<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ตุรกีรายงานผล ‘ลีราดิจิทัล’ เฟสแรกผ่านฉลุย! เตรียมลุยเฟสต่อไป

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในวันที่ 19 ก.พ. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐตุรกี (CBRT) ได้เผยแพร่รายงานฉบับแปลภาษาอังกฤษ สำหรับการประเมินผลดำเนินงานเบื้องต้นของโครงการวิจัยและพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลกลางของธนาคารกลาง (CBDC) ที่มีชื่อว่า “Central Bank Digital Turkish Lira Research and Development (R&D) Project” 

โปรเจกต์ดังกล่าวเป็นการนำสกุลเงินลีราเข้ามายังโลกดิจิทัล ซึ่งมาพร้อมกับเทคโนโลยี SSI ที่จะมาช่วยในเรื่องของการจัดการข้อมูลประจำตัวโดยไม่ผ่านหน่วยงานตรงกลาง และรองรับการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์

โปรเจกต์เริ่มดำเนินการเฟสแรกมานับตั้งแต่ปี 2021 โดยจะมุ่งเน้นในเรื่องของ การยืนยันตัวตนผ่านระบบดิจิทัล , ระบบสกุลเงินดิจิทัล , เลเยอร์แยกโมดูล, เลเยอร์บริการ และกระเป๋าเงินวอลเล็ต  

ต่อมาในปี 2022 ธนาคารกลางตุรกีเริ่มนำร่องใช้เงินลีราดิจิทัลทำธุรกรรม ในเครือข่ายที่เป็นอิสระจากกันและกัน ซึ่งจะสามารถอำนวยความสะดวกในด้านการซ่อมบำรุง

ลีราดิจิทัลถูกดีไซน์ขึ้นมาแบบ intermediated retail CBDC หมายความว่า ธนาคารกลางจะเป็นตัวกลางในการออกและควบคุมสกุลเงินดิจิทัลแต่เพียงผู้เดียว ไม่ได้มีการกระจายอำนาจแบบคริปโตเคอร์เรนซีทั่วไป 

ธนาคารกลางตรุกีกล่าวว่า เงินสกุลใหม่นี้จะสามารถใช้งานกับเงินสกุลดั้งเดิมได้อย่างไร้รอยต่อ และไม่ได้มาแทนที่สกุลเงินดั้งเดิม แต่จะเป็นการส่งเสริมซึ่งกันและกันแทน ซึ่งในส่วนของการชำระเงินในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจ (wholesale payments) นั้น จะไม่ได้รวมอยู่ในเฟสแรก แต่กำลังมีการศึกษาเพิ่มเติมแยกต่างหาก

ธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐตุรกี (CBRT) ระบุว่า ธนาคารฯ เลือกใช้ระบบการชำระเงินแบบตั้งโปรแกรม แทนการใช้เงินแบบตั้งโปรแกรม โดยสามารถสร้างเทมเพลตสัญญา Smart Contract ที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับข้อมูลประจำตัวและอินเทอร์เฟซการชำระเงิน รายงานระบุว่า “หน่วยงานภาครัฐและผู้มีใบอนุญาตต่างๆ จะสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนา อนุมัติ ปรับใช้ เสนอ อัปเดต และยกเลิกสัญญา ได้” และ ระบบการพิสูจน์ตัวเอง (Self-sovereign identity) เป็นส่วนสำคัญของบทบัญญัติเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว

ถัดมาในเฟสที่ 2 ของโปรเจกต์ จะมุ่งทดสอบ smart payments และการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดโปรโตคอลที่จะนำมาใช้งาน หรือตารางกำหนดเวลาไว้แน่ชัด

ตุรกีกำลังดำเนินการสร้างกรอบการกำกับดูแลสำหรับสกุลเงินดิจิทัล โดยมีรายงานว่า กฎระเบียบด้านคริปโตที่อ่อนแอของประเทศเป็นสาเหตุที่ทำให้ตุรกีติดอยู่ในรายชื่อสีเทาของคณะกรรมการกิจการเงินระหว่างประเทศ (FATF)

ที่มา : Cointelegraph