<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

วิธีดูว่าโปรเจ็คไหนจะเป็นเหมือน Celsius ก่อนที่จะสายเกินไป

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

การล้มละลายของแพลตฟอร์มกู้ยืมเงิน Celsius เป็นฝันร้ายสำหรับนักลงทุน ทำให้ไม่สามรถกู้คืนเงินทุนของพวกเขาได้ทั้งหมด นอกจากนี้เหรียญของแพลตฟอร์มก็เทียบจะไร้ค่า

ช่วงนี้มีฝันร้ายของนักลงทุนเกิดขึ้นหลายทั้ง ทั้งในโปรเจ็ค Terra และ Celcius ในบทความนี้จะมาพูดถึงว่า อะไรสัญญาณที่จะทำให้เกิด Next Celsius แล้วจะทำให้เรารู้ว่าโปรเจ็คไหนจะล้มสลายเหมือนกับ Celsius 

อย่างไรก็ คนที่อยู่ในวงการหลายคนบอกว่า เวลาจะเกิดเรื่องร้าย ๆ มันจะมีสัญญาณบางอย่างบอกให้เรารู้เสมอ แต่ในขณะเดียวกันการกระจายความเสี่ยงก็สำคัญ เนื่องจากในอนาคตเราไม่รู้ว่าโปรเจ็คไหนทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง

สัญญาณของ Celsius

นักวิจารณ์เกือบทุกคนมองว่าสัญญาณหลัก ๆ ว่ามันจะมีปัญหาก็คือ การให้ผลตอบแทนที่สูงกวาปกติ เหมือนกับของโปรเจ็ต Terra การให้ผลตอบแทนที่ดูดีเกินไป อาจจะมีความเสี่ยงได้ในระยะยาว

นาง Susannah Streeter นักวิเคราะห์การลงทุนและการตลาดอาวุโสของ Hargreaves Lansdown กล่าวว่า “อย่างน้อยที่สุด โปรเจ็ค Celsius ก็แสดงให้เห็นถึงการขาดความรอบคอบในการให้กู้ยืมเงินของผู้ฝากเงินจำนวนมากเพื่อการเก็งกำไรเป็นจำนวนมาก และวิธีการในการทำกำไรของพวกเขาเป็นเหมือนกับการแชร์ลูกโซ่”

เธอยังแนะนำว่าควรสงสัยในการทำเงินของแพลตฟอร์มนี้ ในทำนองเดียวกัน นาย Marcus Sotiriou นักวิเคราะห์ของ GlobalBlock ยังระบุว่า การให้ผลตอบแทนสูงเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญของแพลตฟอร์มที่อาจจะมีความเสี่ยง และเขาได้บอกกับสื่อ cryptonews ว่า

“แพลตฟอร์ม Celsius ให้ผลตอบแทนมากถึง 17% และเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเท่านี้ หมายความว่าพวกเขาจะต้องรับความเสี่ยงอย่างมากกับเงินลงทุนของลูกค้า และหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ล้มละลายก็คือ การนำเงินทุนของลูกค้าเพื่อเข้าสู่วงกร DeFi

“ปัญหาใหญ่ก็คือ หากนักลงทุนถอนสภาพคล่องเร็วกว่าที่นักลงทุนฝาก แพลตฟอร์มอาจมีความเสี่ยงที่จะมีสภาพคล่องไม่เพียงพอที่จะให้ลูกค้าถอนเงินทุนคืนได้ และแน่นอนว่าโลก DeFi ไม่สามารถรู้ได้ว่าพวกเขาทำอะไรกับเงินทุนของผู้ใช้ แต่ผู้ใช้ก็ควรพยายามค้นหา หือไม่ก็ควรหลีกเลี่ยง”

“นอกจากความผันผวนตามธรรมชาติของตลาดคริปโตแล้ว ผู้ใช้งานยังต้องระวังการแฮ็กและความผิดพลาดทางเทคนิคอื่น ๆ ซึ่งแพลตฟอร์ม Celsius ก็ทำให้ผู้ใช้งานได้เจอกับมันเต็ม ๆ”

นาย Marcus Sotiriou ได้กล่าวต่อว่า “โดยเริ่มจากเหตุการในเดือนมิถุนายน 2021 Celsius ได้ถูกแฮ็กเงินไปจำนวน 35,000 ETH หรือประมาณ 58.8 ล้านดอลลาร์ถ้าเทียบกับตอนนี้ และสูญเสียเงินจากการถูกแฮกโปรโตคอล BadgerDAO ไปประมาณ 22 ล้านดอลลาร์  ”

ความเสี่ยงในโลกคริปโต

น่าเสียดายที่นักวิเคราะห์หลายคนยังบอกว่าความเสี่ยงในโลกคริปโตนั้นเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากหลายคนยังไม่เข้าใจมัน และทำให้การดูว่าโปรเจ็คไหนจะล้มเหมือนกับ Celsius นั้นยาก โดยนาย Ben Caselin หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกลยุทธ์ของบริษัทกระดานเทรด AAX ของฮ่องกงกล่าวว่า

“นวัตกรรมส่วนใหญ่ที่เราเห็นเกี่ยวกับ Cryptocurrency ยังคงเป็นตัวทดลอง และมีเพียงผู้คนเพียง 5% ของโลกเท่านั้นที่เข้าถึง ทำให้ฐานสภาพคล่องยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะทนต่อความเครียดที่รุนแรงของตลาด และการที่มี Cryptocurrency มากกว่า 20,000 สกุล จะทำให้ความเสี่ยงมันมากกว่าที่ควรจะเป็น”

และการพึ่ง Leverage ที่สูงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การลงทุนในโลกคริปโตมีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในด้านอื่นๆ

“Cryptocurrency มีความเสี่ยงในตัวมันอยู่แล้ว และต้องจัดการกับความเสี่ยงอย่างระมัดระวัง แต่ก็มีหลายบริษัทที่กู้ยืมเงินและใช้ Leverage สูง ๆ ในการลงทุน”

นาย Marcus Sotiriou ได้กล่าวเสริมว่า “สิ่งนี้เป็นเหมือนกับเชื้อไวรัส ที่เมื่อมีแพลตฟอร์มนึงได้รับผลกระทบแล้ว ก็จะมีผู้ใช้งาน หรือว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ”

อนาคตจะต้องโปร่งใสกว่านี้

ในทางกลับกันไม่ใช่การเกิดผลกระทบแบบเป็นลูกโซ่ไม่ได้เกิดแต่เพียงโลกคริปโตเท่านั้น ระบบการเงินแบบดั้งเดิมก็เกิดเช่นกัน แต่ทางบริษัทการเงินของระบบดั่งเดิมทำงานได้ดีในหลีกเลี่ยงการล้มละลายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพราะว่ามีการจัดการกับความเสี่ยงที่เข้มงวด

“การเกิดผลกระทบแบบเป็นลูกโว่ไม่ได้เกิดเฉพาะในโลกคริปโตเท่านั้น แต่เกิดในระบบการเงินปกติ ตัวอย่างเช่น การล้มละลายของกองทุนป้องกันความเสี่ยง Archegos Capital Management ที่ทำให้เกิดการสูญเสียเงินกว่าหลายพันล้านดอลลาร์ และมีหลายบริษัทได้รับผลกระทบ แต่ในทางกลับกันการบริหารความเสี่ยงในบริษัทเหล่านั้นเหนือกว่าแนวทางปฏิบัติในบริษัทคริปโตหลายแห่ง และทำให้สำหรับส่วนใหญ่นั้นสามารถควบคุมความสูญเสียไว้ได้”

ด้วยเหตุนี้ โลกคริปโตจำเป็นต้องปรับปรุงวิธีปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงอย่างมาก ทำให้มีความเข้มงวดและเป็นระบบมากขึ้นเพื่อความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบในวงกว้าง

นอกเหนือจากการจัดการความเสี่ยงที่ดีขึ้นแล้ว บางคนยังต้องการเห็นหน่วยงานกำกับดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องนักลงทุนรายย่อย โดยนาง Susannah Streeter ได้กล่าวว่า

“การล้มละลายครั้งล่าสุด จะผลักดันให้หน่วยกำกับดูแลเริ่มกำหนดกฏเกณฑ์ในโลกคริปโตให้มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่านักลงทุนรายย่อยจะถูกป้องกันจากการถูกชักจูงให้สูญเสียเงินของพวกเขา”

สำหรับนักลงทุนรายย่อยก็มีบางสิ่งที่สามารถทำได้เพื่อลงความเสี่ยงที่จะไปเจอกับโปรเจ็คแบบ Celsius โดยนาย Marcus Sotiriou ได้บอกว่า

“ในความคิดของผม นักลงทุนทั่วไปควรกระจายความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบจากการล้มละลาย และนอกจากนี้นักลงทุนควรตั้งคำถามกับแพลตฟอร์ม DeFi หรือ CeFi ว่าพวกเขาหาเงินจากอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผลตอบแทนมากกว่า 5% – 10%”

นอกจากนี้นักลงทุนควรตรวจสอบว่าแพลตฟอร์มที่พวกเขาลงทุน เอาเงินของพวกเขาไปทำอะไร และถ้าแพลตฟอร์มนั้นไม่ได้มีการเปิดเผยสิ่งนี้อย่างชัดเจนและโปร่งใสบนเว็บไซต์ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยง

Source : cryptonews