<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ช่องว่างบนกราฟ Bitcoin คืออะไร และมันจะส่งผลกระทบอย่างไรกับราคา

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

การดำเนินการซื้อขายสกุลเงินคริปโตนั้นมีลักษณะหลายอย่างที่คล้ายคลึงกับการซื้อขายสินทรัพย์อื่นๆในตลาดแบบดังเดิมเช่นตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็ยังมีหลายจุดซึ่งมีความแตกต่างกับการซื้อขายสินทรัพย์แบบอื่นๆอยู่ ดังนั้นแล้วมันจึงเป็นไปได้ที่จะนำศัพท์ทางเทคนิคซึ่งมีความหมายในเชิงเดียวกันมาใช้กับตลาดคริปโตโดยอาศัยการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะและธรรมชาติของตลาดคริปโตแต่ละแบบนั่นเอง

ช่องว่างราคานั้นเป็นสิ่งที่พบได้โดยปกติในตลาดการซื้อขายสินทรัพย์ทั่วไป นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถพบเห็นการนำรูปแบบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาเป็นหนึ่งในปัจจัยสำหรับการวิเคราะห์ราคา Bitcoin อีกด้วย

อะไรคือช่องว่างทางราคา?

ช่องว่างราคานั้นคือช่วงการเปลี่ยนแปลงบนกราฟราคาซึ่งราคาของสินทรัพย์นั้น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นหลังจากการปิดตลาดในวันก่อนหน้าอีกทั้งยังไม่มีการดำเนินการซื้อขายเกิดขึ้นอีกด้วย

หลายคนอาจคิดว่ากรณีดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นได้กับสกุลเงินคริปโตซึ่งมีปริมาณส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดอย่าง Bitcoin อีกทั้งตลาดคริปโตนั้นยังไม่ได้มีการดำเนินการเปิดปิดตลาดเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในตลาดสินทรัพย์ซึ่งหยุดการซื้อขายหลังจากวันศุกร์ แต่ตลาดดังกล่าวนั้นกลับมีการดำเนินการซื้อขายตลอดทั้งวันและไม่หยุดตลอดทั้งสัปดาห์ ดังนั้นแล้วจุดนี้นี้เองที่เราจะต้องกลับไปพิจารณารูปแบบการเติบโตของเหรียญ BTC ในช่วงตลอดหลายปีที่ผ่านมานี้ 

ช่องว่างบนกราฟราคาของ Bitcoin 

ย้อนกลับไปในช่วงปี 2017 ซึ่งราคาเหรียญดังกล่าวนั้นขึ้นไปแตะช่วงราคาสูงสุดที่ 20,000 ดอลลาร์และเป็นที่จับตาอย่างมากทั่วโลก โดยไม่เพียงแต่นักลงทุนเท่านั้นที่ให้ความสนใจแแต่รวมถึงเหล่าสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย

โดยในช่วงเวลานั้นเองในเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีบริษัทนายหน้าสองรายในชื่อ Chicago Mercantile Exchange (CME) และ Chicago Board Options Exchange (CBOE) เปิดให้บริการซื้อขาย Bitcoin Futures โดยเปิดให้มีการเข้าทำสัญญาโดยใช้เงินสดสกุลดอลลาร์สหรัฐ ฯ ได้

อย่างไรก็ตามทั้ง CME และ CBOE เป็นบริษัทซึ่งได้จดทะเบียนอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ดังนั้นแล้วบริษัททั้งสองจึงดำเนินการและให้บริการซื้อขายในช่วงเวลาที่จำกัดเช่นเดียวกับการดำเนินการของบริษัทอื่น ๆ ภายในช่วงหนึ่งสัปดาห์  คือตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่ ห้าโมงเย็นของวันแรก ถึงสี่โมงเย็นของวันสุดท้ายตามเวลากลางสหรัฐ ฯ นั่นเอง

แม้ว่าบริษัทอย่าง CBOE จะไม่ได้มีการเปิดให้บริการดังกล่าวแล้ว แต่ทาง CME ซึ่งยังคงให้บริการอยู่นั้นจะทำการปิดให้บริการทุกสัปดาห์ในช่วงวันศุกร์ แต่ตลาด Bitcoin นั้นก็ไม่ได้หยุดนิ่งตามไปด้วย อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างมากนั้นยังมักจะเกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์อีกด้วย ดังนั้นแล้วคำถามคือจะเกิดอะไรขึ้นหากเป็นกรณีของการทำกำไรแบบ Arbitrage ซึ่งส่งผลให้เกิดช่องว่างราคาขึ้น? 

เมื่อพิจารณาตัวอย่างจากกราฟข้างต้นแล้วจะพบว่าในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อน ช่องว่างราคานั้นได้เกิดขึ้นโดยที่ราคา Bitcoin นั้นได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากไปแตะที่ช่วงราคา 10,000 ดอลลาร์ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น นอกจากนี้แล้วช่องว่างราคายังได้เคยเกิดขึ้นมาก่อนอีกในช่วงเดือนกันยายนซึ่งทางบริษัท CME ได้ปิดตลาดที่ราคา 10,150 ดอลลาร์ และได้เปิดตลาดอีกครั้งที่ราคา 10,400 ดอลลาร์ในช่วงวันจันทร์ถัดมา คำถามคือเกิดอะไรขึ้นในระหว่างช่วงเวลาเหล่านี้?

แล้วช่องว่างทางราคาของ Bitcoin นั้นจะถูกเติมเต็มโดยปัจจัยอื่น ๆ หรือไม่

แม้ว่าจะมีบางกรณีซึ่งช่องว่างเหล่านี้ยังคงถูกปล่อยทิ้งไว้ แต่ในกรณีส่วนใหญ่นั้นช่องว่างเหล่านี้ก็ได้ถูกปิดลงหลังจากการดำเนินการซื้อขาย Futures ระยะสั้นเกิดขึ้น โดยเมื่ออ้างอิงจากแหล่งข้อมูลนั้นพบว่าหากพิจารณาช่องว่างราคาในช่วงสุดสัปดาห์ทั้งหมด 100 ครั้งแล้ว ช่องว่างกว่า 95 ครั้งนั้นมักจะถูกเติมเต็มโดยปัจจัยอื่นหรือถูกปิดลงในที่สุด และหากเราพิจารณาสถิติแล้วจะพบว่ากว่า 50 ครั้งนั้นได้ถูกปิดลงในช่วงวันเปิดตลาดและตามมาด้วยอีก 28 ครั้งที่เหลือที่ได้ถูกปิดลงภายในสัปดาห์เดียวกันนั่นเอง

หากพิจารณากราฟรายวันแล้วจะพบว่ามีหลายตัวอย่างของการที่ช่องว่างทางราคาเหล่านี้ได้ถูกปิดลง ซึ่งในบางครั้งนั้นได้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างฉับพลันโดยปรากฎบนกราฟแบบแท่งเทียน หรือในกรณีอื่น ๆ เช่นการที่ช่วงราคาต่าง ๆ ได้เข้าแทนที่ช่องว่างเหล่านั้นนั่นเอง

ทำไม่ช่องว่างเหล่านี้ถึงต้องถูกเติมเต็มด้วย?

คำตอบสำหรับคำถามนี้มีหลายรูปแบบ แต่โดยเบื้องต้นแล้วหากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของราคานั้นเป็นไปในทิศทางขาขึ้นหรือขาลงมากเกินไปนั้น กรณีดังกล่าวมักจะตามมาด้วยการปรับตัวของราคานั่นเอง นอกจากนี้อีกหนึ่งเหตุผลที่เป็นไปได้สำหรับกรณีดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของราคาที่มากเสียจนไม่สามารถระบุช่วงแนวต้านหรือแนวรับได้ ทำให้เกิดการปรับตัวของราคาเพื่อให้เข้าสู่จุดสมดุลเช่นเดิมนั่นเอง

ช่องว่างราคาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อราคา Bitcoin หรือไม่?

คำถามนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ท่ามกลางวงการนักเทรดสกุลเงินคริปโตเนื่องจากยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมากพอที่จะหาข้อสรุปได้ว่าราคา Bitcoin นั้นได้รับผลกระทบโดยตรงจากช่องว่างราคาที่เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ได้มีหลายคนเชื่อว่ากรณีดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อราคาอยู่นั่นเอง

กรณีที่ชัดเจนอย่างมากเช่นการที่ราคาบนกราฟของ Bitcoin Futures ของบริษัท CME ได้ดิ่งลงในช่วงไม่กี่วินาที ซึ่งนักวิเคราะห์หลายรายก็ได้ออกมากล่าวถึงกรณีนี้ว่าเป็นไปได้สูงมากที่จะมีการปั่นราคาเกิดขึ้น

แล้วนักลงทุนจะสามารถสร้างผลประโยชน์จากช่องว่างเหล่านี้ได้หรือไม่?

นักลงทุนบางรายอาจมองว่าช่องว่างเหล่านี้น่าจะถูกเติมเต็มในช่วงเวลาไม่กี่วันถัดมาหลังจากที่เกิดขึ้น หรือบางรายอาจนำจุดนี้ไปใช้ประโยชน์ในฐานะส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุนของพวกเขาเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้การดำเนินการในรูปแบบดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงสูงมากหากถูกใช้อย่างไม่ระมัดระวัง

ในตลาดการซื้อขายสินทรัพย์ทั่วไปนั้นมากจะมีความโปร่งใสมากกว่านี้ ตัวอย่างเช่นการที่นักลงทุนบางรายอาจทำการซื้อหุ้นหลังจากที่มีการปิดตลาดไปแล้วซึ่งอาจจะด้วยเหตุที่พวกเขาพิจารณารายงานการดำเนินการของบริษัทแล้วเห็นว่าน่าจะมีทิศทางราคาที่จะสร้างผลกำไรให้พวกเขาได้ แต่ในขณะเดียวกันตลาด Bitcoin นั้นไม่มีการหยุดการซื้อขายบนแพลตฟอร์ม Exchange ต่าง ๆ ดังนั้นแล้วในกรณีตลาดคริปโตนั้นช่องว่างเหล่านี้อาจจะเป็นอะไรที่ซับซ้อนมากกว่าปกตินั่นเอง

หากพิจารณาแง่มุมทางเทคนิคแล้ว ทันทีที่ช่องว่างทางราคาเหล่านี้ปรากฎขึ้น มันจะทำให้ช่วงแนวต้านและแนวรับในขณะนั้นหายไป โดยไม่นานหลังจากนั้นช่องว่างเหล่านี้ก็มักจะถูกเติมเต็มและหายไปในที่สุดนั่นเอง 

นอกจากนี้แล้วกฎหลัก ๆ ของการใช้งานช่องว่างทางราคานั้นมีดังนี้

  • การซื้อขายนั้นควรที่จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับช่วงราคาในกรอบการเปลี่ยนแปลงราคาที่กว้างขึ้น (อย่างน้อย 4 ชั่วโมง)
  • ช่วงราคานั้นควรจะลดระดับลงมาสู่จุดแนวต้านดั้งเดิมซึ่งหมายความว่าช่องว่างทางราคาดังกล่าวนั้นได้รับการเติมเต็มเรียบร้อย และราคาได้กลับเข้าสู่แนวรับซึ่งเดิมเคยเป็นช่วงแนวต้านนั่นเอง
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงนั้นควรเป็นไปอย่างสมมาตร กล่าวคือเป็นไปในอัตรา 1 ต่อ 1 ในช่วงที่ช่องว่างราคานั้นได้ถูกปิดลงทั้งหมดแล้วนั่นเอง

กล่าวโดยสรุปแล้ว ช่องว่างทางราคานั้นเกิดขึ้นจากการที่ราคาของสินทรัพย์นั้นเปิดตลาดที่ราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาในช่วงวันก่อนของการซื้อขาย ซึ่งช่องว่างเหล่านี้ได้เริ่มปรากฎหลังจากที่ทางบริษัท CME ได้เปิดให้บริการซื้อขาย Bitcoin Futures ในช่วงปลายปี 2017 นั่นเอง โดยเมื่อพิจารณากราฟต่าง ๆ แล้วจะพบว่าส่วนใหญ่แล้วช่องว่างทางราคาเหล่านี้มักจะถูกปิดลงในช่วงสัปดาห์ถัดมา แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีกรณีที่ช่องว่างดังกล่าวนั้นได้ถูกเปิดค้างไว้อยู่ อีกทั้งแม้ว่ากรณีอาจมองได้ว่าเป็นช่องทางที่สามารถใช้ในการทำกำไรได้อย่างง่ายดาย แต่ทั้งนี้นักลงทุนก็ควรที่จะคำนึงถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องด้วย

ที่มา : Cryptopotato

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น