<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เหรียญคริปโตของ Telegram จะถูกแยกให้บริการจากแอพลิเคชั่นหลัก

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

รายงานล่าสุดจากทางบริษัทมูลค่านับสามร้อยล้านดอลลาร์ซึ่งให้บริการแอพลิเคชั่นชื่อดังอย่าง Telegram ถึงโครงการสกุลเงินคริปโตของตัวเองในชื่อ TON (Telegram Open Network) สำหรับเหรียญ Grams ของพวกเขานั้น ล่าสุดได้มีการกล่าวอย่างเป็นทางการแล้วว่าเหรียญดังกล่าวนั้นจะไม่ได้ถูกรวมเข้ากับแอพลิเคชั่น Telegram ของพวกเขาแต่อย่างใด 

ทั้งนี้ทางบริษัทได้เตรียมให้บริการแอพลิเคชั่น Wallet สำหรับเหรียญดังกล่าวของพวกเขาในชื่อ TON Wallet โดยดำเนินการบนเครือข่าย TON Blockchain โดยแอพลิเคชั่นดีงกล่าวนั้นจะถูกแยกเป็นอีกแอพลิเคชั่นหนึ่งต่างหากจากแอพซึ่งให้บริการรับส่งข้อความของพวกเขา ซึ่งจะทำให้แอพลิเคชั่น Wallet ของทาง Telegram นั้นเข้าแข่งขันกับผู้ให้บริการ Wallet อื่นๆ ในตลาดเดียวกันได้นั่นเอง 

หนึ่งในปัจจัยที่มาของการแยกแอพลิเคชั่น Wallet ออกจากแอพลิเคชั่นซึ่งให้บริการรับส่งข้อความนั้น เนื่องมาจากเหตุผลทางด้านกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันที่ยังไม่ลงตัวเท่าไหร่นัก ซึ่งทางบริษัทยังได้ออกมากล่าวว่าในที่สุดแล้ว การรวมกันของสองแอพลิเคชั่นดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นไปได้ในอนาคตนั่นเอง 

อย่างไรก็ตาม บริษัทซึ่งเป็นที่จับตามองอย่าง Telegram นั้นก็ไม่พ้นการตกเป็นเป้าสายตาจากฝั่งรัฐบาล โดยเฉพาะการดำเนินโครงการเหรียญ Grams บน TON Blockchain ซึ่งทางคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯได้เห็นว่าอาจเป็นโครงการที่เข้าข่ายกรณีที่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและการจดทะเบียนต่อทางคณะกรรมการ โดยในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้นโครงการดังกล่าวได้ถูกสั่งให้มีการหยุดดำเนินการเพื่อรอการวินิจฉัยต่อไป

โดยรายงานล่าสุดนั้นทางบริษัท Telegram ได้ทำการโต้แย้งแนวความเห็นของทางคณะกรรมการซึ่งพิจารณาว่าเหรียญ Grams นั้นเป็นหลักทรัพย์ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การกับกับดูแล ซึ่งในวันที่ 7 มกราคมนี้ นาย Pavel Durov ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทนั้นได้เตรียมเข้าชี้แจงในการหารือเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวต่อคณะกรรมการและศาล

ทางคณะกรรมการนั้นได้มีแนวทางการพิจารณากรณีการดำเนินการต่างๆ ว่าจะถือเป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายหรือไม่ผ่านมาตรฐานอย่าง Howey Test ซึ่งสินทรัพย์นั้นๆ จะถูกพิจารณาว่าเป็นหลักทรัพย์ก็ต่อเมื่อเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งดึงดูดนักลงทุนซึ่งลงทุนในโครงการหรือบริษัทใดๆ โดยมีแรงจูงใจเป็นผลกำไรที่จะได้รับจากการลงทุนดังกล่าวซึ่งแสดงออกโดยตัวผู้ดำเนินโครงการหรือบุคคลที่สามอื่นๆ

จุดยืนตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาของทางบริษัทเกี่ยวกับโครงการ TON ของพวกเขานั้นได้แสดงชัดเจนว่าเหรียญ Grams นั้นไม่ใช่สินทรัพย์ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมาย ซึ่งทางบริษัทได้ให้เหตุผลดังนี้

ประการแรกคือเหรียญดังกล่าวนั้นไม่ใช่สินทรัพย์ซึ่งทางบริษัทรับประกันว่าผู้ลงทุนซื้อเหรียญดังกล่าวนั้นจะได้รับผลกำไรตอบแทน ดังนั้นแล้วผู้ซื้อเหรียญดังกล่าวจึงไม่ควรที่จะคาดหวังผลกำไรจากการซื้อขายหรือถือครองสินทรัพย์ดังกล่าว

ประการต่อมาคือวัตถุประสงค์ของเหรียญซึ่งถูกตั้งเป้าหมายไว้ให้เป็นเพียงแค่สื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างผู้ใช้บริการบนเครือข่าย TON เท่านั้น

ประการสุดท้ายคือเหรียญดังกล่าวนั้นไม่ใช่สินค้าเพื่อการลงทุนซึ่งออกโดยทางบริษัท Telegram ดังนั้นแล้ว ผู้ซื้อจึงไม่อาจคาดหวังถึงผลกำไรในอนาคตจากการซื้อหรือถือเหรียญดังกล่าวนั่นเอง

ดังนั้นแล้วกรณีจึงอาจเป็นที่ถกเถียงได้ถึงนิยามความหมายดังกล่าว ซึ่งเหตุผลของทางบริษัทนั้นก็ดูจะเป็นที่ชัดเจนสำหรับมาตรฐานอย่าง Howey Test ซึ่งต้องจับตาดูกันต่อไปสำหรับการชี้แจงข้อหารือต่อศาล ซึ่งในกรณีที่เลวร้ายที่สุดนั้นคือการที่ทางบริษัทถูกพิจารณาว่าโครงการดังกล่าวนั้นเป็นโครงการเกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามกฎหมาย ทางบริษัทนั้นต้องชำระหนี้เงินลงทุนกว่า 1.7 พันล้านดอลลาร์คืนแก่เหล่านักลงทุนเลยทีเดียว 

ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ ทางบริษัทก็ยังดำเนินการโครงการดังกล่างต่อไป เนื่องจากโครงการดังกล่าวนั้นอยู่ภายใต้การดำเนินการหลักโดยบริษัทซึ่งถูกตั้งขึ้นโดยเฉพาะในชื่อ TON Labs ส่งผลให้ไม่ว่ากรณีการพิจารณาของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์นั้นจะออกมาในรูปแบบไหน โครงการดังกล่าวนั้นก็จะยังสามารถดำเนินการต่อไปได้แม้ว่าจะไม่มีการขึ้นชื่อว่าอยู่ภายใต้บริษัทชื่อดังอย่าง Telegram ก็ตาม 

ผู้แทนของทางบริษัท TON Labs อย่างนาย Mitja Goroshevsky ซึ่งเป็นทั้งผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีนั้นยังได้ออกมาแสดงความเห็นถึงการดำเนินการของทางคณะกรรมการว่าถึงแม้จะใช้ช่องทางผ่านกฎหมายในการห้ามการดำเนินการออกเหรียญ Grams ได้ แต่คงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะห้ามไม่ให้ผู้คนใช้เครือข่ายและเทคโนโลยีของ TON Blockchain ได้ ซึ่งทางบริษัท Telegram ได้กล่าวถึงโครงการดังกล่าวอย่างชัดเจนว่าเครือข่าย TON มีความโปร่งใสและเข้าถึงได้จากนักพัฒนาทุกๆ ฝ่ายเนื่องจากถูกโปรแกรมให้เป็นระบบ open-source นั่นเอง

ที่มา : Decrypt

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น