<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ข้อมูลเผยพลังงานไฟฟ้ามากกว่า 2% ในสหรัฐฯ ถูกนำไปใช้กับการขุด Bitcoin

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เหมืองขุด Bitcoin ในสหรัฐอเมริกาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สวนทางกับประเทศจีนที่ทำการปราบปรามคริปโตเคอร์เรนซีอย่างหนัก ตัวเลขเหมืองขุด Bitcoin ในอเมริกาพุ่งจาก 3% ในปี 2020 ขึ้นมาแตะ 38% ในช่วงต้นปี 2022 สะท้อนให้เห็นถึงการอพยพของธุรกิจเหมืองขุด Bitcoin จากจีนมายังอเมริกา

อย่างไรก็ตามปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐฯ ได้จับตาดูเหมืองขุดเหล่านี้อยู่ไม่ขาดสายเนื่องจาก เหมืองขุด Bitcoin ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมากแบบไม่มีพัก ซึ่งเคยมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเคยเกิดขึ้นมาแล้วในกรณีที่ไฟฟ้าไม่พอใช้ และต้องสั่งปิดเหมืองเพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้รับมือกับภัยพิบัติ

สำนักงานข้อมูลพลังงาน (EIA) พบว่า การใช้พลังงานทั้งหมดในสหรัฐฯ 2% ถูกใช้ไปกับการขุด Bitcoin ซึ่งถึงจะดูเหมือนน้อยแต่ในความเป็นจริงคือมีค่าเท่ากับการจ่ายไฟให้กับรัฐหนึ่งเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันแม้จะมีรายย่อยมากมายที่พยายามหารายได้เสริมจากการขุด Bitcoin แต่นักขุดเหล่านั้นมักไม่ใช่ปัญหา เพราะปัญหาคือกลุ่มนักขุดรายใหญ่ที่รวมตัวกัน ซึ่งจะใช้ฮาร์ดแวร์ในการขุดที่ทันสมัย ทำให้ปัญหาเดียวที่มีคือการใช้ไฟฟ้า ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นก็มักจะแสวงหาถิ่นฐานใหม่ที่จ่ายค่าไฟถูกกว่าเพื่อลดต้นทุน

ทางศูนย์วิจัย Cambridge ได้ออกมาคาดคะเนว่า มีปริมาณไฟฟ้าที่ถูกใช้ไปกับกิจกรรมการขุด Bitcoin ประมาณ 25-91 Terawatt ต่อชั่วโมง หรือเทียบเท่ากับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของรัฐ Utah (ระดับสูงสุดคือรัฐ Washington) และทาง EIA ยังได้ออกมารายงานเพิ่มเติมว่า ในจำนวนเหมืองขุดขนาดใหญ่ทั้งหมด 137 แห่งในสหรัฐฯ มีจำนวนกว่า 101 ที่ได้กล่าวว่าต้องการพลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องแบบเต็มกำลัง ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่ตั้งของเหมืองขุดเหล่านี้กระจุกตัวกันอยู่ในรัฐเดียวกัน เช่น เท็กซัส หรือ นิวยอร์ค ซึ่งอยู่ในทางฝั่งตะวันออกจะทอดยาวมาจนถึงส่วนใต้ของรัฐจอร์เจีย

หากมองในเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วการขุด Bitcoin สร้างปัญหาและมลภาวะทางอ้อมเป็นอย่างมาก เนื่องจากพลังงานไฟฟ้าที่ใช้นั้นมาจากโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน) อีกทั้งถ้าหากยังมีการขุดเหมืองต่อยิ่งทำให้เกิดความยากลำบากในการยุติการใช้งานโรงไฟฟ้าเหล่านี้ 

นอกจากนี้ EIA ยังได้ออกมารายงานถึงวิธีที่เหมืองขุดใช้ในการลดต้นทุนตัวอย่างเช่น การเปิดเหมืองทับกับอดีตโรงหลอมอลูมิเนียมที่อยู่ใกล้กับแหล่งจ่ายไฟ หรือจะเป็นอีกเหมืองที่ไปเปิดข้างกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และต่อสายตรงเข้ากับโรงไฟฟ้า จนถึงขนาดที่ว่ามีการต่อท่อไปยังแหล่งก๊าซธรรมชาติและนำก๊าซมีเทนที่หลงเหลือจากกระบวนการนำมาใช้งาน

จากรายงานข้างต้นทำให้ทางรัฐบาลต้องปวดหัวเป็นอย่างมาก หากออกคำสั่งปิดเหมืองฉุกเฉินก็จำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้ด้วยเช่นกัน อย่างกรณีเหมืองที่อยู่ในโรงหลอมได้รับเงินชดเชยไปกว่า 30 ล้านดอลลาร์ หลังต้องปิดเหมืองจากฮีตเวฟปีที่แล้ว ซึ่งในขณะนี้ทาง EIA ได้พยายามอย่างหนักในการกำกับดูแลการใช้พลังงานของเหมืองขุด และหาวิธีให้สหรัฐฯ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง

ที่มา : arstechnica