<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สรรพากรสหรัฐฯ ยอมถอย ปรับแก้กฏหมายไม่ต้องรายงานเงินได้จากคริปโตที่มีมูลค่าเกิน $10,000

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ล่าสุด กรมสรรพากรสหรัฐฯ (IRS) ได้ออกแถลงว่า ผู้ประกอบการณ์ หรือ สถานประกอบการณ์ ทั้งหมดในสหรัฐฯ ไม่จำเป็นจะต้องยื่นรายงานการเงินได้ที่ได้จากคริปโตเกิน 10,000 ดอลลาร์ จนกว่าจะมีการแก้กฎหมายให้ชัดเจน

การตัดสินใจปรับแก้กฎหมายนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม หลังการปรับปรุงกฎหมาย Infrastructure Investment and Jobs Act (IIJ Act) โดยกระทรวงการคลัง และ IRS 

ย้อนไปกลับเมื่อวันที่ 1 มกราคม  กรมสรรพากรสหรัฐฯ ได้มีการอนุมัติกฎหมายให้สถานประกอบการณ์ทั้งหมดในสหรัฐฯ ต้องยื่นรายงานการทำธุรกรรมจากคริปโตเคอร์เรนซี ที่มีมูลค่ามากกว่า 10,000 ดอลลาร์ขึ้นไป แต่ในขณะนี้ทาง IRS ได้ยอมผ่อนปรนกฎหมายนี้ไว้ชั่วคราว

กฎหมายดังกล่าวได้เสียงตอบรับที่ไม่ดีเท่าไรนักจากผู้ใช้งานคริปโต โดยกรรมการบริหาร Coin Center อย่าง Jerry Brito  ออกมากล่าว่า หลายคนจะพบว่ากฎหมายนี้นั้นยากที่จะปฏิบัติตาม หากไม่มีคำแนะนำหรือแนวทางเพิ่มเติมจาก IRS และ เขาคาดการณ์ว่าผู้ที่จะพยายามปฏิบัติตามกฎหมาย อาจเสี่ยงต่อการถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญา

กฎหมาย Infrastructure Investment and Jobs Act นั้นระบุว่า ผู้เสียภาษีทุกคนจำเป็นที่จะต้องทำการรายงาน หากมีเงินได้มากกว่า 10,000 ดอลลาร์ ภายใน 15 วันของการทำธุรกรรม ซึ่งสินทรัพย์ดิจิทัลก็ถูกนับด้วยเช่นกันในมาตรา 60501  

ทาง IRS และ กระทรวงการคลัง ตั้งใจที่จะออกกฎระเบียบควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ไม่ได้ระบุว่าพวกเขาจะยื่นสนอกฎหมายเมื่อใด อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้สาธารณะชนสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นว่าควรจะมีบทบัญญัติการควบคุมเป็นแบบไหน

สมาคมผู้สนับสนุนสินทรัพย์ดิจิทัล และบล็อกเชน กล่าวถึงข่าวนี้ว่า “เป็นความก้าวหน้าที่ดี” เพราะการรายงานการทำธุรกรรมจากคริปโตนั้นมีความยากลำบาก ขณะที่คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในครั้งนี้ แต่ได้เน้นย้ำว่ากฎระเบียบการรายงานสินทรัพย์ดิจิทัลที่เพิ่งผ่านเมื่อวันที่ 1 มกราคม นั้น มีปัญหามากมาย เนื่องจากถูก “ออกแบบมาไม่ดี”