<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

รายงานเปิดเผยอาชญากรรมคริปโตสร้างความเสียหายรวมทั้งสิ้นกว่า 4 แสนล้านบาทตั้งแต่ปี 2011

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

การฉ้อฉลเงินมักเกิดขึ้นในวงการสกุลเงินดิจิตอลเสมอ ล่าสุดมีการเปิดเผยว่าแค่ในปีที่ผ่านมามีมูลค่าการเสียหายจากการหลอกและโกงรวมได้ทั้งหมดมากกว่า 1 แสนล้านบาท 

ในปี 2019 มีการโกงคริปโตโด่งดังไปทั่วโลกอยู่หลายครั้งเช่นเหรียญของ PLUS Token ที่โกงเงินนักลงทุนรวมไปทั้งสิ้นกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ ข่าวดังกล่าวส่งผลกระทบต่อราคา Bitcoin ในแง่ลบในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 มันทำให้ราคา Bitcoin ลงไปกว่า 1,300 ดอลลาร์ แต่ถึงอย่างไรก็ตามปัญหาการโกงเงินดิจิตอลก็มีมานานแล้วไม่ใช่แต่ในปี 2019 แต่อย่างใด 

หรือข่าวอื้อฉาวเรื่องเหรียญ Onecoin ที่หลอกเอาเงินนักลงทุนไปกว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐและทำการฟอกเงินหลายร้อยล้านผ่านทนายความและบัญชีในต่างประเทศ มันเกิดขึ้นในช่วงปีแรก ๆ ของ Bitcoin hype และองค์กรมันเริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เหรียญ OneCoin มีการดำเนินการในหลายประเทศ แม้จะมีการตรวจจับอยู่หลายต่อหลายครั้งแต่มันก็ยังคงดำเนินการต่อไปได้และสามารถเข้าถึงผู้ซื้อในประเทศฟินแลนด์ถึงไนจีเรียเลยทีเดียว

แม้ว่าเหรียญ OneCoin จะเป็นที่รู้จักในโลกคริปโตมาก ทำให้ผู้ถือหรือผู้สนับสนุน BTC ก็จะคอยระมัดระวังเหรียญสแกมนี้เป็นพิเศษ แต่ในมุมมองสาธารณชนกลับเชื่อเหรียญ OneCoin ซึ่งมันเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเป็นอย่างมาก

จนล่าสุดสำนักข่าว De Correspondent จึงออกมารายงานข้อมูลรวบรวมค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโจรกรรมในโลกคริปโตโดยจัดเอาการโกงที่สร้างความเสียหายครั้งใหญ่ๆ มาจัดอันดับเท่านั้นถึงแม้ว่าจะมีการโกงคริปโตในระดับย่อยเกิดขึ้นมากมายก็ตาม

การหลอกลวงเงินเกิดขึ้นตั้งแต่ตลาดคริปโตยังเป็นตลาดใหม่ในปี 2011 แล้ว และจากสถิติพบว่ามันยิ่งรุนแรงขึ้นในปีหลังๆ ตั้งแต่ปี 2011 จนถึงตอนนี้มีการคำนวณค่าความเสียหายทั้งหมดคิดเป็น 16.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กรณีการโจรกรรมคริปโตอื่นๆ ที่ถูกจัดรวมอยู่ในลิสต์คือการแฮ็คคริปโต มีการแฮ็คเว็บกระดานเทรดสกุลเงินดิจิตอลอยู่บ่อยครั้งสร้างค่าเสียหายเป็นระยะกว้างตั้งแต่ 10 ถึง 100 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วมีการจับตัวผู้กระทำผิดได้น้อยมาก นอกจากนั้นแล้วยังมีการแฮคแอคเคาท์ในระดับบุคคลอีกด้วย

ทาง De Correspondent จัดลิสต์การโกงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ 2011 ออกมาได้ 70 อันดับโดยอันดับแรกได้แก่ OneCoin สร้างความเสียหายทั้งหมดกว่า 3.6 พันล้านยูโร อันดับที่ 2 ได้แก่ PlusToken สร้างความเสียหาย 2.6 พันล้านยูโร อันดับที่ 3 คือ Bitconnect สร้างความเสียหาย 2.25 พันล้านยูโร อันดับที่ 4 คือ BTC-e ที่สร้างความเสียหายเป็น 1.3 พันล้านยูโร ทั้งสี่อันดับนี้ถือเป็นการโกงที่สร้างความเสียหายไว้มากกว่า 1 พันล้านยูโร

กลวิธีการโจรกรรมคริปโต

หลังจากนั้นทาง De Correspondent ยังจัดหมวดหมู่กลวิธีการหลอกเงินที่เคยเกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเตือนภัยให้แก่นักลงทุนด้วย ลิสต์นี้ประกอบไปด้วยวิธีการโกงหลากหลายวิธีดังต่อไปนี้

1.Exit Scam

เป็นการโกงบนเว็บเทรดสกุลเงินดิจิตอล ที่มันถูกตั้งชื่อว่า Exit ที่หมายความว่า ’ออก’ ก็เพราะผู้กระทำจะทำการเปิดเว็บเทรดสกุลเงินดิจิตอลให้นักลงทุนเข้ามาลงทุน แต่ในท้ายที่สุดเจ้าของเว็บเทรดจะนำเอาเงินของนักลงทุนและปิดเว็บไซต์หนี ตัวอย่างของกรณีนี้คือเว็บเทรดสัญชาติแคนาดา QuadrigaCX ของนาย Gerald Cotten เว็บเทรด Quadrigacx เคยเป็นเว็บเทรดสัญชาติแคนาดาที่ใหญ่ที่สุดเพราะมีปริมาณการเทรดมหาศาลซึ่งต่อมาก็มีชื่อเสียงในด้านลบเนื่องจากทางบริษัทได้ยื่นคำร้องขอปกป้องบริษัทจากการถูกฟ้องล้มละลายโดยอ้างว่านาย Gerald W. Cotten ได้เสียชีวิตลงที่อินเดียในวันที่ 9 ธันวาคมโดยไม่เปิดเผย Key ของ Cold Wallet ซึ่งมีมูลค่า CAD $190 ล้าน (หรือประมาณ US $145 ล้าน) ซึ่งสุดท้ายมีการเปิดเผยว่านาย Cotton นำเงินของนักลงทุนไปซื้อเรือยอร์ช บ้านหลังใหญ่ หรือเครื่องบินส่วนตัว ทั้งนี้มีข้อสันนิษฐานอื่น ๆ มากมายที่สงสัยว่าซีอีโอจะปลอมการตายของตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะชำระหนี้ให้กับลูกค้าของตน

2. ICO ปลอม

การเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น หรือ ICO ( Initial Coin Offering) คือการระดมทุนและลงทุนเพื่อที่จะเปิดตัวโปรเจคโครงการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทสตาร์ทอัพ โดยมีการออกเหรียญดิจิตอล (ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นมาโดยมีฐานเป็น Ethereum) มาเพื่อเสนอขายให้กับนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนในตัวโปรเจคดังกล่าว (หรือแม้กระทั่งบริษัท) กล่าวคืออาจจะคล้ายคลึงกับ IPO หรือ Initial Public Offering เพียงแต่ตัวหุ้นนั้นจะถูกแทนที่ด้วยเหรียญดิจิตอล และสามารถนำไปแลกหรือซื้อขายเป็นเหรียญสกุลอื่นๆได้อย่าง Bitcoin

การระดมทุน ICO ค่อนข้างได้รับความนิยมในหมู่สตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยี บล็อกเชน ซึ่งการขายเงินดิจิตอลแบบนี้ดูเหมือนจะสร้างกำไรได้ดีกว่าและเร็วกว่าการระดมทุนด้วยหุ้น เนื่องจากการใช้เหรียญ cryptocurrency ที่มีความรวดเร็วในการโอน ใครจะซื้อก็สามารถซื้อได้ แค่เข้าไปในเว็บซื้อขายและโอนเหรียญ Ethereum ของผู้ลงทุนเข้าไป แค่นี้ก็ได้เหรียญ ICO ของบริษัทนั้นๆมาแล้ว โดยที่ไม่ต้องมีการลงทะเบียนหรือเซ็นสัญญาอะไรให้ยุ่งยาก ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในระดับที่รวดเร็วมาก

แต่การลงทุน ICO นั้นเต็มไปด้วยความเสี่ยง

ICO ได้รับความนิยมตั้งแต่ปี 2017 และโปรเจ็คจำนวนมากล่มไปในปี 2018 นอกจากนั้นมันยังทำให้เกิดการหลอกเงินหลายครั้ง มีสร้างโปรเจ็คต์และออก ‘white paper’ เอกสารระบุเป้าหมายของ ICO ออกมาอย่างสวยหรูด้วยผลตอบแทนอันมหาศาล และในท้ายที่สุดผู้กระทำผิดก็หนีไปพร้อมกำเงินลงทุนของเหยื่อ ในปี 2017 – 2018 พบว่า 80 เปอร์เซ็นของ ICO เป็นการหลอกลวงเอาเงิน เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกที่ ICO เริ่มได้รับความนิยมน้อยลงแล้วในปี 2019

3.การตลาดแบบลำดับขึ้นปีรามิดลูกโซ่

กลวิธีคือวิธีที่นาง Ruja Ignatova หลอกเงินจากนักลงทุนทั่วโลกไปกว่า 3.6 พันล้านยูโรด้วยเหรียญจอมปลอมอย่าง Onecoin ตัวเหรียญถูกสร้างขึ้นในปี 2016 และเธอโปรโมตว่ามันจะเหรียญที่ได้รับความนิยมและสร้างผลกำไรให้ผู้ที่ลงทุรนอย่างมหาศาล

แต่ถึงอย่างไรก็ตามจริงๆ แล้วเหรียญ Onecoin นั้นแทบจะไม่เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิตอลเลย มันไม่ใช่บล็อคเชนและไม่มีตลาดเลยด้วยซ้ำ ในความเป็นจริงมันทำงานภายใต้ระบบแบบลำดับปีรามิดที่จูงให้สมาชิกลงทุนคอยหานักลงทุนมาเพิ่มเป็นลูกโซ่ คนที่หานักลงทุนมาได้จะได้ผลตอบแทนมากทำให้คนที่อยู่สูงในลำดับลูกโซ่ได้เงินมากขึ้นเรื่อยๆ มีผู้ลงทุนใน Onecoin หลายล้านคนทั่วโลกเพราะแต่ละคนต่างคอยชักชวนให้คนรอบตัวลงทุนกับพวกเขาด้วย มันเริ่มแพร่กระจายจากยุโรปไปยังอเมริกา แอฟริกาและเอเชียในที่สุด

ในปี 2017 นาง Ruja Ignatova หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยจนถึงทุกวันนี้ สิ่งที่ตามมาคือการจับตัวผู้ร่วมงานของเธอและการไต่สวนนับไม่ถ้วนที่กินเวลาเป็ระยะเวลานาน สิ่งที่เป็นความจริงสำหรับปรากฎการณ์ฉ้อฉลครั้งนี้คือมันเป็นการโกงคริปโตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

4.การโจรกรรมคริปโตที่เกิดขึ้นในรูปแบบโจรกรรมกรรมทั่วไป

กลวิธีนี้เป็นกลวิธีที่เกิดขึ้นในประเทศไอซ์แลนด์ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีธุรกิจการขุดคริปโตจำนวนมหาศาล ประเทศไอซ์แลนด์เป็นประเทศที่มีอากาศหนาวเหมาะแก้การตั้งเครื่องเซฺร์ฟเวอร์ mining และนอกจากนั้นยังมีการควบคุมความปลอดภัยที่ต่ำเพราะเป็นประเทศที่มีสถิติโจรกรรมต่ำมาก มีการว่าจ้างโจรกรรมให้เข้าไปขโมยเครื่องเซิร์ฟเวอร์จากธุรกรรมการขุดคริปโตเพื่อที่ผู้กระทำผิดจะเอามาใช้ประโยชน์เอง

นอกจากนั้นแล้วยังมีกลวิธีอื่นๆเช่นการบิดเบือนข้อมูลโดยหน่วยลับของรัฐบาล การปล้นซิมการ์ดที่มีเงินคริปโตจำนวนมหาศาล หรือการโจรกรรมคริปโตโดยเกาหลีเหนือจากเกาหลีใต้ที่คิดค่าเสียหายได้ถึง 2 พันล้านยูโร มีการคาดการณ์ว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือนำเงินที่ได้ไปลงทุนในการทดลองนิวเคลียร์ของประเทศ

ถึงแม้หลายวิธีที่เกิดขึ้นก็เป็นวิธีที่มักเกิดขึ้นในตลาดอื่นที่ไม่ใช่สกุลเงินดิจิตอลด้วย แต่บางทีตลาดสกุลเงินดิจิตอลเองก็อาจจะยังใหม่เกินกว่าที่จะหามาตรการรับมือกับมันได้อย่างทันท้วงที

เราต้องหวังว่าในปี 2020 จะมีเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาระดับความปลอดภัยและสร้างเสริมความน่าเขื่อถือของตลาดให้มากขึ้น ส่วนตัวนักลงทุนเองก็ต้องคอยระมัดระวังการหลอกเงินเพื่อรักษาเงินทุนของตัวเองให้ปลอดภัย

ข้อมูลการจัดอันดับจาก decorrespondent

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น