สามารถทำได้ แต่ที่จริงแล้วพื้นที่เก็บข้อมูลภายนอกนี้สามารถดึงเข้าไปเก็บในโปรโตคอลที่มีความเป็น Decentralized อื่น ๆ อย่างเช่น InterPlanetary File System (IPFS) หรือ OrbitDB ได้ แม้มันจะไม่มีการรับประกันว่าระบบดังกล่าวจะสามารถป้องกันการถูกดัดแปลงได้เท่ากับ Blockchain  แต่มันก็ให้ความปลอดภัยมากกว่าระบบ Centralized แน่นอน ที่สำคัญที่สุดเลยคือถ้าเก็บข้อมูล Hash Data ไว้บน Blockchain และเมื่อมีคนพยายามดัดแปลงข้อมูลขึ้นมันจะส่งผลให้ค่า Hash เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการบันทึกเวลาใน timestamp ก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งเราจะเห็นได้โดยง่ายเลยว่าข้อมูลมันถูกดัดแปลง

เพิ่มประสิทธิภาพของ Smart Contract

ในขณะเดียวกันเทคโนโลยี Blockchain นี้ก็จะได้รับประโยชน์จาก 5G ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการทำงานและประสิทธิภาพ เช่น การทำ smart contract บน Blockchain ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ Oracles ซึ่งมันจะทำการโอนถ่ายข้อมูลภายนอกเข้าไปสู่ contract และแน่นอนว่าการโอนถ่ายข้อมูลนี้จำเป็นจะต้องมีอินเตอร์เน็ต ซึ่งเทคโนโลยี 5G จะเข้ามาช่วยให้พื้นที่ที่อยู่ห่างไกลเข้าถึงการใช้งานอินเตอร์เน็ตมากขึ้น

การปรับปรุงเครือข่าย

เทคโนโลยี Blockchain จะได้รับประโยชน์จาก 5G โดยหลักเลยคือมันจะช่วยเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลของอินเตอร์เน็ตซึ่งจะทำให้มีโหนดเพิ่มเข้ามาใน Public Blockchain มากขึ้นด้วย ปรับปรุงด้านความปลอดภัยและความ Decentralization

Computer security concept

เมื่อการรับส่งข้อมูลมีความเร็วมากยิ่งขึ้น นักพัฒนาก็จะสามารถคิดค้นและพัฒนา Chain ให้สามารถรองรับปริมาณข้อมูลได้มากขึ้นและลดระยะเวลาของ Block ลงและหากทำสำเร็จมันจะยิ่งทำให้การใช้งานอุปกรณ์ IoT ที่ใช้ Blockchain มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีก

การเพิ่มมูลค่าของเทคโนโลยี

คุณค่าของเทคโนโลยี 5G, IoT และ Blockchain  เมื่อนำมารวมกันแล้วยิ่งทำให้มีมูลค่าเพิ่มมากกว่าการนำเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งไปใช้แยกกันต่างหาก การผสมผสานที่ลงตัวของเทคโนโลยีทั้งสามและโซลูชั่นของเลเยอร์ที่สอง, ระบบการประมวลผลแบบ Edge Computing และอื่น ๆ ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นจะยิ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน รวมถึงทำให้สภาพการทำงานนั้นมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นอย่างไร้ขีดจำกัด

เรียบเรียงจาก cointelegraph

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น