<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ในสงครามไซเบอร์ครั้งต่อไป บิทคอยและบล็อกเชนคือตัวป้องกันที่ดีกว่าระบบป้องกันที่มีแค่ศูนย์กลาง

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ถือเป็นปัญหาที่ในหลายๆประเทศอย่างเช่นสหรัฐ, ยุโรป, รัสเซีย, จีน หรือในอีกๆหลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ การโจมตีทางไซเบอร์ที่มีการเตรียมพร้อมมาดีสามารถที่จะทำลายระบบสื่อสาร, เครื่องบินเจ็ทของทหาร, หรือแม้แต่ระบบของหน่วยงานสาธารณะเช่นโรงพยาบาล, โรงงานไฟฟ้า และระบบเสาโทรคมนาคมในเมือง ฯลฯ

นาย Adeolu Fadale ประธานและผู้ก่อตั้ง Cryptography Development Initiative of Nigeria (CDIN) ได้กล่าวว่า

“ตอนนี้ดูเหมือนจะเป้นที่รู้ๆกันว่าสงครามครั้งต่อไปจะต่อสู้กันผ่านออนไลน์ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมการจู่โจมระบบความมั่นคงของประเทศจึงเป็นเรื่องที่มีมาให้เห็นบ่อย การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะเป็นผู้นำในยุคดิติตอลของโลกได้นั้น ประเทศนั้นจะต้องมีความสามารถและพลังในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์”

ระบบความปลอดภัยนั้นพึ่งพาไม่ได้

ระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นเป็นที่รู้กันว่ามีไว้ใช้แค่ถ่วงเวลานักแฮกเกอร์เท่านั้น เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีการโจมตีแบบ DDoS ที่ทำให้เว็บไซต์ชื่อดังทั้งหลายอาทิ Twitter, Amazon และ The New York Times ล่มไป การโจมตีดังกล่าวไม่ได้เลือกจู่โจมบริษัทโดยตรง แต่เลือกโจมตีบริษัทที่ให้บริการ DNS แก่เว็บเหล่านั้น

นาย Adeolu ได้กล่าวว่าความอ่อนแอของระบบไซเบอร์ในทุกวันนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทางรัฐต้องหันมาเอาใจใส่ เพราะในปัจจุบันระบบที่ว่านี้ไม่สามารถป้องกันการการโจมตีแบบ Advance Persistent Threat (APT) ได้อีกต่อไป ดังนั้นความต้องการในการป้องกันระบบด้วยบล็อกเชนหรือบิทคอยจึงเป็นสิ่งที่ควรพึงกระทำ

โอกาสรอดสูงกว่า

สืบเนื่องมาจากนาย Grant Blaisdell แห่งบริษัท Confirm Blockchain Lab ได้กล่าวว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถที่จะช่วยลดความเสียหายอันเนื่องมาจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้ เพราะผู้โจมตีนั้นจะต้องจู่โจมหลายๆระบบ แทนที่จะโจมตีศูนย์กลางที่เดียว มากกว่านั้น ถึงแม้จะทำการจู่โจมหลายๆจุด แต่ระบบโดยรวมก็ไม่อาจจะล่มลงได้ง่ายๆ

“เมื่อพูดถึงระบบป้องกันทางไซเบอร์ทั่วๆไป ผมคิดว่ามันไม่ใช่การป้องกันที่ดีเอาเสียเลย เพราะมันจะทำให้เป้าหมายถูกจู่โจมได้ง่ายมาก แต่ระบบการกระจายของบล็อกเชนจะทำให้การป้องกันการโจมตีนั้นถือเป็นเรื่องที่ง่ายมาก”

กล่าวโดยนาย Grant

รัฐบาลเกรงกลัวที่จะสูญเสียอำนาจ

ลองมาคิดๆดูแล้ว ทำไมรัฐบาลส่วนใหญ่ลังเลที่จะหันหน้าเข้าหาเทคโนโลยีที่ว่านี้ นาย Grant กล่าวว่านั่นเป้นเพราะรัฐบาลกลัวที่จะสูญเสียพลังอำนาจในการควบคุมประชาชน โดยมันต้องใช้เวลาเป็นสิบๆปี (หรือร้อยปี) กว่าที่ทางรัฐบาลจะต้องสร้างและปรับปรุงระบบศูนย์กลางที่ว่านี้ แต่ ณ ตอนนี้การขโมยข้อมูลและอีเมลล์ที่มีให้เห้นบ่อยๆได้พิสูจน์แล้วว่ามันใช้งานไม่ได้ ระบบบล็อกเชนที่สามารถจะนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการทางด้านความปลอดภัยหรือทางทหารสามารถที่จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องแบบนี้ลงไปได้

ความน่าเชื่อถือของบิทคอย

นาย Adeolu ได้ยกตัวอย่างในกรณีของบล็อกเชนของบิทคอยขึ้นมา โดยกล่าวว่าเป็นระบบที่อยู่รอดมาถึงปัจจุบันโดยไม่มีใครสามารถทำลายมันลงได้แม้แต่ครั้งเดียวมาจนถึง 7 ปีแล้ว และไม่มีแม้แต่ระบบรักษาความปลอดภัยแม้แต่ระบบเดียว “ในวันนี้ เงินรางวัลสำหรับผู้ที่สามารถแฮกบิทคอยได้มีให้สูงถึง 14 ล้านดอลลาร์”

เขาได้กล่าวถึงระบบบล็อกเชนของบิทคอยที่มีระบบความปลอดภัยในตัวมันเอง แถมยังดีกว่าระบบความปลอดภัยอื่นๆบนโลกนี้

  1. ระบบบันทึกการใช้จ่ายหรือ Ledger แบบกระจายและเป็นสาธารณะ
  2. การบันทึกการโอนทั่วโลกที่มีบันทึกไว้ตั้งแต่อดีตยันปัจจุบันและไม่สามารถดัดแปลงได้
  3. การตรวจสอบแบบ Real-time
  4. ป้องกันการถูกจู่โจม
  5. ป้องกันการถูกเซนเซอร์

อย่างไรก็ตามนาย Adeolu ได้เผยว่าปัจจัยดังกล่าวนี้อาจจะเป็นตัวถ่วงที่ทำให้ผู้คนปรับตัวเข้าหาบิทคอยและเทคโนโลยีบล็อกเชนช้าลง

  • ความใหม่ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • ความซับซ้อนทางเทคนิค
  • ความไม่แน่นอนของกฏหมายที่จะมารองรับบิทคอย
  • บิทคอยถูกทำให้เสียชื่อเสียงด้วยอาชญากรและผู้เรียกค่าไถ่ Ransomware
  • การมีอยู่ที่จำกัดของบิทคอย
  • ช่องว่างระหว่าง KYC/AML

การปฏิวัติทางดิจิตอลครั้งที่สอง

การปฏิวัติทางดิจิตอลที่เริ่มขึ้นเมื่อหลายทศวรรษที่แล้วยังคงส่งผลกระทบต่อระบบและโครงสร้างในปัจจุบัน โดยการปฏิวัติทางดิจิตอลครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่ออินเทอร์เนตได้เข้ามาส่งผลกระทบต่อสื่อสิ่งพิมพ์, การส่งจดหมาย, ห้องสมุด และการสื่อสาร ในตอนนี้การปฏิวัติทางดิจิตอลครั้งที่สองได้มาถึงแล้วเพื่อทำให้พวกเราได้รู้ถึงการใช้อินเทอร์เนตเพื่อเปลี่ยนโลกแห่งการเงินและเศรษฐกิจโลกไปอย่างสิ้นเชิง

ภาพจาก Huffington Post

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น