<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Solana ทำสถิติล่มครบ 10 ครั้ง ! ย้อนรอยเหตุการณ์เครือข่ายขัดข้อง นับตั้งแต่เบต้าจนถึงปัจจุบัน

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ล่าสุดเมื่อไม่นานนี้ หลายคนคงทราบกันแล้วว่าเครือข่าย Solana ได้เผชิญปัญหาเครือข่ายล่มตั้งแต่เวลาประมาณ 12.50 น. ของวันที่ 25 ก.พ. ตามเวลาประเทศไทย หลังจากเจอปัญหาการ Forking อย่างไรก็ตามเครือข่าย Solana สามารถกลับมาออนไลน์ได้อีกครั้งหลังจากรีสตาร์ทเครือข่ายไป 2 ครั้ง และแม้จะสามารถกลับมาใช้งานได้แล้ว แต่ความวิตกกังวลจากเหตุเครือข่ายขัดข้องในครั้งนี้ก็ยังคงอยู่ในชุมชน Solana

โดยเมื่อวันที่ 27 ก.พ. ผู้ชื่นชอบ Solana รายหนึ่งที่ใช้นามแฝงว่า Money_Reach ได้ตั้งกระทู้บน Reddit โดยเขียนหัวข้อไว้ว่า “Solana ล่มไป 10 ครั้งแล้ว” ซึ่งเนื้อหาในกระทู้ดังกล่าวคือบทสรุปเรื่องราวเหตุการณ์เครือข่ายล่มที่ Solana เผชิญมานับตั้งแต่เปิดตัวรุ่นเบต้า ดังนั้นวันนี้ทางสยามบล็อกเชนจึงอยากพาทุกคนมาย้อนดูไปพร้อมกันว่าเครือข่าย Solana เคยล่มเพราะอะไรบ้าง

ครั้งที่ 1 (รุ่นเบต้า) วันที่ 4 ธันวาคม 2020 

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2020 เวลาประมาณ 20:46 น. ตามเวลาประเทศไทย คลัสเตอร์ Solana Mainnet Beta หยุดสร้างบล็อกที่สล็อต 53,180,900 และสามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้งหลังจากผ่านไป 13 ชั่วโมง

ครั้งที่ 2 วันที่ 14-15 กันยายน 2021

เครือข่าย Solana หยุดทำงานเป็นเวลา 17 ชั่วโมง 12 นาที ในช่วงระหว่างวันที่ 14 – 15 กันยายน โดยมีสาเหตุมาจากการโจมตี DDoS บน DEX โดยทาง Solana อธิบายว่าบอทส่งสแปม Grape Protocol IDO บน Raydium ด้วยธุรกรรม 400,000 รายการต่อวินาที ซึ่งการโจมตีในครั้งนี้ได้ทำให้ตัวตรวจสอบเครือข่าย Solana หยุดทำงานเนื่องจากหน่วยความจำหมด

ครั้งที่ 3 วันที่ 4 มกราคม 2022

Colin Wu นักข่าวชื่อดังชาวจีนเปิดเผยว่า Solana ได้ถูกโจมตีทางไซเบอร์แบบ DDoS อีกครั้งในวันที่ 4 มกราคม 2022 โดยเครือข่าย Solana ดับลงไปนานกว่า 4 ชั่วโมง ก่อนจะสามารถกลับมาออนไลน์ได้อีกครั้ง

ครั้งที่ 4 วันที่ 10 มกราคม 2022

Solana ยังคงประสบกับปัญหาการโจมตีแบบ DDoS เช่นเดิม โดยเป็นการโจมตีเครือข่ายด้วยการส่งคำขอหลายรายการไปยังทรัพยากรบนเว็บของเหยื่อและขัดขวางไม่ให้แพลตฟอร์มทำงานอย่างถูกต้อง

ครั้งที่ 5 วันที่ 22 มกราคม 2022

เครือข่าย Solana หยุดทำงานเป็นเวลานานกว่า 29 ชั่วโมง เนื่องจากบอทที่พยายามกำจัดตำแหน่ง DeFi ที่ไม่ได้รับการค้ำประกันจนเครือข่ายเริ่มโอเวอร์โหลดเพราะมีธุรกรรมที่ซ้ำกันจำนวนมาก และเมื่อธุรกรรมบนเครือข่ายแออัด บอทก็ส่งธุรกรรมเข้ามามากขึ้น จนทำให้เครือข่าย Solana ช้าลงมากยิ่งขึ้นจนต้องหยุดการทำงานลง

ครั้งที่ 6 วันที่ 28 มีนาคม 2022

หลังจากเครือข่าย Solana อัปเกรดเป็น v1.9 ต่อมา RPC node ทั้งหมดที่ทำงานใน 1.8.14 ถูกแยกออกไปยังคลัสเตอร์แบบแยกต่างหาก

ครั้งที่ 7 วันที่ 30 เมษายน 2022

เครือข่าย Solana ประสบกับเหตุการณ์ล่มไปนาน 7 ชั่วโมงจนต้องหยุดทำงานลงในที่สุด เนื่องจาก NFT หลายล้านรายการกำลังสร้างใหม่โดย Bots Swarm ‘Candy Machine’ เครื่องมือสร้างเหรียญ NFT ทั้งนี้ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าทราฟฟิกของบอทสามารถเอาชนะการป้องกันของเครือข่ายได้อย่างไร

ครั้งที่ 8 วันที่ 27 พฤษภาคม 2022

การทำธุรกรรมบนบล็อกเชน Solana นั้น delay ถึง 30 นาที โดยความแตกต่างของเวลาในครั้งนั้นเป็นหนึ่งในผลกระทบของเวลา Slot time ใน Solana ที่ช้าลง ทั้งนี้เวลา Slot time ที่เหมาะสมที่สุดของ Solana คือ 400 มิลลิวินาที (ms) แต่เมตริกนั้นเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเป็นประมาณ 746 มิลลิวินาที ตามข้อมูลจาก blockchain explorer

ครั้งที่ 9 วันที่ 1 มิถุนายน 2022

บล็อกเชน Solana หยุดทำงานลงเนื่องจาก runtime bug ที่เกิดขึ้นจากคุณลักษณะการทำธุรกรรมแบบ durable nonce transactions ทั้งนี้ bug ดังกล่าวทำให้บล็อกเชน Solana ออฟไลน์ไปนานประมาณสี่ชั่วโมงครึ่ง เนื่องจากการผลิตบล็อกหยุดลง ต่อมาเจ้าหน้าที่ก็ได้ตรวจสอบและสามารถรีสตาร์ท mainnet ได้สำเร็จ

ครั้งที่ 10 วันที่ 1 ตุลาคม 2022

เครือข่าย Solana ประสบกับปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถประมวลการทำธุรกรรมได้ โดยปัญหานั้นเกิดจาก Node หนึ่งบนเครือข่ายมีการตั้งค่าที่ผิดพลาด ในขณะที่ Node นั้นกำลังยืนยันการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน Solana ทั้งนี้ Node ที่ตั้งค่าผิดพลาดส่งผลให้ข้อมูลสูญหาย และจำเป็นต้องรีสตาร์ทจากจุดก่อนหน้า จนดูเหมือนว่า Solana จะล่มทั้ง chain

ครั้งที่ 11 (ครั้งล่าสุด) วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2023

Solana Mainnet ประสบปัญหาการ Forking ครั้งใหญ่ ข้อมูลจาก Solana Explorer พบว่า ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นนี้ได้ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ บนเครือข่ายช้าลง โดยในเวลาประมาณ 14.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ปริมาณธุรกรรมบนเครือข่ายได้ลดลงเหลือเพียง 93 ธุรกรรมต่อวินาที ซึ่งต่ำกว่าอัตราการทำธุรรรมปกติซึ่งอยู่ที่ประมาณเกือบ 5,000 ธุรกรรมต่อวินาที

ที่มา: reddi