<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

3 สัญญาณบ่งชี้ว่า Bitcoin อาจเกิดวิกฤต ‘อุปทานขาดแคลน’ ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ขณะนี้ใน​​ชุมชน Bitcoin เต็มไปด้วยหัวข้ออภิปรายเกี่ยวกับการเกิด “วิกฤตอุปทาน” (supply shock) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางการตลาดที่ความต้องการสินทรัพย์สูงเกินกว่าอุปทานมีอยู่ ส่งผลให้ราคาของสินทรัพย์อาจพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก และปัจจุบันตัวชี้วัดหลายตัวกำลังชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า เหตุการณ์นี้อาจอยู่ใกล้ตัวเกินกว่าที่หลายคนคาดการณ์เอาไว้

1 ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับ Bitcoin ETFs

นับตั้งแต่กองทุน Bitcoin ETF เปิดตัวก็ได้รับความสนใจอย่างมาก ส่งผลให้เกิดความต้องการ Bitcoin เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แรงซื้อมหาศาลนี้ถูกชะลอลงด้วยการไหลออกของเงินทุนจำนวนมากจากกองทุน Grayscale Bitcoin ETF (GBTC) 

อย่างไรก็ตาม หลังผ่านไป 13 วัน ตัวเลขการไหลออกของกองทุน GBTC เริ่มชะลอลงอย่างต่อเนื่อง (เมื่อวาน: 220.7 ล้านดอลลาร์, ก่อนหน้านี้: 191.7 ล้านดอลลาร์) ในขณะที่ผู้ให้บริการกองทุน ETF รายอื่น ๆ มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิรวมประมาณ 250 ล้านดอลลาร์ในช่วงสองวันที่ผ่านมา

Dan Ripoll กรรมการผู้จัดการของ Swan การวิเคราะห์โดยละเอียด เกี่ยวกับกองทุน Spot Bitcoin ETFs  ที่ได้ซื้อ Bitcon ไปแล้ว 150,500 BTC ภายในระยะเวลาเพียง 13 วัน คิดเป็นอัตราการซื้อเฉลี่ย 12,000 BTC ต่อวัน เพื่อความเข้าใจง่าย ๆ ปัจจุบันมีการผลิต Bitcoin ใหม่เพิ่มเพียง 900  BTC ต่อวัน นั้นหมายความว่า การซื้อ Bitcoin ของกองทุน ETF มีอัตราการซื้อที่สูงกว่าอัตราการผลิตใหม่ ถึง 13 เท่า 

มิหนำซ้ำในอีก 3 เดือนข้างหน้า อัตราการผลิต Bitcoin ใหม่จะลดลงครึ่งหนึ่งในเหตุการณ์ Halving ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ในขณะที่อัตราการซื้อ Bitcoin ของกองทุน ETF จะเพิ่มสูงกว่าอัตราการผลิตใหม่ถึง 26 เท่า 

นอกจากนี้ Alessandro Ottaviani นักวิเคราะห์ Bitcoin ที่น่าเชื่อถือยังเน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่อาจเกิดขึ้น โดยระบุว่า “ตอนนี้การไหลเข้าของ Bitcoin ETF จะสูงกว่าการไหลออกของ Grayscale เสมอ วิธีเดียวที่จะรองรับความต้องการนั้นได้คือ ราคา Bitcoin ที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อราคา Bitcoin ไปถึงที่ระดับ 60,000 ดอลลาร์หรือมากกว่านั้น เหตุการณ์ Institutional FOMO จะถูกกระตุ้นอย่างสมบูรณ์ และจะเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน”

ด้าน WhalePanda, นักวิเคราะห์ชื่อดังในวงการคริปโต ได้เน้นย้ำถึงกิจกรรมล่าสุดที่ช่วยสนับสนุนแนวโน้มของ “วิกฤตอุปทาน” Bitcoin  ดังนี้:

“เมื่อวานมีเงินไหลเข้าสุทธิอีกเกือบ 250 ล้านดอลลาร์ ในกองทุน Bitcoin ETF โดยเฉพาะ BlackRock ซื้อเข้าไปถึง 300 ล้านดอลลาร์ฯ เงินไหลเข้า 250 ล้านดอลลาร์สองวันติด แต่ราคาเมื่อวานยังไม่เพิ่มขึ้นมาก ถ้ามีอีกสักสองสามวันแบบนี้ รับรองได้เลยว่า วิกฤตอุปทานนี้จะส่งผลต่อราคา BTC”

2 การขาย Bitcoin ของเหมือง Bitcoin ขนาดใหญ่ถูกดูดซับ

แม้จะมีการเคลื่อนย้าย Bitcoin จำนวนมากจากกระเป๋าเงินของนักขุดไปยังกระดานแลกเปลี่ยน แต่ราคา Bitcoin ยังคงทรงตัวและไม่ได้ร่วงลงอย่างรุนแรง ตามรายงานจาก Cryptoquant

“เมื่อวานนี้ ปริมาณการเคลื่อนย้าย Bitcoin จากกระเป๋าเงินของนักขุดไปยังตลาดซื้อขาย spot มีมูลค่าสูงสุดตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2023 โดยรวมมี Bitcoin มากกว่า 4,000 BTC ไหลเข้าสู่ตลาดการแลกเปลี่ยน คิดเป็นแรงขายประมาณ 173 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม แรงขายนี้ตลาดสามารถดูดซับได้อย่างราบรื่น”

ประเด็นสำคัญที่ต้องสังเกตคือ แม้จะมีการเคลื่อนย้าย Bitcoin ออกจากกระเป๋าเงินของนักขุดอย่างต่อเนื่อง แต่ปริมาณ Bitcoinที่เหลืออยู่ในกระเป๋าเงินของนักขุดยังคงทรงตัวนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมกราคม 2024 ส่งผลให้ราคา Bitcoin ไม่ร่วงลงอย่างมีนัยสำคัญ

3 Stablecoins หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Dry Powder” กำลังเพิ่มขึ้น

มูลค่าตลาดโดยรวมของ Stablecoin ที่เป็นตัวชี้วัดเบื้องต้นถึงแนวโน้มการเคลื่อนไหวของตลาดคริปโต ล่าสุดมูลค่ารวมของ Stablecoin ได้ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ จากระดับต่ำสุดที่ 119.5 พันล้านดอลลาร์ในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2023 ขึ้นมาอยู่ที่ใกล้เคียง 130 พันล้านดอลลาร์

การเพิ่มขึ้นของทุนสำรอง Stablecoin นี้ มักถูกตีความว่าเป็น “dry powder หรือ เงินสดสำรอง ” ที่พร้อมจะนำไปลงทุนกับสินทรัพย์ เช่น Bitcoin ซึ่งอาจช่วยเร่งกลไกอุปสงค์และอุปทานต่อไป

Alex Svanevik ผู้ก่อตั้ง Nansen แพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูล Onchain ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างทุนสำรองของ Stablecoin และราคา BTC ว่า “เมื่อ Stablecoin บนกระดานแลกเปลี่ยนมาถึงจุดสูงสุด ราคา BTC ก็จะพุ่งถึงจุดสูงสุดเช่นกัน”

ที่มา :  newsbtc