<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สำเร็จอีกขั้น ! Bitfinex สามารถกู้เงินคืน 11 ล้านบาทจากทั้งหมด 1.26 แสนล้านบาทที่ถูก Hack ในปี 2016

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Bitfinex เว็บเทรดคริปโตเก่าแก่ที่สุดในวงการคริปโตประกาศในวันนี้ว่าสามารถกู้เงินทุนของแพลตฟอร์มที่สูญหายไปบางส่วน หลังกระดานเทรดถูกแฮ็กเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2016 โดยเงินทุนก้อนนี้ จะถูกใช้เพื่อจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ถือ Recovery Right Tokens (RRT) ซึ่งเป็นโทเค็นที่ออกให้แก่เจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแฮก

ตามการประกาศของ Bitfinex เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา United States Department of Homeland Security (DHS) ได้คืนเงินสดจำนวน 312,219.71 ดอลลาร์และ Bitcoin Cash จำนวน 6.917 BCH ที่ได้รับมาจากความพยายามในการกู้คืนสินทรัพย์คริปโตจากการถูกแฮ็ก

“พวกเรารู้จักยินดีเป็นอย่างมากที่สามารถมาถึงอีกหนึ่งของจุดหมายสำคัญในการกู้คืนสินทรัพย์ที่ถูกขโมยไปจาก Bitfinex เมื่อปี 2016” Paolo Ardoino CTO ของ Bitfinex กล่าว

การเข้ายึดสินทรัพย์ในครั้งนี้ถูกดำเนินการโดย กรมศุลกากรของสหรัฐฯ และจะนำไปชดเชยเงินคืนให้แก่ผู้ถือเหรียญ RRT ที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ 30 ล้านโทเค็น ซึ่งผู้ถือเหรียญ RRT สามารถนำมาแลกได้ในราคา 1 ดอลลาร์ต่อเหรียญ นั้นหมายความว่า ยังมีเงินอีกมากที่ Bitfinex จะต้องนำมาชดเชยให้แก่ผู้เสียหาย

หลังจากชดเชยให้แก่ผู้ถือ RRT ทั้งหมดแล้ว Bitfinex จะใช้สินทรัพย์ที่กู้คืนมาได้อีก 80% ของสินทรัพย์ที่เหลือเป็นรางวัลให้แก่ผู้ถือเหรียญ UNUS SED LEO

“Bitfinex ยังคงทำงานร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องและระบบตุลาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อกู้คืนสินทรัพย์ที่ถูกขโมยไปจากกระดานเทรดในระหว่างการแฮ็กระบบรักษาความปลอดภัย” Bitfinex ระบุ

การแฮ็ก Bitfinex ในปี 2016 ทำให้กระดานเทรดสูญเสีย Bitcoin ไปเป็นจำนวนมากถึง 119,756 BTC รวมเป็นมูลค่า 71 ล้านดอลลาร์ในขณะนั้น และคิดเป็นมูลค่าถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน

โชคยังดีที่ปีที่แล้ว หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยเบื้องหลังจากแฮ็กในครั้งนั้นได้จำนวน 2 คน หลังจากแฮ็กเกอร์ทั้ง 2 รายพยายามเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างที่อยู่ บล็อกเชน กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ทำหน้าที่ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง นับเป็นการเข้ายึดสินทรัพย์ครั้งใหญ่ที่สุดในโลกการเงิน และทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ กลายเป็นผู้ที่ถือครอง Bitcoin มากที่สุดของโลก


ที่มา: CryptoPotato