<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผู้ร่วมก่อตั้ง Tezos กล่าวไม่แปลกใจที่ Celsius ล้มละลาย

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

นาง Kathleen Breitman ผู้ร่วมก่อตั้ง Tezos แพลตฟอร์มบล็อกเชนโอเพนซอร์ซแบบกระจายศูนย์ ได้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์การล้มละลายของบริษัทยักษ์ใหญ่ Celsius ที่เพิ่งเกิดขึ้นไปเมื่อไม่นานมานี้

ในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg Technology เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม Breitman กล่าวถึงกรณีของแพลตฟอร์มการให้ยืม crypto ชื่อดัง Celsius โดยสังเกตว่าการตัดสินใจยื่นล้มละลายนั้นถือเป็นสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นอยู่แล้ว เนื่องจากบริษัทดังกล่าวถูกตั้งขึ้นบนพื้นฐานที่อ่อนแอ

จากข้อมูลของ Breitman เผยว่าการปรับฐานของตลาดจะเป็นประโยชน์ต่อทุก ๆ คนที่อยู่ในวงการนี้ เนื่องจากว่ามันจะเป็นการกำจัดบริษัทที่ไร้ประสิทธิภาพออกไป ให้เหลือเฉพาะตัวจริง

ธุรกิจ Crypto ที่มีรากฐานอ่อนแอ

เธอตั้งข้อสังเกตว่าจำนวนของบริษัทที่มีแนวโน้มว่าจะปิดตัวลงนั้นกำลังจะเพิ่มขึ้น โดยระบุว่าบริษัทเหล่านี้มีถูกก่อตั้งขึ้นโดยไม่มีรากฐานที่แข็งแกร่งมารองรับ

“ไม่น่าแปลกใจเลยที่บริษัทบางแห่งเช่น Celsius จะล้มละลายเพราะเศรษฐศาสตร์มีกฎที่ก้าวข้ามคำว่าบล็อคเชนไปแล้ว <…> ฉันคิดว่าเราเพิ่งเห็นการสั่นคลอนจากสิ่งที่ใช้งานไม่ได้จริง และคุณไม่สามารถสร้างโปรโตคอลที่ยั่งยืนหรือธุรกิจจากเพียงแค่ทฤษฎีได้ ตัวเลขนั้นจะเพิ่มขึ้นเสมอ” กล่าวโดย ไบรท์แมน

เธอยังอ้างถึงบริษัท Three Arrows Capital ที่ยื่นล้มละลาย โดยสังเกตว่ารูปแบบธุรกิจของบริษัทมีความเสี่ยงและถึงวาระที่จะต้องล้มเหลว เธอกล่าวเสริมว่าโมเดลธุรกิจดังกล่าวนั้น ‘ล้มเหลวมาตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำแล้ว’ และไม่มีโอกาสรอดชีวิต

บริษัท crypto อื่น ๆ ล่มสลาย

นอกเหนือจาก Celsius และ Three Arrow Capital แล้ว Voyager ผู้ให้กู้คริปโตอีกรายได้ยื่นขอความคุ้มครองการล้มละลายใน Chapter 11 หลังจากขาดทุนอย่างหนัก

โดย Celsius ได้รับผลกระทบจากการปรับฐานของตลาดโดยหันไปแสวงหาการคุ้มครองการล้มละลาย การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากการระงับการถอนของลูกค้าโดยอ้างถึงความท้าทายด้านสภาพคล่อง

ตามที่รายงานโดย Finbold การยื่นฟ้องล้มละลายหมายความว่านักลงทุนหลายรายสูญเสียเงินออมทั้งชีวิตโดยไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะได้รับเงินคืน ที่น่าสนใจอีกก็คือ Celsius ยืนยันว่ามีโอกาสที่จะพยุงธุรกิจหลังจากการใช้มาตรการต่างๆ เช่น การปรับโครงสร้างและการเลิกจ้างพนักงาน

นอกเหนือจากการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่นคง เซลเซียสยังต้องเผชิญกับการฟ้องร้องจากอดีตพนักงานที่กล่าวหาว่าบริษัทดำเนินกิจการในรูปแบบแชร์ลูกโซ่ คดีของ Jason Stone อ้างว่าเซลเซียสขาดกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคที่เพียงพอ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการล่มสลายครั้งล่าสุด