<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

กลุ่มผู้ออกกฎหมายทางการเงินระดับโลก G20 ประกาศจะตั้งใจควบคุมคริปโตอย่างจริงจัง

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ผู้นำต่าง ๆ ใน G20 ประกาศว่าจะควบคุมสินทรัพย์คริปโตอย่างจริงจัง

ในปัจจุบัน บางประเทศได้เริ่มออกกฎหมายสำหรับควบคุมอุตสาหกรรมคริปโตแล้วเพื่อความชัดเจน แต่บางประเทศก็ยังคงปล่อยมันไว้แบบนั้น ความไม่แน่นอนเหล่านั้นสร้างความกดดันให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ต้องเข้ามาตกลงกันว่าจะมีมาตรฐานกฎหมายในการควบคุมอุตสาหกรรมคริปโตอย่างไรดี จึงจะเหมาะสม

ประชุม G20 อีกครั้ง

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา มีงานประชุม G20 เกิดขึ้นอีกครั้งที่อาร์เจนตินา มีการกล่าวว่า ระบบการเงินที่เปิดนั้นจำเป็นเป็นอย่างมากสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ก็จำเป็นต้องมีมาตรฐานสากลมาควบคุมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Cryptocurrency เช่นกัน

“เราจะตรวจตราอย่างต่อเนื่อง และเข้าไปจัดการความเสี่ยงและช่องโหว่ที่เกิดขึ้นในระบบการเงินถ้าจำเป็น รวมทั้งใช้การร่วมมือทางกฎหมายเพื่อที่จะพัฒนาตัวกลางทางการเงินที่มิใช่ธนาคารให้สำเร็จ”

สมาชิกใน G20 ได้กล่าวว่า ยังคงจำเป็นต้องมีกฎหมายในการดูแลอยู่ดีกับระบบการเงินใหม่ ๆ:

“เราจะพยายามดึงศักยภาพและประโยชน์ของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการเงินออกมาให้มากขึ้น ในขณะที่ทำให้ความเสี่ยงน้อยที่สุด เราจะควบคุมสินทรัพย์คริปโตด้วยมาตรการต่อต้านการฟอกเงิน (Anti-money Laundering) และต่อกรกับอาชญากรทางการเงินต่อไปด้วยมาตรการ FATF (Financial Action Task Force) และพิจารณาว่า มีอะไรอีกหรือไม่ ที่จำเป็น”

G20 คืออะไร

G20 คือกลุ่มระดับสากลซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากรัฐบาลและธนาคารกลางกว่า 20 ประเทศยักษ์ใหญ่ในโลก สมาชิกในกลุ่มนั้นมาจากประเทศที่คิดรวมกันแล้วมีบทบาทกับเศรษฐกิจโลกถึง 85 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว รวมทั้งประเทศที่เป็นสมาชิก คิดเป็น 66 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก และ 75 เปอร์เซ็นต์ของการค้าระดับสากลอีกด้วย

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตัวแทนระดับสูงจากประเทศฝรั่งเศสและเยอรมันได้เรียกร้องให้มีการประชุมของสมาชิก G20 เพื่อหารือเกี่ยวกับกฎหมายสำหรับการใช้คริปโตและโทเคน และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พวกเขาได้เผยว่า ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่เริ่มยอมรับคริปโตอย่างจริงจัง ได้พยายามที่จะหารือว่าจะมีมาตรการระดับสากลอย่างไรดีเรียกได้ว่า ความเคลื่อนไหวสำหรับการควบคุมสินทรัพย์คริปโตในระดับสากลนั้นยังมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการสร้างความชัดเจนให้มากขึ้นในวงการถือเป็นเรื่องดี เพราะสามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ ในส่วนของประเทศไทยเอง ก็ได้มีการบังคับใช้พ.ร.ก. ประกอบสินทรัพย์ดิจิทัลไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่กำกับครอบคลุมตั้งแต่การระดมทุน ICO ไปจนถึงการเก็บภาษีจากกำไรที่ได้รับเลยทีเดียว และอาจมีการปรับเปลี่ยนอีกตามความเหมาะสมในปี 2019

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น