<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เผยเหตุผลว่าทำไม ประธาน ก.ล.ต.สหรัฐฯ จึงต้องเลือกอยู่คนละฝั่งกับ Crypto ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา นาง Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐฯ ได้ออกมากล่าวด้วยความมั่นใจในระดับหนึ่งว่า ในที่สุดการเสนอร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์จะผ่านพ้นไปในสัปดาห์นี้ ซึ่งน่าจะเป็นวันที่ 30 กันยายน  

ในขณะเดียวกันนาง Janet Yellen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนปัจจุบันและอดีตประธาน Fed ได้แนะนำให้กลุ่มวุฒิสมาชิก Warner-Portman-Sinema รวมกฎระเบียบด้านคริปโตไว้ในข้อเสนอร่างกฎหมาย เพื่อเพิ่มอำนาจการกำกับดูแลเหนือ DeFi และครอบคลุมทุกฟันเฟืองในพื้นที่ บล็อกเชน รวมถึงคำจำกัดความต่าง ๆ  นับตั้งแต่นักพัฒนากระเป๋าเงิน นักขุด และกระดานแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจ

ในทางกลับกัน ก.ล.ต. สหรัฐฯ จะมีอำนาจสูงสูดในการปฏิบัติต่อพวกเขาเหล่านี้ โดยกำหนดให้พวกเขาต้องลงทะเบียนเพื่อการกำกับดูแลและวัตถุประสงค์ในด้านการจัดเก็บภาษี พอได้ยินข่าวนี้นักพัฒนาหลายคนถึงกับรู้สึกเป็นกังวล แม้ว่าจะมีความพยายามนำเสนอแก้ไขร่างกฎหมายโดย Wyden-Lummis-Toomey แต่สุดท้ายก็ล้มเหลว เนื่องจากการเข้าแทรกแซงของ Sen. Richard Shelby อย่างน่าประหลาดใจ

จุดยืนของ Gensler ที่มีต่อคริปโต

นับตั้งแต่กฎหมายโครงสร้างพื้นฐานได้รับการนำเสนอ นาย Gary Gensler ประธานก.ล.ต.ก็ได้กล่าวหลายต่อหลายครั้งว่าพื้นที่บล็อคเชน (จากโปรโตคอล DeFi ไปจนถึง Bitcoin) จำเป็นต้องยอมรับในด้านกฎระเบียบ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 27 กันยายน  Gensler ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในงานประชุม Code Conference ณ เมือง Beverly Hills ว่า 

“มีสถานที่ซื้อขายและให้กู้ยืมรวมตัวกันอยู่มากมายรอบ ๆ สิ่งเหล่านี้ และพวกมันไม่ได้มีแค่หลายสิบ แต่มีหลายร้อย และบางครั้งมีหลายพันโทเค็น”

“และสิ่งนี้จะไม่จบลงได้ด้วยดี หากอยู่นอกขอบเขตพื้นที่การกำกับดูแล”

กล่าวอีกนัยหนึ่ง Cryptocurrency จำเป็นต้องมีการแยกแยะความแตกต่างระหว่างโทเค็นที่เป็นประเภทของหลักทรัพย์และสินค้าโภคภัณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ปี 1934 ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการคิดค้นโครงสร้างทางกฎหมายที่เรียกว่าแบบทดสอบ Howey Test เพื่อพิจารณาว่าสินทรัพย์ประเภทใดบ้างที่อาจเข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์ ซึ่งข้อควรพิจารณาที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ :

  • เป็นสินทรัพย์ที่ต้องลงทุนด้วยเงิน
  • มีความคาดหวังจากผลกำไรที่ขึ้นอยู่กับความพยายามของบุคคลที่สาม
  • เป็นกิจการทั่วไปที่เข้าข่ายในลักษณะของบริษัท

ตามเกณฑ์เหล่านี้ แม้แต่เหรียญ Stable coin ก็สามารถผ่านการทดสอบของการถูกจัดประเภทเป็นหลักทรัพย์ได้ โดยสมาชิกสภา Sen. Pat Toomey กล่าวท้าทาย Gensler ว่า เหรียญ Stablecoin จะสามารถผ่านการทดสอบ Howey Test นี้ได้ฉลุย เพราะมันไม่มี  “ความคาดหวังจากผลกำไรโดยธรรมชาติ” อย่างไรก็ตาม Gensler ตอบว่า “พวกมันอาจเข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์ได้เช่นกัน” ดังนั้นด้วยการตอบสนองที่คลุมเครือนี้ Toomey จึงได้เรียกร้องให้มีความชัดเจนด้านกฎระเบียบคริปโต ก่อนที่จะมีการบังคับใช้กฎหมาย

ที่น่าสนใจก็คือ Gensler ดูเหมือนจะเห็นด้วยกับ Toomey แต่บอกเป็นนัย ๆ ว่า มือของเขาถูกผูกมัดโดยกฎหมายหลักทรัพย์ในปี 1933 และ 1934 ซึ่งมาจากช่วงเวลาที่ไม่มีคอมพิวเตอร์เลยด้วยซ้ำ