<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Binance ถูกเว็ปเทรดคู่แข่งฟ้องร้องว่ามีส่วนช่วยในการฟอกเงินกว่า 270 ล้านบาท

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

จากคำร้องเรียนของ Fisco ในศาลแขวงทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อวันที่ 14 กันยายน เว็ปเทรดคริปโตของญี่ปุ่นกล่าวว่า ไม่นานหลังจากที่บริษัทได้สูญเสียเงินไปเกือบ 6,000 Btc จากการแฮ็คเมื่อปี 2018 นักแฮ็คก็ได้ส่ง 1,451 Btc ไปยังที่อยู่ Address ของเว็ปเทรด Binance ซึ่งมีมูลค่าราว ๆ 9.4 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลานั้น

Fisco หรือ Zaif ในเวลานั้น กล่าวว่าในเวลาต่อมาพวกโจรได้ทำการฟอกเงินผ่านแพลตฟอร์มเทรดเหรียญคริปโตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากระบบการยืนยันตัวตน Know-your-customer (KYC) และโปรโตคอลต่อต้านการฟอกเงิน (AML) ของ Binance ในช่วงเวลานั้น “ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม” หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ‘หละหลวม’ นั่นเอง

มิจฉาชีพอ้างว่าได้ใช้ประโยชน์จากนโยบายของ Binance ที่เอื้ออำนวยให้กับผู้ใช้ใหม่ที่สามารถเปิดบัญชีและทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มในจำนวนที่น้อยกว่า 2 bitcoin ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนใด ๆ

“นักแฮ็คได้แบ่งเงิน Bitcoin ที่ขโมยมาออกเป็นบัญชีที่แตกต่างทั้งหมด 7,000 บัญชี ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่มีมูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ 2 Btc ด้วยวิธีนี้หัวขโมยจึงสามารถแปลง bitcoin ที่ถูกขโมยมาไปเป็นเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ตัวอื่น ๆ รวมถึงการถอนเงินจากแพลตฟอร์มของ Binance” โจทก์กล่าว

Fisco กล่าวต่อว่าเนื่องจาก Binance ได้รับแจ้งและมี “การรับรู้จริง” ว่าเงินที่ถูกขโมยถูกส่งไปยังแพลตฟอร์ม ดังนั้น “ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือความประมาทเลินเล่อในการขัดขวางกระบวนการฟอกเงินเมื่อมีโอกาสทำได้” Fisco จึงได้เรียกร้องให้ Binance จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายสำหรับเงินที่ถูกฟอกไปทั้งหมด รวมถึงค่าเสียหายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

Zaif ถูกขายโดย Tech Bureau ซึ่งเป็นบริษัทแม่ในช่วงเวลานั้นให้กับ Fisco ไม่นานหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งเป็นการชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้ใช้ที่สูญเสียเงินจากการถูกแฮ็ก

Bitcoin มูลค่ากว่า 41 ล้านดอลลาร์ที่ถูกแฮ็กไปนั้นเป็นของลูกค้า Zaif รวมถึงสินทรัพย์ที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและแคลิฟอร์เนีย อ้างอิงตามเอกสารการยื่นฟ้องต่อศาล

อย่างไรก็ตามปัจจุบัน Binance ยังไม่ได้ออกมาแถลงการณ์ใด ๆ เกี่ยวกับการฟ้องร้องในครั้งนี้

คดีนี้มีความเป็นไปได้ที่จะดึงดูดความสนใจเพิ่มเติมในการนำขั้นตอน KYC และ AML ไปใช้กับเว็ปเทรดคริปโตทั่วโลก เนื่องจากหน่วยงานปฏิบัติการทางการเงินกำลังดำเนินการร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกเพื่อให้สอดคล้องตามแนวทางการต่อต้านการฟอกเงินในปี 2019 สำหรับ “ผู้ให้บริการสินทรัพย์เสมือนจริง” หรือที่เรียกว่า “กฎการเดินทาง (Travel Rule) “

ที่มา : coindesk