<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ค่าธรรมเนียมอันสูงลิบของ Bitcoin เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาพุ่งอย่างรุนแรงหรือไม่

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ถึงแม้ว่าการได้รับการยอมรับโดยคนส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความต้องการ Bitcoin เพิ่มขึ้นในตลาด แต่ดูเหมือนว่าค่าธรรมเนียมอันสูงลิบของมันนั้นอาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาของมันเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้หากอ้างอิงจากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์

ราคา Bitcoin ทะยานรับปี 2020

2020 นั้นเป็นหนึ่งในปีที่น่ายินดีสำหรับนักลงทุนคริปโต และเป็นหนึ่งในปีที่เริ่มต้นได้ดีที่สุดในรอบ 7 ปีได้ อ้างอิงจาก CoinMarketcap ในขณะที่รายงานอยู่นี้ Bitcoin มีราคาที่ประมาณ 10,300 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากต้นปีที่ระดับ 7,200 ดอลลาร์

ราคาของทั้ง Bitcoin เองและคริปโตอื่น ๆ นั้นก็มีผลมาจากหลายปัจจัย เช่นการปรับตัวก่อนที่เหตุการณ์สำคัญอย่างการ Halving จะเกิดขึ้น และความต้องการของสถาบันการเงินใหญ่ ๆ ที่มากขึ้นด้วย

ล่าสุด นาย Mati Greenspan นักวิเคราะห์ชื่อดัง ได้ชี้ว่า นโยบายด้านการเงินทั่วโลกในตอนนี้เป็นส่วนที่ทำให้ตลาดคริปโตกำลังเกิดฟองสบู่ด้วย

แน่นอนว่า การได้รับการยอมรับโดยคนส่วนมากหรือ Mass Adoption นั้นอาจจะไม่ค่อยส่งผลต่อราคามันมากเท่าไรนัก ถ้าเราวัดการได้รับการยอมรับจากจำนวนธุรกรรมของเครือข่าย Bitcoin ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันนี้จาก Blockchain.com จะมีข้อมูลเผยว่าในปี 2020 นี้ก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก

ทฤษฎีของ Fisher

ในปี 1911 นาย Irving Fisher นักเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Yale University ได้กล่าวไว้ว่า:‘ถ้าสิ่งอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง และจำนวนเงินทั้งหมดในระบบเพิ่มขึ้น ระดับราคาก็จะเพิ่มขึ้นด้วยในอัตราส่วนโดยตรง และมูลค่าของเงินก็ลดลง ซึ่งเป็นไปในทางตรงกันข้ามได้เช่นกัน“

เขาได้สร้างสมการอันเลื่องชื่ออย่าง MV = PT ที่ M เท่ากับจำนวนเงินในระบบ, V = ความคล่องตัวของเงิน, P คือระดับราคาของสินค้าและบริการ และ T คือจำนวนของสินค้าและบริการ

จากสมการของ Fisher นั้น จำนวนเงินในระบบได้โชว์ให้เห็นว่า จำนวนเงินระบบคูณกับความถี่ที่เงินเจ้าของจะเท่ากับรมูลค่าของสินค้าและบริการคูณด้วยจำนวนของสินค้าและบริการนั้น

หากนำทฤษฎีดังกล่าวมาใช้กับโลกคริปโต นาย Joseph C Wang ได้สร้างโมเดลราคาสำหรับ Bitcoin ขึ้นมาด้วยทฤษฎีของ Fiasher ซึ่งจะออกมาได้เป็น MV = PQ แทน

มีการปรับเปลี่ยนสมการเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับคริปโตมากขึ้น ซึ่งค่าอื่น ๆ เหมือนเดิมหมดยกเว้น T ที่เปลี่ยนเป็น Q ที่เป็นตัวแทนของ มูลค่าของการทำธุรกรรมแต่ละครั้งในเครือข่าย แทน

สำหรับ Bitcoin นั้น M คือจำนวน Bitcoin ทั้งหมดในระบบตอนนี้, V คือมูลค่าตลาดของมัน

จากทฤษฎีของ Fisher แล้ว เมื่อใดก็ตามที่เงินเปลี่ยนมือบ่อย เมื่อนั้นเงินสกุลนั้นก็จะมีมูลค่าน้อยลง ซึ่งสำหรับคริปโตแล้ว แปลว่าการที่โทเคนนั้นถูกโอนมากเท่าไร มันก็จะมีมูลค่าน้อยลงเท่านั้นนั่นเอง

นาย Wang ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าราคาของ Bitcoin นั้นมีคงามเกี่ยวโยงกับมูลค่าของมัน:

“ราคาของ Bitcoin นั้นมีผลกระทบอย่างชัดเจนจากการที่ผู้ถือ Bitcoin จะเก็บมันไว้ และไม่นำมันไปใช้งาน โมเดลนี้ได้ทำนายว่า ถึงแม้ Bitcoin ถูกใช้งานมากขึ้น แต่มันจะไม่ได้ส่งผลให้มูลค่าของมันเพิ่มขึ้นตาม”

ทฤษฎีของ Fisher ทำให้เกิดข้อโต้แย้งในมูลค่าของ Ripple

ในปี 2019 นาย Brad Garlinghouse CEO ของ Ripple ได้กล่าวในงาน World Economic Forum ที่ Davos ว่า:

“มูลค่าในระยะยาวของสินทรัพย์ดิจิทัลใดก็ตามนั้นจะเกิดมาจากประโยชน์ที่มันสามารถทำได้”

คำกล่าวของนาย Garlinghouse นั้นตั้งใจที่จะเล็งเป้าไปยัง Bitcoin เนื่องจาก XRP นั้นเป็นคริปโตที่ Scale ได้ดีกว่า, โอนไวกว่า และมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า แต่ผู้สนับสนุน Bitcoin ก็ยังแย้งในข้อนี้อยู่ดีว่า ประโยชน์ของ Bitcoin จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไปนั่นเองจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัท Square ของนาย Jack Dorsey ผู้สร้าง Twitter เองก็จะเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการพัฒนาครั้งนี้ของ Bitcoin ในฐานะเงินออนไลน์เนื่องจากบริษัทเพิ่งจะจดสิทธิบัตรการเป็นเทคโนโลยีทำธุรกรรมแบบ Second Layer ด้วยคริปโตไป

ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าค่าธรรมเนียมของการทำธุรกรรม Bitcoin นั้นเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดตามราคาของมัน และค่าธรรมเนียมอันสูงนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการทำธุรกรรมในเครือข่ายน้อยลง ซึ่งถ้าหากเป็นไปตามแนวคิดของ Fisher แล้วล่ะก็ ราคาของ Bitcoin ต้องเพิ่มขึ้น

ที่น่าสนใจคือในช่วงปลายปี 2017 ที่ Bitcoin ไปแตะจุดสูงสุดที่ระดับเกือบ 20,000 ดอลลาร์ ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม Bitcoin ในช่วงนั้นก็แพงมากเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม นั่นก็เป็นเพียงแค่ทฤษฎีที่ตอนนั้นยังมีแค่เงิน Fiat เท่านั้น ไม่แน่ว่าการมาถึงของคริปโตอาจทำให้เห็นอะไรที่แตกต่างก็ได้ เพราะสกุลเงิน Fiat นั้นไม่ได้มีระบบแปลก ๆ เช่นการ Halving อย่างที่ Bitcoin มี รวมทั้งยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ไม่รู้ว่าในอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นอีก ทำให้ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างมั่นใจว่าทฤษฎีนี้แม่นยำขนาดไหน

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น