<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ธนาคารกลางเวเนซูเอล่าพยายามจะนำ Bitcoin มาเป็นทุนสำรอง คำถามคือจะทำได้จริงหรือไม่?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ประเทศเวเนซูเอล่าไม่สามารถจ่ายบิลเป็นเงินเฟียตได้ซึ่งรัฐบาลก็พยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ จนมีรายงานจาก Bloomberg เผยว่าธนาคารกลางของรัฐบาลได้ถือ Bitcoin และ Ethereum เพื่อเป็นเงินสำรองของประเทศ แต่ประเด็นคือการนำเงินคริปโตมาเป็นทุนสำรองเช่นนี้มันจะถูกกฎหมายหรือไม่?

อย่างที่เราได้รู้กันว่าเวเนซูเอล่าเป็นประเทศที่ผลักดันคริปโตมาโดยตลอด ทั้งสร้างเหรียญคริปโตของประเทศออกมาที่เรารู้จักกันดีคือเหรียญ Petro และความนิยมในการใช้ Bitcoin ในประเทศเวเนซูเอล่าก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

จากรายงานBloomberg เผยว่าธนาคารกลางเวเนซูเอล่าจะนำ Bitcoin และ Ethereum มาเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศแล้ว ซึ่งในตอนนี้บริษัทน้ำมันของชาติ Petroleos de Venezuela ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ของประเทศกำลังพยายามหาช่องทางที่จะส่งเงินให้ธนาคารเป็น BTC, ETH เพื่อให้บริษัทสามารถส่งเงินให้ผู้จัดหาระหว่างประเทศได้

แต่ความคิดนี้มันจะสามารถนำไปใช้จริงได้หรือไม่?

ประธานาธิบดี Nicolas Maduro เป็นผู้ที่ชื่นชอบเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งเหรียญ Bitcoin นั้นได้รับการยอมรับไปทั่วโลกส่วน Ether ก็เป็นเหรียญที่สำคัญอีกเหรียญหนึ่งในตลาด ใครที่มาทำการค้าขายด้วยก็จะยิ่งมีความสะดวกในการจ่ายคริปโตซึ่งจะแปลงเป็นเงิน Fiat ได้ทันที

อีกอย่างคือเวเนซูเอล่านั้นเป็นประเทศที่ค่าไฟถูกที่สุดในโลก รวมถึงประเทศในแถบละตินอเมริกาก็มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งมันก็เป็นสมเหตุสมผลมากกว่าหากรัฐบาลของ Maduro จะเปิดเผยฟาร์มขุด Bitcon และ Ethereum ในประเทศ ซึ่งรัฐบาลก็ไม่ได้มีทีท่าจะออกมาเปิดเผยเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามการใช้ Bitcoin และ Ethereum ในการค้าระหว่างประเทศก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก การที่จะแปลงเงินโทเค็นเป็นเงินเฟียต ใครที่จะทำการค้าขายกับเวเนซูเอล่าก็ต้องทำตามนโยบาย KYC ที่เว็บ Exchange หรือ OTC desk ต้องทำตาม ซึ่งต้องดำเนินการตามกฎหมายของสหรัฐฯ หรือกฎหมายของประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากนโยบายสหรัฐฯ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากสำหรับรัฐบาลเวเนซูเอล่ามิใช่น้อยเพราะรัฐบาลนั้นต้องเผชิญหน้ากับการคว่ำบาตร

ถ้าเวเนซูเอล่ามี Bitcoin, Ethereum หรือเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีอื่น ๆ รัฐบาลก็มีจะต้องเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้นไปที่สมัชชาแห่งชาติ (หรือสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ) ออกมาจนกว่าจะปี 2020 ในระหว่างนี้ก็จะยังเปิดเผยอะไรมากไม่ได้เพราะอาจจะมีกลุ่มคนที่ไม่พอใจแล้วมาประท้วง

กฎหมายของประเทศเวเนซูเอล่า

นอกจากการใช้คริปโตในการชำระเงิน รายงานจาก Bloomberg ยังเผยอีกว่า “เจ้าหน้าที่กำลังพิจารณาข้อเสนอที่จะอนุญาตให้คริปโตเคอร์เรนซีนับรวมเข้ากับทุนสำรองระหว่างประเทศซึ่งขณะนี้เงินทุนสำรองได้ลดลงต่ำสุดในรอบสามทศวรรษเหลือเพียง 7.9 พันล้านดอลลาร์” มันก็เป็นทางเลือกที่ดีหากเวเนซูเอล่าใช้ Bitcoin เป็นตัวกักเก็บมูลค่า กฎหมายของประเทศก็ได้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อที่จะรองรับความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย

“การนำคริปโตเคอร์เรนซีมาเป็นทุนสำรองนั้นเป็นไปได้และไม่ขัดต่อกฎหมาย Constituent Decree ลงวันที่ 9 เมษายน 2018” นักกฎหมายและผู้ร่วมก่อตั้ง CriptoJuris ในเวเนซูเอล่านาย Ernesto Portillo กล่าว

“ข้อที่ 9 ของพระราชกฤษฎีการับรองว่ารัฐบาลเวเนซูเอล่าอาจผลักดันและนำคริปโตเคอร์เรนซีมาเป็นเครื่องมือในการชำระเงินได้”

แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่พลาดไปคือการกำหนดข้อตกลงในสัญญาที่ใช้บังคับระหว่างทั้งสองฝ่าย ในปัจจุบันคริปโตเคอร์เรนซีในประเทศเวเนซูเอล่านั้นทำหน้าที่เหมือนกับเงิน: เป็นตัวเก็บมูลค่า, หน่วยทางบัญชีและเป็นวิธีการชำระเงิน

การใช้ Bitcoin นั้นมันทำให้ธนาคารกลางของเวเนซูเอล่าสามารถควบคุมซัพพลายหรือออกกฎหมายมาควบคุมได้ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่เวเนซูเอล่าจะทิ้งเงิน Fiat เลยไม่ได้

ก่อนหน้านี้รัฐบาลเวเนซูเอล่าก็วางแผนจะผลักดันให้มีการใช้คริปโตทั่วประเทศหรือให้สามารถมีการโอนเหรียญ Petro เป็นเงิน Fiat ในธนาคารชั้นนำของประเทศได้ ให้ผู้ใช้งานสามารถลิงค์คริปโตเคอร์เรนซีอื่น ๆ ได้

การนำ BTC กับ ETH มาเป็นทุนสำรองของประเทศก็เป็นการเปิดช่องทางให้คริปโตเป็นที่ยอมรับทั่วประเทศ ผู้ใช้งานสามารถทำการชำระเงินด้วยวอลเล็ทที่เชื่อมกับธนาคารได้ และผู้รับก็สามารถแลกเปลี่ยนมันเป็นโบลิวาร์ได้หรือเก็บเป็น Bitcoin ไว้ในวอลเล็ทเป็นเงินเก็บก็ได้

อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลเวเนซูเอล่าก็ไม่ได้ออกมาเปิดเผยว่าได้ถือครอง Bitcoin และ Ethereum อยู่เท่าไร แต่การที่รัฐบาลเลือกนำคริปโตเคอร์เรนซีมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศก็ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งในการผลักดันเทคโนโลยี

ที่มา : decrypt

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น