<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สหรัฐฯ ฟ้อง Apple! ฐานใช้กฎระเบียบปิดกั้นแอป Crypto และแอปอื่น ๆ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

สำนักงานอัยการสูงสุดสหรัฐฯ (DOJ) กล่าวหาว่า การบังคับใช้กฎระเบียบของ App Store ของ Apple นั้น “ไร้มาตรฐาน” โดยมีการ “ลงโทษและจำกัดนักพัฒนา”  ที่เข้ามาแข่งขันกับยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีอย่าง Apple

สำนักงานอัยการสูงสุดสหรัฐฯ ยื่นฟ้องร้อง ยักษ์ใหญ่วงการเทคโนโลยีอย่าง Apple ด้วย คดีต่อต้านการผูกขาดทางการค้า (antitrust lawsuit) โดยกล่าวหาว่า กฎระเบียบกฎระเบียบของตลาดแอปพลิเคชัน และการมี “อำนาจผูกขาดทางการค้า” ได้ลดทอนการแข่งขัน และขัดขวางนวัตกรรมอย่างผิดกฎหมาย

เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา สำนักงานอัยการสูงสุดของรัฐนิวเจอร์ซี (New Jersey) ได้ยื่นฟ้องร้องบริษัท Apple ต่อศาลรัฐบาลกลาง (federal court) โดยได้รับการสนับสนุนจากอัยการสูงสุดของอีก 16 รัฐ รายงานในคำฟ้องร้องกล่าวว่า Apple มีอำนาจผูกขาดในตลาดสมาร์ทโฟน ซึ่งบริษัทได้ใช้ “บังคับ” ให้นักพัฒนาแอปพลิเคชัน ใช้ระบบการชำระเงินของตัวเอง เพื่อ “ผูกมัด” ทั้งผู้พัฒนาและผู้ใช้ไว้กับแพลตฟอร์มของตนเอง

สำนักงานอัยการสูงสุดสหรัฐฯ (DOJ) กล่าวว่า แนวทางการใช้งาน App Store และข้อตกลงนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของ Apple ได้กำหนด “กฎระเบียบและข้อจำกัดที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเรื่อย ๆ” ซึ่งอนุญาตให้บริษัทเรียกเก็บ “ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น” ขัดขวางนวัตกรรม นำเสนอประสบการณ์การใช้งานที่ปลอดภัยน้อยลงหรือด้อยคุณภาพลง และ “ลดประสิทธิภาพจำกัดทางเลือกที่เป็นคู่แข่ง ”

จากปัญหานี้อาจเป็นสาเหตุที่แอปพลิเคชันหลายแอปพลิเคชั่นคริปโตจำนวนมากบนอุปกรณ์ iOS มีฟังก์ชั่นการทำงานที่จำกัด

“พฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันของ Apple ไม่เพียงแต่จำกัดการแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดเหล่านี้ด้วย รวมถึงบริการทางการเงิน “

สำนักงานอัยการสูงสุดสหรัฐฯ (DOJ) กล่าวว่า นโยบายของ Apple ได้ผลักดันระบบการชำระเงินทางเลือกออกไป “ด้วยวิธีการที่ต่อต้านการแข่งขันและกีดกันผู้อื่น 

นอกจากนี้ รายงานยังเน้นย้ำถึงภาษี Apple 30% ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมที่บริษัทเรียกเก็บจากแอปพลิเคชันและการซื้อภายในแอป  โดยบริษัทเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนี้สำหรับ “คอนเท้นท์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่บริษัทไม่ได้เป็นผู้สร้าง”

ค่าธรรมเนียมนี้และระบบการชำระเงินของ Apple ได้รองรับเฉพาะสกุลเงินทั่วไป (fiat currency) เท่านั้น และยังปิดกั้นการใช้สกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ในแอปฯ หรือทำให้การให้บริการซื้อขายภายในแอปฯ สำหรับแอปพลิเคชันที่ใช้สกุลเงินดิจิทัลไม่สามารถทำได้ในเชิงธุรกิจ

แม้ว่า Apple จะอนุญาตให้ “ลูกค้าองค์กรและหน่วยงานภาครัฐบางราย” สร้างแอป ฯ ของตัวเองเพื่อแจกจ่ายแอปฯ ภายในองค์กรได้ แต่ผู้ใช้ iPhone และนักพัฒนาแอปฯ ทั่วไป กลับถูกจำกัดไม่ให้เข้าถึงแอปฯ ทางเลือกเหล่านี้ เนื่องจากแอปฯ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมที่ Apple ได้รับ สำนักงานอัยการสูงสุดสหรัฐฯ (DOJ) กล่าว

“Apple มักจะบังคับใช้กฎของ App Store โดยพลการ และมักใช้กฎและข้อจำกัดของ App Store อยู่บ่อยครั้ง เพื่อลงโทษและจำกัดนักพัฒนาที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่อาจคุกคาม ขัดขวาง แข่งขันด้วย หรือกัดกร่อน อำนาจการผูกขาดของ Apple”

ตลาด ( NFT) บางแห่ง เช่น OpenSea ได้ปิดใช้งานฟังก์ชันการทำงานบนแอป iOS เนื่องจากการขาย NFT จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 30% ให้กับบริษัท

แอปพลิเคชันโซเชียล Damus ที่รองรับ Bitcoin ถูกบังคับให้ยกเลิกฟีเจอร์การทิปด้วย Bitcoin หลังจากที่ Apple ลบแอปฯ ออกจาก App Store เนื่องจากฟีเจอร์นี้ไม่ได้ใช้ระบบการชำระเงินภายในแอปฯ ของ Apple ซึ่ง Apple จะหักค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรม

แม้ว่าเว็บแอป ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ใช้งานบนเว็บเบราว์เซอร์และไม่ต้องติดตั้งผ่าน App Store จะดูเหมือนอยู่นอกเหนือการควบคุมของ Apple แต่จริง ๆ แล้วยังอยู่ภายใต้การควบคุมของ Apple อยู่ เนื่องจาก Apple กำหนดให้เว็บเบราว์เซอร์ทั้งหมดบน iOS ต้องใช้เครื่องมือประมวลผลเว็บ ที่ชื่อว่า WebKit ซึ่งเป็นของ Apple เอง

สำนักงานอัยการสูงสุดสหรัฐฯ (DOJ) ยังกล่าวว่า Apple ได้ปฏิเสธการเข้าถึงกระเป๋าเงินดิจิทัลคู่แข่ง ซึ่งกระเป๋าเงินเหล่านี้มี “ฟีเจอร์เสริมหลากหลายที่น่าสนใจ” และยังห้ามนักพัฒนาแอปพลิเคชัน ไม่ให้สามารถให้บริการชำระเงินของตัวเองแก่ลูกค้าของพวกเขา 

ในสหภาพยุโรป พ.ร.บ. ตลาดดิจิทัล (Digital Markets Act – DMA) บังคับให้ Apple ต้องอนุญาตให้มีเครื่องมือประมวลผลเว็บ, ฟังก์ชันการชำระเงิน และร้านแอปฯ ทางเลือก แม้ว่า Apple จะยังคงมีกระบวนการอนุมัติอยู่ เนื่องจากบริษัทระบุว่าตัวเลือกใหม่เหล่านี้อาจเป็นภัยต่อความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้

ที่มา : cointelegraph