<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เปิดโปงดีลลับ FTX ในศาล ! แฉกลโกงเสกเหรียญ Tether (USDT) โกยกำไรในตลาดคริปโต

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

คดีความของ FTX ที่รายงานโดย Bloomberg เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ระบุว่า FTX ใช้ข้อตกลงลับกับธนาคาร Deltec เพื่อแสวงหาผลกำไรจาก Tether ( USDT)

Caroline Ellison อดีต CEO ของ Alameda Research เปิดเผยข้อมูลสำคัญในชั้นศาล โดยระบุว่า Alameda สามารถสร้าง Tether (USDT) โดยใช้เครดิตจาก Deltec Bank และนำ Tether ที่สร้างขึ้นไปขายเพื่อทำกำไรผ่านวงเงินสินเชื่อที่ไม่เป็นทางการกับ Deltec Bank  โดยไม่จำเป็นต้องชำระคืนด้วยเงินดอลลาร์จริงในทันที

ข้อตกลงดังกล่าวทำให้ Alameda สามารถสร้าง Tether (USDT) มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในปี 2020 และ 2021 โดยนำสกุลเงินดิจิทัลไปขายเพื่อทำกำไรก่อนชำระเงินจริง วิธีการนี้ทำให้ Alameda มีอำนาจทางการเงินเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถทำธุรกรรมโดยใช้เงินทุนที่ยังไม่ได้ชำระ ซึ่งเปรียบได้กับวงเงินเครดิตระยะสั้น

คดีความดังกล่าวระบุว่า ธนาคาร Deltec มีส่วนช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการยักยอกเงินโดยมิชอบธรรม ระหว่าง FTX และ Alameda Research โดยโอนเงินฝากของลูกค้า FTX ไปให้กับ Alameda ซึ่งถือเป็นการละเมิดมาตรฐานแนวทางปฏิบัติทั่วไป

คดีความยังระบุเพิ่มเติมว่า ธนาคาร Deltec ได้ให้การบริการดูแลธุรกรรมของ Alameda Research เป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ตลาดคริปโตอยู่ในภาวะขาลง

นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างธนาคาร Deltec กับ FTX แล้ว ยังมีจากส่วนเกี่ยวข้องกับธนาคาร Moonstone ด้วย โดยธนาคาร Moonstone ได้รับเงินทุนจำนวนมากจาก Alameda Research และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ FTX 

ภายหลังการตรวจสอบจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) ในเดือนสิงหาคม 2023 ธนาคาร Moonstone Bank ได้ยุติการดำเนินงานในเดือนกุมภาพันธ์

ตัวแทนของ Deltec รวมถึงทนายความ Desiree Moore ออกโรงปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยยืนยันว่า ทั้งธนาคารและประธานบริษัท ไม่มีส่วนรู้เห็นกับการทุจริตใดๆ พวกเขากล่าวว่า ข้อกล่าวหานี้เป็นเพียงคำกล่าวอ้างที่ไม่ได้รับการยืนยันจากบุคคลที่ต้องการหาทางยุติข้อพิพาทด้วยการฟ้องร้อง

ข้อกล่าวหานี้ส่งผลกระทบต่อ FTX โดยสร้างความยุ่งยากทางกฎหมายนอกเหนือจากคดีล้มละลายและคดีอาญาของ Sam Bankman-Fried อดีต CEO ซึ่งความซับซ้อนของธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องชี้ให้เห็นถึงปัญหาการขาดการกำกับดูแลในอุตสาหกรรมคริปโตเคอร์เรนซี

ที่มา : coinpaprika