<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ด้านดี ๆ ของ Bitcoin ที่คุณอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

การเพิ่มขึ้นของราคา Bitcoin ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาได้สร้างความฮือฮาให้กับผู้คนทั้งหลายเป็นอย่างมาก จนเกิดคำถามให้กับสังคมว่า Bitcoin กำลังจะเปลี่ยนแปลงอย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีตอีกแล้วหรือ? อย่างไรก็ตามความตื่นเต้นที่เกิดขึ้นจากการพุ่งขึ้นอย่างฉับพลันของราคาดังกล่าวนั้นอาจจะทำให้เรามองข้ามในสิ่งสำคัญไปได้

และแม้ว่าเราจะเห็นตรงกันได้ว่าผลกำไรจากการลงทุนนั้นคุ้มค่า แต่เมื่อเราลองมองในภาพใหญ่แล้วจะพบว่าประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างของสกุลเงินคริปโตคือการเพิ่มขึ้นของราคาที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของสินทรัพย์ประเภทนี้นั้นสร้างความพึงพอใจให้กับเราได้มากกว่าการลงทุนในแบบอื่นอย่างน่าประหลาดใจ

อย่างไรก็ตามในบทความต่อไปนี้จะเป็นการพิจารณา Bitcoin เป็นหลักเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจและสามารถนำไปเปรียบเทียบกับสกุลเงินคริปโตอื่นๆได้

อุปสงค์และอุปทาน

ในขั้นแรกนี้เราจะลองนำ Bitcoin มาเปรียบเทียบกับสินค้าอื่นๆในตลาดดังนี้

สำหรับสินค้าอื่นๆ นั้นราคาที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อความต้องการขาย (อุปทาน) ของสินค้าอย่างเช่น น้ามัน หรือ ทองคำ ซึ่งผลประโยชน์ที่มากขึ้นจะทำให้ผู้คนต้องการผลิตสินค้าดังกล่าวออกมาขายเพิ่มเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในเหมืองต่างๆที่จะกลับมาดำเนินการหรือเริ่มดำเนินการใหม่เมื่อตลาดมีสภาวะที่เหมาะสม การดำเนินการในรูปแบบดังกล่าวเป็นกลไลปกติทางตลาดในการดำเนินธุรกิจซึ่งต้องการใช้ประโยชน์สูงสุดจากโอกาสการเพิ่มขึ้นของราคาดังกล่าวเพื่อกอบโกยผลกำไรให้มากที่สุด

อย่างไรก็ตามเมื่ออุปทานเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ความต้องการซื้อ (อุปสงค์) นั้นลดลงเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจใช้จ่ายและการค้นหาตัวเลือกอื่นๆในตลาด และเมื่ออุปสงค์นั้นลดลง ก็จะส่งผลให้แรงจูงใจในการผลิตซึ่งส่งผลโดยตรงกับอุปทานนั้นลดลงตามไปด้วย

ดังนั้นเมื่อเรานำ Bitcoin มาเปรียบเทียบกับสกุลเงินธรรมดาที่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งสกุลเงินธรรมดาหนึ่งสกุลนั้นเมื่อมีความต้องการซื้อ (อุปสงค์) ที่มากขึ้น จะส่งผลให้สินค้าซึ่งถูกซื้อขายกันในสกุลนั้นมีราคาแพงเมื่อเทียบกับสินค้าชิ้นเดียวกันซึ่งซื้อขายกันโดยใช้สกุลเงินอื่น

ในกรณีของ Bitcoin ราคาที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นไม่มีผลต่ออุปทานแต่อย่างใด แต่การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์นั้นส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของราคาซึ่งจะเพิ่มลดควบคู่กันในรูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องอาศัยกลไกการปรับราคา หรือ “correcting mechanism” อย่างเช่นการเพิ่มอุปทานหรือการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจเข้าซื้อ (อุปสงค์)

ผลตอบแทนที่เป็นธรรม

อย่างไรก็ตามในทุกตลาดนั้นต้องการกลไลการปรับราคา (correcting mechanism) ซึ่งในกรณีของ Bitcoin นั้นคืออัตราค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมนั่นเอง โดยค่าธรรมเนียมในการประมวลผลธุรกรรมดังกล่าวที่นักขุดจะสามารถเก็บได้จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากพร้อมๆกับการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ เป็นการควบคุมการเพิ่ทขึ้นของปริมาณการซื้อขายที่จะกิดขึ้นในตลาดได้

ระบบกลไกการควบคุมราคาดังกล่าวซึ่งกำหนดให้ระบบเครือข่ายมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นตามราคาที่เพิ่มสูงขึ้นนี้เองนี้เองที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Bitcoin นั้นแตกต่างจากสินค้าหรือสกุลเงินอื่นๆ

ความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลพวงจากการที่เหล่านักขุดได้รับผลตอบแทนในการประมวลผลเป็น Bitcoin และเมื่อราคา Bitcoin นั้นเพิ่มขึ้นทำให้มูลค่าของผลตอบแทนดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังเป็นการดึงดูดให้เหล่านักขุดเข้าสู่ระบบเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นจากผลประโยชน์ที่ล่อตาล่อใจทั้ง Bitcoin และค่าธรรมเนียมที่จะได้รับ ซึ่งในทางเดียวกันเมื่อมีจำนวนนักขุดเพิ่มมากขึ้น ยิ่งเป็นการส่งเสริมการดูแลระบบเครือข่ายให้มีความเข้มแข็งและทนทานต่อปัจจัยร้ายแรงภายนอกมากขึ้นอีกด้วย

ความปลอดภัยของระบบนี้เองจะเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจและเพิ่มอุปสงค์ให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีแก่ระบบไปอีกเป็นทอดๆ เป็นต้น

ในทางกลับกัน

คุณสมบัติดังกล่าวไม่ได้เป็นการยืนยันว่าราคา Bitcoin จะเพิ่มขึ้นไปอย่างไม่มีจุดสิ้นสุดได้ โดยปัจจัยภายนอกอย่างเช่นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่เกิดขึ้นใหม่, ตัวเลือกใหม่ในตลาดรวมถึงสภาวะของเศรษฐศาสตร์มหัพภาค (macroeconomic) ในแต่ละสถานการณ์ เช่นเดียวกันกับปัจจัยภายในอย่างการ Fork หรือการกำกับดูแลนั้น ยังมีผลอย่างมากต่อการลดลงของอุปสงค์อีกด้วย

จากการที่ Bitcoin นั้นไม่ได้มี correcting mechanism ในตัวเองอย่างสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ และการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ดังกล่าวนั้นไม่กระทบต่อกลไลการปรับตัวระหว่างอุปสงค์และอุปทาน อีกทั้งมันยังเป็นการเพิ่มพูนศักยภาพแก่ระบบเครือข่ายและอุปสงค์ให้มากยิ่งขึ้นไปด้วย

อย่างไรก็ตาม Bitcoin ยังมีอีกคุณสมบัติหนึ่งที่หลายคนมักจะมองข้ามไป คือการที่ความรู้สึกของผู้คนนั้นมีอิทธิพลต่อตลาด Bitcoin อย่างมาก โดยเฉพาะตลาดสำหรับสกุลเงินคริปโตซึ่งยังไม่มีมาตรการในการประเมิณมูลค่าที่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง กล่าวในรายละเอียดคือการที่มุมมองของสังคมนั้นส่งอิทธิพลให้มีการเปลี่ยนแปลงในตลาด และการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในตลาดนั้นก็ยังส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้คนเป็นวัตรจักรต่อไปเรื่อยๆ ทำให้การขึ้นลงของราคาในตลาดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วจากเหตุผลดังกล่าว

ดังนั้นสิ่งที่เป็น self-correcting mechanism ของ Bitcoin คือความผันผวนทางตลาดที่เกิดจากตัวแปลคือความรู้สึกของผู้คนนั่นเอง โดยเมื่อพิจารณาสภาพคล่องและความโปร่งใสในตลาดที่อยู่ในระดับต่ำแล้วจะทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมเหล่านักลงทุนและนักเทรดนั้นถึงยึดมั่นกับหลักการที่ว่า “หากเราจะต้องทำบางสิ่งเมื่อผู้คนในตลาดเริ่มตื่นกลัว ให้รีบทำสิ่งนั้นๆในทันทีก่อนก่อนที่มันจะเกิดขึ้น”

หนทางที่ (เริ่ม) โรยด้วยกลีบกุหลาบ

ตลาดขาลงที่ยาวนานของสกุลเงินคริปโตนั้นไม่ใช่แค่เพียงช่วงเวลาสำหรับการพัฒนาโครงสร้างทางตลาดให้มีให้มีศักยภาพที่มากขึ้นเท่านั้น แต่มันยังเป็นช่วงเวลาสำหรับการเรียนรู้ของเหล่านักลงทุนสถาบันซึ่งจะเป็นกลุ่มบุคคลที่นำพาเทคนิคการซื้อขายที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเข้ามาใช้งานในตลาดอีกด้วย

โดยสถาบันเหล่านี้มักจะตั้งเป้าหมายในระยะยาวในการลงทุน และการดำเนินการดังกล่าวของนักลงทุนสถาบันด้วยการใช้กลยุทธ์ทางตลาดต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึง การผูกขาดผลกำไรหรือ การแสดงเป็นนัยยะของปริมาณการซื้อขายที่จะเกิดขึ้น ย่อมจะส่งผลให้มีการปรับตัวของราคาในตลาด (Correction) เกิดขึ้นได้

แต่หากมองในแง่ดี ความเชี่ยวชาญและกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหล่านักลงทุนสถาบันได้นำเข้ามาสู่ตลาดนั้นจะเป็นตัวการที่ช่วยวางแนวรับสำหรับการปรับตัวของราคา อีกทั้งเมื่อปริมาณการซื้อขายนั้นเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้โครงสร้างและมาตรการประเมิณมูลค่าทรัพย์สินประเภทสกุลเงินคริปโตของตลาดนั้นได้รับการพัฒนา และจะส่งผลให้ความผันผวน และแนวโน้มที่ผู้คนในวงการจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกโดยรวมของตลาดจะสามารถลดน้อยลงได้ในที่สุด

โดยสรุปแล้ว ลักษณะของสกุลเงินคริปโตโดยเฉพาะสำหรับ Bitcoin ที่ได้กล่าวไปทั้งหมดนี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจด้านการลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ และมันเป็นการยืนยันว่าสกุลเงินคริปโตเหล่านี้นั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีความแตกต่างจากสินทรัพย์ประเภทอื่นได้อย่างชัดเจน

เรียบเรียงจาก : coindesk

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น