<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Grayscale เตรียมเปิดตัว Bitcoin ETF ใหม่เพื่อฟื้นฟู GBTC หลังเงินทุนไหลออกอย่างหนัก

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Grayscale เตรียมเปิดตัว Bitcoin ETF ตัวใหม่ Grayscale Bitcoin Mini Trust เพื่อฟื้นฟูสถานะทางการเงินของกองทุนเรือธงอย่าง Grayscale Bitcoin Trust (GBTC) หลังประสบปัญหาทางการเงินเมื่อเร็วๆ นี้

การประกาศนี้เกิดขึ้นผ่านเอกสารยื่น S-1 เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยเปิดเผยแผนการเปิดตัวกองทุนใหม่ภายใต้สัญลักษณ์ “BTC” ซึ่งเป็นการ “แยกย่อย” ออกมาจากกองทุน GBTC

กลยุทธ์นี้จะทำให้มีการโอนย้าย Bitcoin ส่วนหนึ่งจากกองทุน GBTC ไปยังกองทุน Mini Trust ที่จะเปิดตัวใหม่ โดยผู้ถือหน่วยลงทุนใน GBTC จะได้รับหุ้น BTC จำนวนเทียบเท่าเป็นการตอบแทน

โดยที่บริษัทมีการยืนยันกับผู้มีส่วนได้เสียว่า การแยกย่อยนี้จะไม่ก่อให้เกิดภาระในด้านภาษีใดๆ แก่ทั้ง GBTC หรือผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อมูลดังกล่าวปรากฏชัดเจนในเอกสารยื่น S-1

อย่างไรก็ตาม ปริมาณ Bitcoin ที่แน่นอนจะถูกโอนไปยังกองทุนใหม่ รวมถึงค่าธรรมเนียมการจัดการยังไม่มีการเปิดเผย ซึ่งสร้างการคาดการณ์ต่างๆ ในหมู่บรรดาผู้เชี่ยวชาญ

James Seyffart นักวิเคราะห์กองทุน ETF จาก Bloomberg ตีความการเคลื่อนไหวนี้ว่าเป็นกลยุทธ์เชิงรุกของ Grayscale ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพด้านต้นทุนมากขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านภาษีแก่ผู้ลงทุนเดิม

“ค่อนข้างแน่ใจว่านี่จะเป็นการดำเนินการที่ไม่ต้องเสียภาษีสำหรับหน่วยลงทุนเหล่านั้น เพื่อเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูกกว่าและสามารถแข่งขันได้” Seyffart กล่าว

กองทุน GBTC ของ Grayscale ประสบปัญหาการไหลออกของเงินลงทุนอย่างมาก นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงเป็นกองทุน Spot Bitcoin ETF เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา โดยนักลงทุนได้ทำการขายคืนหน่วยลงทุนคิดเป็น Bitcoin จำนวน 229,000 BTC และกองทุนไม่สามารถดึงดูดเงินทุนใหม่เข้ามาสุทธิได้เลยนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลง

แนวโน้มดังกล่าวแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความสำเร็จของผู้เล่นใหม่ในตลาดอย่าง BlackRock และ Fidelity ซึ่งสามารถสะสม Bitcoin ได้อย่างรวดเร็วที่จำนวน 204,000 BTC และ 128,000 BTC ตามลำดับ

กองทุน ETF เหล่านี้ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ทั้ง 9 กองทุน (เรียกกันว่า “น้องใหม่ทั้งเก้า”) สามารถแซงหน้า Grayscale ในแง่ของปริมาณการถือครอง BTC โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโครงสร้างค่าธรรมเนียมที่น่าดึงดูดใจกว่า

ในขณะที่คู่แข่งอย่าง BlackRock ตั้งค่าธรรมเนียมการจัดการไว้ที่ 20-30 bp โดย Grayscale ยังคงรักษาระดับค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าที่ 1.5% ทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองไม่ค่อยดึงดูดนักลงทุนรายใหม่เท่าไรนัก

กลยุทธ์ด้านค่าธรรมเนียมนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากเดิม 2% ที่เคยเรียกเก็บก่อนการแปลงเป็นกองทุน ETF กลายเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนใหม่ใน GBTC ส่งผลให้ผู้ลงทุนเดิมต้องเผชิญกับภาวะกลืนไม่คายไม่ออกหากต้องการหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านภาษี

การตัดสินใจที่จะรักษาระดับค่าธรรมเนียมที่สูงนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อรายได้ของบริษัทแม่ของ Grayscale อย่าง Digital Currency Group ซึ่งกำลังเผชิญกับแรงกดดันทางการเงินเช่นกัน

Seyffart ชี้แนะว่ากลยุทธ์การแยกย่อยนี้อาจทำหน้าที่เป็นการประนีประนอมที่เหมาะสม โดยพิจารณาความจำเป็นในการแข่งขันด้านค่าธรรมเนียมควบคู่ไปกับความต้องการด้านรายได้ของบริษัท

“คุณยินดีจะลดเงินเดือนของคุณจาก 200,000 ดอลลาร์เหลือ 20,000 ดอลลาร์ เมื่อมีทางเลือกอื่นหรือไม่” Seyffart กล่าว

ที่มา: benzinga