<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ทำไมผู้เขียนหนังสือพ่อรวยสอนลูกถึงเชื่อใน Bitcoin

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ผู้เขียนหนังสือ “Rich Dad Poor Dad” หรือพ่อรวยสอนลูกได้กลายมาเป็นแฟนพันธุ์แท้ Bitcoin แล้วตามที่เราได้เห็นทวิตเตอร์หรือบทสัมภาษณ์ของเขาที่ได้กล่าวในแง่บวกต่อ Bitcoin โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเขาได้เคยออกมากล่าวว่า Bitcoin นั้นคือเงินของประชาชน (People’s money) 

นอกจากนั้นแล้วเขายังโปรโมททองคำและเงินอีกด้วย แล้วเหตุผลของเขาคืออะไรล่ะ? ง่ายๆ เลยคือการที่ Fed เริ่มใช้มาตรการมากขึ้นเรื่อยๆ ในการเยียวยาเศรษฐกิจซึ่งทำให้ตัวเขาตั้งคำถามว่าการที่ Fed สูบฉีดเงินมหาศาลเช่นนี้มันจะทำให้ Fed “ถังแตก” หรือไม่?

ทำไมนาย Robert Kiyosaki ถึงเชื่อใน Bitcoin   

หลังจากที่เกิดเหตุการณ์โคโรนาไวรัสแพร่ระบาดก็ทำให้รัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกพยายามที่จะบรรเทาผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์ครั้งนี้ Fed ก็เร่งพิมพ์เงินจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์ ช่วยบริษัทต่างๆ และฉีดสภาพคล่องเข้าตลาดทุน

จากมาตรการดังกล่าวของรัฐทำให้นาย Kiyosaki ตั้งคำถามว่า Fed ถังแตกแล้วหรือเปล่า Fed คอยช่วยปลุกปั้นเศรษฐกิจมาตลอด แล้วใครช่วย Fed? นี่คือคำถามที่เขาตั้งดังนั้นเขาจึงผลักดันให้คนซื้อทองคำและ Bitcoin มากขึ้น

มองได้ว่านาย Kiyosaki นั้นเชื่อว่าโลหะที่มีค่าอย่างทองคำหรือ BTC ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยจำนวนจำกัดนั้นมีมูลค่ามากกว่าไม่เหมือนกับเงินสดที่สามารถพิมพ์ขึ้นมาได้เรื่อยๆ ซึ่งทำให้โลหะที่มีค่าและ Bitcoin มันเป็นการลงทุนเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อได้ดี

แล้วมันจะส่งผลต่อราคาอย่างไร?

นาย Kiyosaki เชื่อว่าการที่ Fed ออกมาใช้มาตรการสูบฉีดเงินเข้าระบบเช่นนี้มันส่งผลดีต่อ Bitcoin แต่ก็ไม่ได้บอกว่าราคามันจะพุ่งหรือไม่

ด้านของนาย Arthur Hayes ซีอีโอของ BitMEX นั้นเชื่อว่า BTC กำลังมุ่งหน้าสู่ระดับราคา $20,000 ภายในสิ้นปีนี้ เขามองว่ารัฐออกมาใช้นโยบายเช่นนี้มันจะส่งผลทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมาซึ่งทำให้การลงทุนในทองคำและ Bitcoin นั้นมีมูลค่ามากกว่า

บางคนมองในแง่ดีกว่านั้น เช่น นาย Chamath Palihapitiya ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บริหารที่เก่าแก่ที่สุดของ Facebook และ CEO ของ Social Capital ได้กล่าวในบทสัมภาษณ์ล่าสุดกับนาย Anthony Pompliano ว่าเขาคิดว่าราคา BTC อาจมีมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ดเลยทีเดียวโดยเฉพาะในช่วงที่ธนาคารกลางพยายามหาวิธีขจัดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือภาวะเงินฝืด

ที่มา : bitcoinist

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น