<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เมื่อ ICO กำลังได้รับความนิยมแต่ทำไมหลาย Project ถึงไม่ประสบความสำเร็จ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ปัจจุบันการระดมทุนผ่าน Initial Coin Offering ( ICO) เป็นที่นิยมอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2017 ที่ผ่านมา ซึ่งกระแสดังกล่าวก็ได้เข้ามาถึงในประเทศด้วยเช่นกัน เมื่อการออกเหรียญ Token เพื่อขายให้กับนักลงทุน และนำเงินที่ได้มาพัฒนา Project ที่ว่านี้สามารถสร้างโอกาสในการระดมทุนในแง่ของความอิสระที่ไร้พรมแดนได้นั้น เหตุใดทำไมถึงมีแค่บริษัท Startup เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ประสบผลสำเร็จ

ความไม่โปร่งใสของข้อมูล ICO คือความเสี่ยง

รายงานล่าสุดจาก Tokendata ได้สรุปข้อมูลของการประกาศระดมทุน ICO ในปี 2017 พบว่ามี ICO ทั้งหมด 902 ตัว และ 59% ของทั้งหมดนี้ล้มเหลวไปเป็นที่เรียบร้อย

หนึ่งในตัวแปรที่ทำให้เหรียญ ICO ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงก็คือข้อมูลของ Project นั้น ๆ ขาดความน่าเชื่อถือจึงทำให้นักลงทุนไม่กล้าเข้าไประดมทุน เมื่อมีคนบอกคุณว่าโปรเจ็คนี้น่าลงทุนเพราะจะให้ผลตอบแทนคืนกว่า 20% อย่างแน่นอน, หรือบางโปรเจคมีการอ้างอิงถึงบุคคลที่ไม่มีอยู่จริง, หรือแม้แต่การคัดลอกงาน นั่นจึงกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ทางผู้ออกกฎหมายในหลาย ๆ ประเทศต้องออกมาสั่งยับยั้งการระดมทุน ตั้งในระดับเพียงไม่กี่แค่บริษัท ไปจนถึงทั้งวงการ อย่างเช่นประเทศจีน

โดยอ้างอิงจากเหรียญ TRON นั้น ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าโครงการดังกล่าวมีการไปคัดลอก Whitepaper มาจาก Filecoin และรวมถึงเหรียญ ICO ของ IFPS หรือบางโครงการก็มีการปลอมทีมพัฒนา Project นั้นด้วย

ส่วนถัดมาก็คือเรื่องกฏหมายในประเทศต่าง ๆ ที่ยังไม่แน่นอนเช่น ประเทศจีนที่มีการเปลี่ยนกฏหมายไปมา จึงทำให้เกิด ICO ที่เป็น Scam เป็นจำนวนมาก และสุดท้ายทางประเทศจีนก็ออกกฎหมายแบนการระดมทุน ICO ไป ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันในประเทศดังกล่าวจะถูกแบนไม่ให้มีการระดมทุน ICO แล้ว แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งประชาชนให้เลิกการระดมทุนนอกประเทศได้เพราะเทคโนโลยี Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ไร้พรมแดน

ผิดสัญญาต่อนักลงทุน

แน่นอนว่าการที่จะดมทุน ICO จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งในช่วงที่กำลังระดมทุนก็จะมีการเคลื่อนไหวของ Social Media ของ ICO ตัวนั้น ๆ แต่หลังจากจบการระดมทุนไปแล้ว Social Media ช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Twitter, Telegram หรือ  Website ของเจ้าของ Project นั้นหายไป ก็เหมือนกับว่าเป็นการทำผิดสัญญาต่อลูกค้า

โดยอ้างอิงจากข้อมูลของ Medium กล่าวว่าหลังจากมีการระดมทุน ICO แล้วมีประมาณ 5% ของโครงการได้ล้มตายลงไปเนื่องจากไม่สามารถพัฒนาโครงการต่อไปได้ตามที่สัญญาเอาไว้ เช่นบางโครงการขอเลื่อนวันเปิดตัวออกไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีกำหนด

ชื่อแบรนด์

ใช่ว่าชื่อแบรนด์จะสามารถทำให้นักลงทุนสนใจที่จะเข้ามาระดมทุนทุนเสมอไป ถ้า Project นั้น ๆ ไม่สมเหตุสมผลหรือคาดว่าอนาคตไม่สามารถที่จะทำผลงานออกมาได้

ยกตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มให้พลังงานนาม Silber Pfeil Energy Drink และ Mercedes ได้ร่วมมือในการระดมทุน ICO ในปี 2017 แต่ก็ล้มเหลว เพราะนักลงทุนมองว่าโครงการที่สร้างมานั้นไม่มีประโยชน์สำหรับเขา สุดท้ายแบรนด์ที่มีชื่อเสียงก็ไม่สามารถชักจูงให้ผู้คนเข้ามาระดมทุนได้

Roadmap กับ Whitepaper

แน่นอนว่าการที่นักลงทุนจะเข้ามาระดมทุนใน ICO ตัวนั้น ๆ จะต้องดูหลาย ๆ สิ่งประกอบกันเช่น Roadmap และ Whitepaper ซึ่งถ้า Project นั้น ๆ มี Roadmap และ Whitepaper ที่ดูแล้วว่าเทคโนโลยีนี้ไม่สามารถทำให้เป็นจริงตามหลักความจริงได้

ก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์ที่ถึงขั้นที่มีการเปิดบริษัทเพื่อรับจ้างเขียน whitepaper ให้กับสตาร์ทอัพที่จะระดมทุนเลยทีเดียว โดยอ้างอิงจากเว็บ CoinDesk นั้นเผยว่า เว็บผู้ให้บริการด้าน e-commerce นาม Taobao ได้มีการโพสขาย Package ช่วยเขียน Whitepaper และสไลด์สำหรับพรีเซ้นท์ โดยบางงานนั้น พวกเขาคิดราคาเพียง 10 หยวน (500 บาท) เท่านั้น

โปรเจคที่แก้ปัญหาผิดจุด

แน่นอนว่าประเทศในแต่ละทวิปมีความเท่าเทียมที่ไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และเชื้อชาติต่าง ๆ นา ๆ

โดยข้อมูลของ Tokendata กล่าวว่าประเทศแอฟริกาเป็นประเทศที่ทำการระดมทุน ICO ที่ล้มเหลวมากที่สุด และแอฟริกาไม่เคยติดอยู่ในสิบอันดับแรกของประเทศในการระดมทุน ICO เลย (ข้อมูลเดือนมีนาคม 2018) เนื่องจากว่า Cryptocurrency ที่มุ่งเน้นด้านการเกษตรที่มาแก้ไขปัญหาของชาวไร่ชาวนา จึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมในหมู่คนแอฟริกา และนักลงทุนประเทศอื่น ๆ ที่อยากลงทุนในด้านการเกษตรก็มีน้อยเช่นกัน

โปรเจคระดมทุนที่มีมากเกินไปในปัจจุบัน

อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โปจเจคระดมทุนผ่าน ICO ส่วนใหญ่ล้มเหลวนั้นอาจเกิดขึ้นมาจากกระแส ที่ทำให้ปัจจุบันเหรียญ ICO นั้นเกลื่อนตลาด ทำให้เม็ดเงินนั้นกระจายออกมากขึ้น เหมือนมีผู้มาแย่งส่วนแบ่งเค้กกันมากขึ้น แต่หลาย ๆ โปรเจคก็ยังยืนกรานที่จะระดมทุนให้ได้เป็นจำนวนเงินมหาศาล (เช่น 50-100 ล้านดอลลาร์) ซึ่งจะแตกต่างจากยุคสมัยก่อนที่ ICO จะบูม

ตัวอย่างนั้นก็มีให้เห็น โดยหากย้อนกลับไปในช่วงที่การระดมทุน ICO ยังไม่เป็นที่สนใจมากนักโครงการที่ชื่อ BAT ที่สามารถระดมทุนได้ 35 ล้านดอลลาร์หมดภายใน 30 วินาทีเท่านั้น ซึ่งหากลองดูแล้วจะพบว่า มีโปรเจค ICO เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นในตลาด

สรุป

ผู้เขียนบทความมีความคิดเห็นว่า ICO ในปี 2018 จะไม่ตาย นักลงทุนไม่จำเป็นต้องหยุดที่จะระดมทุนใน ICO แต่เพียงแค่นักลงทุนจะต้องการการวิจัยเพื่อที่จะทำให้การลงทุนนี้เป็นที่ดีที่สุด

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น