<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

4 สาเหตุที่การ lockdown ตลอดทั้งปี 2020 นี้จะเป็นผลดีต่อราคา Bitcoin

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ปัจจุบันเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แพร่ระบาดไปอยู่ในทุกประเทศทั่วโลกอย่างรวดเร็ว หลายประเทศได้ประกาศการ Lockdown เพื่อปิดการเดินทางเข้า-ออกประเทศเป็นการชั่วคราว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั่วโลก แต่ถึงกระนั้นการ lockdown ในครั้งนี้ก็อาจจะส่งผลดีต่อราคา Bitcoin ด้วยเช่นกัน

คนอยู่บ้านนานขึ้น มีเวลาเทรดมากขึ้น

อย่าลืมใส่หน้ากาก ก่อนเล่นคอมฯนาน ๆ - ห้องนั่งเล่น - ThaiHostTalk.com

การประกาศ Lockdown ของแต่ละประเทศนั้นจะส่งผลทำให้ทุกคนไม่ออกเดินทางและกักตัวอยู่ที่บ้าน ดังนั้นการกักตัวจะทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกและส่งผลให้ทุกคนเข้ามาหาวิธีทำกำไรหรือหารายได้เสริมในช่วงที่พวกเขาอยู่บ้าน เช่นการเทรดหุ้นหรือคริปโต

ซึ่งเมื่อมีผู้คนเริ่มหันมาเทรดคริปโตกันเพิ่มมากขึ้น วอลุ่มในตลาดและความต้องการซื้อคริปโตก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

การใช้คริปโตแทนเงินสดในช่วงวิกฤต

ปริมาณคู่เทรดเงินเยนของญี่ปุ่นกับ Bitcoin ได้แซงหน้าคู่เทรดสกุล ...

ก่อนหน้านี้ทางสยามบล็อกเชนได้มีการรายงานไปแล้วว่า Bitcoin และคริปโตสามารถลดการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าได้ ด้วยการใช้แทนเงินสด

การแลกเปลี่ยนสกุลเงิน Bitcoin และ cryptocurrency ตัวอื่น ๆ อย่างเช่น ETH, XRP และ LTC นั้นเป็นการชำระเงินแบบ ‘trustless’ อย่างแท้จริง ซึ่งผู้ใช้งานเพียงแค่สแกนรหัส QR Code ที่ฝังอยู่บนกระเป๋าคริปโตของผู้รับเงินเท่านั้น ก็จะสามารถทำการแลกเปลี่ยนเงินกันได้อย่างง่ายดาย

ดังนั้นไม่ว่าเป็นการชำระเงินโดยตรงผ่านการใช้กระเป๋าคริปโตหรือผ่านทางผู้ให้บริการ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ช่วยลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Corona บนธนบัตรทั้งสิ้น ซึ่งนี่อาจส่งผลทำให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสของผู้คนทั่วโลกนั้นลดน้อยลง 

และเมื่อผู้คนในหลาย ๆ ประเทศเริ่มมีการใช้ คริปโตเคอเรนซี่กันมากขึ้น ความต้องการและมูลค่าของมันก็จะเพิ่มขึ้นตามไปโดยปริยาย

Fed ปั๊มเงินแบบไม่จำกัด 

The Feds Are Lying To You About Inflation

เมื่อไม่นานมานี้ ธนาคารกลางของสหรัฐหรือ Fed เพิ่งได้ประกาศใช้มาตรการ QE แบบไม่จำกัด หรือ “Unlimited QE” และยังบรรลุข้อตกลงสำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 2 ล้านล้านดอลลาร์อีกด้วย

นโยบาย Unlimited QE ของ Fed นั้นจะนำมาซึ่งการรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ในวงเงินที่ไม่จำกัด จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Fed ได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ในวงเงิน 3.75 แสนล้านดอลลาร์ และ MBS วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์ตามลำดับ

ดูเหมือนว่าเหตุการณ์นี้จะส่งผลให้ราคา Bitcoin พุ่งขึ้นไปเกือบทำลายแนวต้านที่ระดับ 7,000 ดอลลาร์ ในวันที่ 26 มีนาคม หลังจากการประกาศเพิ่มเงินอัดฉีดของ Fed

นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด นาย Ronnie Moas ยังได้แสดงความคิดเห็นในโพสต์ Twitter เกี่ยวกับการพิมพ์เงินขึ้นมาจำนวนเป็นมากที่อาจก่อให้เกิดความความกลัวต่อภาวะเงินเฟ้อตามมาในภายหลัง ซึ่งนั่นจะช่วยผลักดันการยอมรับให้กับ Bitcoin ในอนาคต

เหตุการณ์เช่นนี้เราเคยได้เห็นมาแล้วหลายครั้งไม่ว่าจะในประเทศจีน , ในช่วงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน , เวเนซุเอล่า และการชุมนุมที่ฮ่องกง ซึ่งเราได้เห็นผู้คนมากมายพยายามโอนเงินผ่านช่องทางของ Bitcoin และ Crypto ตัวอื่น ๆ ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามันมีประสิทธิภาพอย่างมากในกรณีแบบนี้ และมันก็อาจจะเป็นทางออกที่เหมาะสมในช่วงเวลานี้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อโลกทั้งโลกกำลังได้รับผลกระทบและรัฐบาลกำลังพยายามโอบอุ้มเศรษฐกิจของพวกเขาเอาไว้ด้วยการใช้มาตราการ QE

Bitcoin Halving

Bitcoin Halving: a Harbinger of a Bull Market or Coincidence?

แม้ว่าในปัจจุบันโลกยังคงอยู่ในช่วงวิกฤตและไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นตัวเร็ว ๆ นี้ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับตลาดคริปโตยังคงมีข่าวดีที่ทุกคนรออยู่อีกหนึ่งเหตุการณ์นั่นก็คือ Bitcoin Halving 

เหตุการณ์ Bitcoin Halving จะเป็นการปรับรางวัลของนักขุดลงครึ่งหนึ่งจากปัจจุบัน 12.5 btc ไปเป็น 6.25 ซึ่งคาดว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 13 พฤษภาคมอ้างอิงตามหมายเลขบล็อกในปัจจุบัน ดังนั้นหมายความว่าจำนวน supply ของ Bitcoin นั้นก็จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 2% ต่อปี และจะลดลงจนเหลือน้อยกว่า 1% หลังจากปี 2024 ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับอัตราเฉลี่ยของการเพิ่มขึ้นของ supply ของทองคำ

ในขณะที่ FED พิมพ์เงินดอลลาร์อย่างไม่จำกัด ในขณะเดียวกัน Bitcoin ก็กำลังอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญที่จะกลายเป็นสินทรัพย์ที่เก็บรักษามูลค่าได้ดีที่สุดและไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ล้วนแต่จะส่งผลดีต่อราคาของ Bitcoin ในอนาคตทั้งสิ้น

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น