<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

จับตาการประชุม Fed  30-31 ม.ค. ตลาดคริปโตจะเป็นไปในทิศทางไหน ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับการประชุมของ Fed ในวันที่ 30-31 มกราคม 2024 ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ กำลังเป็นที่จับตาของบรรดานักลงทุนทั่วโลก เนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของอัตราดอกเบี้ยและนโยบายการเงินของสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงิน รวมถึงตลาดคริปโตด้วย

การลดอัตราดอกเบี้ย

เป็นสิ่งถูกพูดถึงกันมานานสำหรับการลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed โดยในตลาดฟิวเจอร์ส คาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะคงอัตราดอกเบี้ยสำหรับกองทุนกลางไว้ที่ระดับ 5.25%-5.5% ณ การประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 31 มกราคม 2024

อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงเห็นโอกาสถึง 40% ที่จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือน มีนาคม อ้างอิงจาก CME’s FedWatch Tool ทว่ายังไม่มีความชัดเจนจากทาง Fed ว่าจะเริ่มดำเนินการได้เร็วขนาดนั้นไหม โดยอาจมีการเลื่อนออกไปก่อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสหรัฐฯ สามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้แล้ว

ตลาดคริปโตจะเป็นอย่างไร?

การประชุมในหัวข้อการลดอัตราดอกเบี้ยนั้นส่งผลกระทบโดยตรงอย่างแน่นอนต่อตลาดคริปโต เนื่องจากหาก Fed ยังคงไม่ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยหมายความว่า ภาวะเงินเฟ้อนั้นยังไม่สิ้นสุดลง  ทำให้ตลาดเกิดความไม่เชื่อมั่น และหันมาลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีทางเฟ้อได้ เช่นสินทรัพย์ที่มีอุปทานที่จำกัดอย่าง คริปโตเคอร์เรนซี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Bitcoin ซึ่งจะทำให้ราคาของคริปโตนั้นพุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ราคาของคริปโตจะไม่ขึ้นเช่นกัน เนื่องจากกลไกตลาดที่ว่า ถ้าหากเงินเฟ้อสูงขึ้นของแพงขึ้น นักลงทุนก็ไม่อยากจะนำเงินมาลงทุนเพิ่มเติม และลดค่าใช้จ่ายลง ซึ่งก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะสามารถทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวและลดปัญหาเงินเฟ้อลง

ในทางกลับกันหากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดคริปโตในเชิงลบ เนื่องจากจะทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินลดลง ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่างคริปโต 

โดยปกติแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อธุรกิจต่างๆ เนื่องจากจะทำให้ต้นทุนการผลิตและต้นทุนการบริการสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ 

เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ธนาคารกลางต่างๆ จึงมักปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบการเงิน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินสูงขึ้น และทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง 

อย่างไรก็ตาม หากธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง หมายความว่า ธนาคารกลางต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นได้เช่นกัน 

สำหรับตลาดคริปโตนั้น โดยทั่วไปแล้ว มักถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์เสี่ยง เนื่องจากมีความผันผวนสูง และไม่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ ทั่วโลก หากอัตราดอกเบี้ยลดลง และภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้น นักลงทุนอาจหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น หุ้น พันธบัตร แทนที่จะลงทุนในคริปโต ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาของคริปโตลดลงได้ เว้นเสียแต่ว่ากระแสคริปโตจะมาแรงมากถึงขนาดที่นักลงทุนรีบเข้ามากว้านซื้อคริปโต ก็จะส่งผลให้ราคาคริปโตสูงขึ้นได้เช่นกัน

ที่มา : forbes