เราสามารถเริ่มจะพบเห็นได้แล้วว่าธนาคารกลางในหลายประเทศได้มีการออกสกุลเงินดิจิทัลเป็นของตัวเองหรือที่เรียกว่า central bank digital currency (CBDC) โดยจะดำเนินการบนเครือข่าย Blockchain อีกทั้งยังสามารถนำไปแลกเป็นสกุลเงินของประเทศอื่น ๆ ได้เช่น สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคริปโตรูเบิ้ล เป็นต้น โดยที่ประชุมของสภาเศรษฐกิจโลก [World Economic Forum (WEF)] ได้มีการจัดทำรายงานว่าด้วยการดำเนินการโดยธนาคารพาณิชย์เกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งกำลังเกิดเขึ้นในปัจจุบันนี้
เหล่าประเทศแคนนาดา, อังกฤษ, สิงคโปร์, และฝรั่งเศษ นำร่องก่อนประเทศอื่นๆแล้ว
ธนาคารกลางในหลายประเทศได้มีการดำเนินการจัดทำรายงานและการทดสอบด้านเทคโนโลยี Blockchain เพื่อพิสูจน์ว่าจะสามารถนำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้นำมาพัฒนาการดำเนินการของธนาคารได้อย่างไร อีกทั้งในรายงานของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ หรือ Bank of International Settlements (BIS) นักวิจัยสองคนคือ นาย Christian Barontini และนาย Henry Holden ผู้มีส่วนร่วมในงานวิจัยได้กล่าวในรายงานว่า
“ผลสำรวจจากธนาคารกลางหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าธนาคารกลางส่วนใหญ่นั้นกำลังร่วมกันพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดจากสกุลเงินดิจิทัลซึ่งออกโดยธนาคารอยู่ในขณะนี้”
ตัวอย่างจากกรณีข้างต้นก็มีให้เห็นมาแล้วเช่น ธนาคารกลางของประเทศอังกฤษซึ่งได้ดำเนินการจัดทำรายงานมาตั้งแต่ปี 2014 ในชื่อ “เศรษฐศาสตร์ของสกุลเงินดิจิทัล” หรือ “the economics of digital currencies,” โดยจากงานชิ้นนี้นักวิจัยชาวอังกฤษหลายท่านได้มีความคิดเห็นว่ารูปแบบของ incentive โมเดลในการสร้างแรงจูงใจให้มีการนำสกุลเงินดิจิทัลไปใช้ในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ต่างหากที่เป็นตัวขัดขวางการนำไปใช้อย่างแพร่หลายที่แท้จริง
อีกทั้งในรายงานอีกฉบับโดยธนาคารกลางของประเทศอังกฤษนั้น ยังได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างสกุลเงินดิจิทัลและระบบเงินสดแบบด้ังเดิม รวมทั้งการระบุข้อดีมากมายเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงให้เราเห็นถึงความสนใจที่แน่วแน่ของสถาบันเหล่านี้ในตัวสกุลเงินคริปโตและเทคโนโลยี distributed ledger
ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2018 เหล่าธนาคารกลางในอังกฤษ แคนนาดา และสิงคโปร์ได้ร่วมกันจัดทำรายงานชิ้นใหญ่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ โดยได้มีการกล่าวถึงระบบในปัจจุบันว่า “ระบบการชำระเงินระหว่างประเทศนั้นไม่เป็นไปในทางเดียวกับพัฒนาการที่ก้าวกระโดดของเทคโนโลยีการชำระเงินซึ่งเกิดขึ้นภายในแต่ละประเทศ ทั้งยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาระบบดังกล่าวมาเป็นเวลาหลายสิบแล้วอีกด้วย”
ดังนั้นจึงได้เกิดโครงการต่างๆมากมายซึ่งมุ่งเป้าไปที่การดำเนินธุรกรรมระหว่างธนาคารข้ามประเทศ โดยเป็นการนำระบบ CBDC เข้ามาดำเนินการทดสอบ และได้มีการเปิดตัวการทดสอบในโครงการต่าง ๆ อย่างเช่น Linux Foundation’s Hyperledger Fabric, R3’s Corda, J.P. Morgan’s Quorum, และโครงการในเครือข่ายของ Ethereum เป็นต้น
นาง Ashley Lannquist ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าในแผนกเทคโนโลยี Blockchain ของที่ประชุมของสภาเศรษฐกิจโลกได้รวบรวมแหล่งข้อมูลของรายการงานวิจัยต่างๆไว้ในเอกสารนี้ รวมถึงโครงการ Project MADRE ของธนาคารกลางแห่งประเทศฝรั่งเศษ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2016 โดยทางธนาคารได้นำ solution ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain มาเป็นฐานพัฒนากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศที่ใช้ระยะเวลานานเกินควร
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเช่น การเปลี่ยนแปลงระบบ SEPA Credit Identifiers (SCIs) ซึ่งเป็นระบบกลไลการออกเครดิตที่ถูกควบคุมโดยส่วนกลางเพื่อให้ประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปนั้นสามารถระบุบตัวตนผู้ออกเครดิตโดยไม่จำเป็นต้องติดต่ออ้างอิงกับบัญชีตั้งต้นนั้นๆก่อน โดยการนำ “ระบบทางเลือกที่ทำให้การบริหารจัดการออกเครดิต และการแลกปลี่ยนข้อมูลไม่ต้องอาศัยการควบคุมจากส่วนกลาง และสามารถดำเนินการโดยอัตโนมัติได้ โดยใช้ ‘smart contracts’ ซึ่งระบบใหม่นี้จะทำให้ทุกฝ่ายสามารถดำเนินธุรกรรมได้อย่างคล่องตัว ผ่านการจัดทำชุดคำสั่งสำเร็จรูปบนระบบ Blockchain ”
10 กรณีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้งานในธนาคารกลางของแต่ละประเทศ
หลายประเทศทั่วโลกต่างดำเนินการทดสอบ CBDC และเทคโนโลยี Blockchain เพื่อพัฒนาระบบการธนาคารของตน อย่างเช่นการทดสอบระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในประเทศบราซิล (Project PIER), การนำระบบ CBDC มาใช้สำหรับการชำระเงินระหว่งธนาคารภายในประเทศแอฟริกาใต้ (Project Khokha), การวางแผนนำระบบ CBDC (e-krona) มาช่วยในการผลักดันประเทศสวีเดนให้เป็นสังคมไร้เงินสด และล่าสุดในประเทศไทยของเรานี้ ทางแบงก์ชาติก็ได้เผยผลการทดสอบโครงการอินทนนท์ ที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงินระหว่างประเทศได้อีกด้วย
นอกจากนี้ที่ประชุมของสภาเศรษฐกิจโลก[ World Economic Forum (WEF)] ยังได้ระบุถึงกรณีอื่นๆอีก 9 กรณีการใช้งานที่เหล่าธนาคารกลางนั้นสามารถที่จะนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้
-
กรณีห่วงโซ่อุปทานของเงินสด
-
กรณีบริการธุรกรรมต่างประเทศ
-
กรณีกระบวนการ Know-your-customer (KYC) และการป้องกันการฟอกเงินหรือ anti-money-laundering (AML)
-
กรณีสร้างความยืดหยุ่นและแก้ปัญหาความไม่แน่นอนของระบบการชำระเงิน
-
กรณีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
-
กรณีการดำเนินการ SEPA Creditor Identifier (SCI) แก่ลูกค้า
-
กรณีการขายปลีกสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC)
-
กรณีการขายเหมาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC)
-
กรณีการดำเนินการชำระหนี้ระหว่างธนาคาร
เหล่ากรณีทั้งหลายนี้มีการทดสอบโดยบริษัทต่างๆให้เห็นได้แล้ว และด้วยเหตุผลนี้เองทาง WEF จึงกล่าวได้ว่าเหล่าธนาคารทั้งหลายกำลังจับตาดูการพัฒนาซึ่งเกิดขึ้นในวงการนี้อยู่ห่างๆด้วยความสนใจ โดยในรายงานของที่ประชุมของสภาเศรษฐกิจโลก ได้แบ่งระดับการดำเนินการออกเป็นสามแบบอย่างเช่น
-
การดำเนินการโดยธนาคารของประเทศอังกฤษและฝรั่งเศษในการดำเนินการทดสอบหัวข้อดังกล่าวอย่างใกล้ชิดซึ่งเป็นระดับแรก
-
การดำเนินการเฝ้าจับตาดูกิจกรรมโดยฝ่ายธุรกิจทั้งหลายซึ่งอยู่ในระดับสอง
-
กลุ่มที่ยังไม่มีความสนใจในเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างแพร่หลาย
อย่างไรก็ตามเนื่องจากสกุลเงินคริปโตนั้นยังไม่เป็นที่แผร่หลายในสังคมทั่วไปมากนัก ประกอบกับโอกาสที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในชีวิตประจำวันนั้นค่อนข้างน้อย ส่งผลให้เป็นการยากต่อประชาชนที่จะยอมรับเทคโนโลยีดังกล่าวในวงกว้าง อีกทั้งยังพิจารณาได้อีกว่า การนำ CBDC มาใช้นั้นมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบในด้านลบต่อเสถียรภาพทางการดำเนินเนินธุรกิจธนาคารอีกด้วย
ซึ่งสิ่งที่จะเป็นตัวพิสูจน์ความสำเร็จของ CBDC ในระยะยาวได้นั้นก็คือเวลา เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการปรับตัวที่นาน ดั่งเช่นอินเตอร์เนท และรถยนต์ที่เราเคยเห็นมาแล้วในอดีต บางทีการทำระบบให้ใช้งานง่าย อาจจะช่วยย่นระยะเวลาในการปรับตัวให้น้อยลงก็ได้
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น