<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Ripple เตรียมเปิดตัว ‘Ripple Payment’ บริการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนแบบทันทีในสหรัฐฯ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Ripple เตรียมตัวบุกตลาดสหรัฐอเมริกา พร้อมเปิดตัว Ripple Payment บริการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนของสหรัฐฯ ด้วยการใช้โทเค็น XRP เป็นโทเค็นหลักในการทำธุรกรรม

W. Oliver Segovia ผู้อำนวยการของ Ripple ได้ประกาศแผนการที่จะขยายการให้บริการ Ripple Payments เข้ามายังสหรัฐอเมริกา ซึ่ง Ripple ยังคงถือเป็นผู้เล่นคนสำคัญในระบบชำระเงินแบบ Gross Settlement แบบเรียลไทม์ แม้ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา Ripple จะไม่ได้มีบทบาทสำคัญในตลาดสหรัฐอเมริกามากเท่าไรนัก

อย่างไรก็ตามทางบริษัทมีเป้าหมายใหม่ที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่มีใบอนุญาต MTL (Money Transmitter License) ซึ่งเป็นใบอนุญาตที่ช่วยให้บริษัทสามารถส่งเงินข้ามรัฐได้ โดยใบอนุญาตนี้ถือเป็นจุดแข็งและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์

Ripple Payments คืออะไร?

Ripple Payments คือบริการที่จะทำการใช้ XRP เป็นสกุลเงินในการชำระเงิน ซึ่งจะมอบความรวดเร็วในการทำธุรกรรมให้กับผู้ใช้งานซึ่งเร็วถึงระดับวินาที นอกเหนือจากนั้นยังประหยัดค่าใช้จ่าย และโปร่งใสกว่าการทำธุรกรรมรูปแบบเดิมด้วยการใช้ public ledger และระบบ consensus mechanism 

หากเราวิเคราะห์ข้อมูลจะพบว่ากว่า 90% ของการดำเนินงานด้านธุรกิจของ Ripple จะอยู่ภายนอกสหรัฐฯอเมริกาเป็นหลัก ซึ่ง Ripple ​มองเห็นโอกาสในการเติบโตภายในสหรัฐอเมริกา ที่ถือเป็นตลาดใหญ่และมีความสำคัญ  ทั้งนี้การอัปเดตผลิตภัณฑ์ใหม่จะใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของ Ripple ในด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและการชำระเงิน รวมถึงนำเสนอโซลูชันการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนที่ราบรื่น และสะดวกยิ่งขึ้นภายในสหรัฐอเมริกา และในอนาคตอันใกล้นี้ Ripple จะจัดอีเวนต์การประชุมที่สำนักงานใหญ่ของ Ripple ที่ ซานฟรานซิสโก โดยอีเวนต์นี้จะนำโดย Brendan Berry และ Pegah Soltani หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ พร้อมกับ Joanie Xie Managing Director ของสหรัฐฯ​ ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล และตัวของ David Schwartz ซีทีโอก็จะเข้าร่วมการสนทนาถึงอนาคตของ Ripple ในปี 2024 ด้วยเช่นกัน

นอกเหนือจากการขยายการให้บริการไปยังสหรัฐฯ แล้ว Ripple ยังได้มีการขยายไปยังที่อื่น ๆ ด้วย เช่น อินเดีย , อังกฤษ แคนาดา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง growth strategy ของบริษัท การขยายตลาดครั้งนี้จะส่งผลเป็นอย่างมากต่อธุรกิจการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนในสหรัฐฯ 

ที่มา : U.today