<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ก.ล.ต. สหรัฐฯ เผยหลักฐานว่า Telegram ยังคงขายเหรียญโทเคนต่อ แม้ระดมทุน ICO จบแล้ว

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในคดีการฟ้องร้องบริษัท Telegram เมื่อวันศุกร์ที่มาทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา (SEC) ได้แสดงหลักฐานที่กล่าวหาว่าบริษัท Telegram ยังคงขายเหรียญโทเค็นต่อหลังจากที่จบรอบการขายเหรียญระดมทุนโปรเจคเริ่มต้น ICO ไปแล้ว 

อ้างอิงจากใบแจ้งหนี้ที่นำเสนอโดย ก.ล.ต. ที่เผยว่าบริษัท Da Vinci Capital นั้นได้เทขายหุ้นเป็นมูลค่ากว่า 2 ล้านดอลลาร์ให้กับกองทุนที่บริหารโดยบริษัท ITI Funds ในวันที่ 20 มิถุนายน 2018 บริษัท Gem Limited ได้เทขายเหรียญโทเค็น ‘Gram’ ไปเป็นมูลค่ากว่า 7.8 ล้านยูโร (8.6 ล้านดอลลาร์) ให้แก่บริษัทชื่อ Goliat Solutions และขายโทเค็นเป็นมูลค่าอีกกว่า 4.5 ​​ล้านดอลลาร์ให้กับบริษัท Space Investments Limited เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2018 ที่ผ่านมา

การซื้อขายทั้งสองครั้งเกิดขึ้นหลังจากที่มีการเสนอขายเหรียญระดมทุนโปรเจคเริ่มต้น ICO ของ Gram ไปแล้ว ซึ่งทาง Telegram อ้างว่าบริษัทได้รับการยกเว้นจากการจดทะเบียนหลักทรัพย์ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับ D ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2018

กลต. ได้ยื่นเอกสารดังกล่าวต่อศาลทางตอนใต้ของนิวยอร์ก เพื่อสนับสนุนข้อกล่าวหาว่ามีการขายเหรียญ Gram อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน แต่ทาง Telegram นั้นได้ออกมาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

“เอกสารเหล่านี้ล้วนแต่บ่อนทำลายการอ้างสิทธิ์ของ Telegram ที่ได้ยืนยันแล้วว่าการเสนอขาย  ICO นั้นได้รับการยกเว้นภายใต้ข้อกฎเรียบบังคับ D. ประการแรกคือ Telegram นั้นมีการระดมทุนเหรียญ Gram เป็นมูลค่ามากกว่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงเกินกว่าที่ได้รับการยกเว้น ประการที่สองคือ Telegram ไม่ได้มีการระดมทุนมูลค่าที่สูงถึง 1.7  พันล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 29 มีนาคม 2018 และอาจมีการระดมทุนในภายหลังผ่านทางผู้จัดจำหน่าย” อ้างอิงข้อมูลจากเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. 

อย่างไรก็ตามข้อโต้แย้งของ ก.ล.ต. นั้นหมายความว่าภายใต้ข้อกฎระเบียบข้อบังคับ D ผู้ออกหลักทรัพย์ควรมีการดำเนินงานที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจได้ว่าผู้ซื้อไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการจัดจำหน่ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย (ไม่ได้ขายหลักทรัพย์โดยมีค่านายหน้า) ในขณะที่ทาง Telegram ก็ได้ให้เหตุผลว่าค่าคอมมิชชั่นเหล่านี้ล้วนแต่เป็นค่าธรรมเนียมตัวกลางที่มอบให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่คนของสหรัฐสำหรับการแนะนำเหรียญโทเค็น Gram ให้กับนักลงทุนรายอื่น นาย Philip Moustakis ที่ปรึกษาของ Seward & Kissel และที่ปรึกษาอาวุโสของกลต กล่าว

ก่อนหน้านี้ทางก.ล.ต. ได้สั่งฟ้องบริษัท Telegram ในเดือนตุลาคม 2019 โดยสั่งให้หยุดการเปิดตัวโปรเจคเหรียญคริปโต TON ซึ่งการเผชิญหน้ากันครั้งต่อไประหว่างหน่วยงานกลต. และบริษัท Telegram นั้นถูกกำหนดให้นัดเจอกันอีกครั้งในศาล ในวันที่ 18-19 ก.พ.นี้

แต่ในระหว่างนี้ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ขอบันทึกการทำธุรกรรมทางธนาคารทั้งหมดของบริษัท Telegram ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายโทเค็นของพวกเขา โดยในวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา Telegram ได้ขอให้ผู้พิพากษายืดเวลาจัดการเตรียมเอกสารออกไปเป็นเวลา 5-7 สัปดาห์เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดความเป็นส่วนตัวของบริษัทในระหว่างนี้

ที่มา coindesk

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น