<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Telefonica เจ้าพ่อโทรคมนาคมในสเปนจับมือ Chainlink เพื่อใช้ web3 ในการป้องกันการฉ้อโกงใน SIM Swap

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในวันนี้ Telefónica  บริษัทคมนาคมยักษ์ใหญ่ของสเปน ได้ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกับ  Chainlink Labs  ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเครือข่าย  Blockchain Oracle  เพื่อให้ Smart contracts สามารถเข้าถึงข้อมูลจาก Sim Swap API 

บ่อยครั้งที่เหล่า Scamer มักใช้การสลับซิมเพื่อรับรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียวเพื่อแฮ็กบัญชีของแพลตฟอร์มโซเซียลมีเดีย X ซึ่งตัวอย่างที่โด่งดังคือ กรณีที่ SEC สูญเสียการควบคุมบัญชี X ของตนเองผ่านการสลับซิม และแฮกเกอร์ได้โพสต์ข่าวการอนุมัติกองทุน  Spot Bitcoin ETF  ล่วงหน้าหนึ่งวัน

GSMA สมาคมโทรคมนาคมได้พัฒนาชุด GSMA Open Gateway API หลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือ รวมถึงฟังก์ชันสำหรับตรวจสอบการสลับซิม ซึ่งการเข้าถึง API นี้จะช่วยให้สัญญา Smart Contract สามารถป้องกันการฉ้อโกงทางการเงินได้โดยการตรวจสอบว่ามีการสลับซิมเกิดขึ้นเร็วๆ นี้หรือไม่ โดย Vivo (Telefónica Brazil) เป็นผู้ให้บริการรายแรกในกลุ่มที่นำการผสมผสานนี้ไปใช้ โดยอนุญาตให้สัญญา Smart Contract บนบล็อกเชนของ Polygon สามารถเข้าถึง SIM SWAP API ผ่านเครือข่ายออราเคิลของ Chainlink

Johann Eid CBO ของ Chainlink Labs กล่าวว่า “การนำ  OpenGateway APIs ของ Telefónica  มาไว้ในเครือข่ายพร้อมกับฟังก์ชัน Chainlink สิ่งนี้จะช่วยปลดล็อกการใช้งานใหม่ๆ และรักษาความปลอดภัยที่มากขึ้น ในอุตสาหกรรมของเรา ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็จะปกป้องผู้ใช้และทรัพย์สินของพวกเขาได้ดีขึ้น” 

ความท้าทายของ Smart Contracts ในการเข้าถึงข้อมูลภายนอกคือ มันได้กลายเป็นเป้าหมายหลักในการดึงดูดความสนใจจากแฮกเกอร์ ดังนั้น Chainlink จึงดำเนินการเครือข่าย Oracle แบบกระจายอำนาจ (DON) เพื่อกระจายการโหลด และ nodes ต่างๆ ก็มีความเห็นเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับข้อมูลที่ให้มา เพื่อให้มันรับข้อมูลที่ตรงกัน

Yaiza Rubio ซึ่งเป็น CMO ของ Telefónica  กล่าวว่า กรณีนี้เป็นการใช้งานครั้งแรกของระบบ GSMA Open Gateway SIM Swap API ซึ่งทำให้เรากลายเป็นผู้บุกเบิกการใช้งาน Web3  และจะช่วยให้เราสามารถติดตามการพัฒนาไปสู่เว็บไซต์ในอนาคต”

Vivo เผยว่า พวกเขากำลังใช้งานฟีเจอร์ใหม่ของ Chainlink ที่ยังอยู่ในช่วงทดสอบเบต้า ชื่อว่า Chainlink Functions ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้คำขอจากสัญญา Smart Contract สามารถใช้ค่าลับ เช่น คีย์ API และใช้การถอดรหัสแบบหลายฝ่ายร่วมกัน

หลักการใช้งาน Smart Contract

ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าสัญญา Smart Contract ต้องการเข้าถึง API หนึ่ง อาจจำเป็นต้องใช้คีย์ API ที่ไม่สามารถเก็บไว้บนบล็อกเชนได้ แต่ด้วย Chainlink Functions แอปพลิเคชันนอกเชนที่เรียกใช้สัญญา Smart Contract จะถูกแปลงคีย์ API เป็นชุดของข้อมูลลับที่เข้ารหัส ข้อมูลลับเหล่านี้จะถูกส่งไปยังโหนดต่างๆ ในเครือข่ายออราเคิลแบบกระจายศูนย์นอกโซ่ (DON) ซึ่งข้อมูลลับนี้สามารถถอดรหัสได้เฉพาะโดยการประสานงานร่วมกันระหว่างโหนด DON และโหนดเหล่านี้สามารถเข้าถึง API ได้

ที่มา: ledgerinsights