<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Polygon เตรียมเปิดตัว ‘AggLayer’ โปรโตคอลใหม่ที่จะเชื่อมบล็อกเชนไว้ด้วยกัน เป็นเชนเดียว

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Polygon Labs จะทำการเปิดตัวโปรโตคอลใหม่ที่จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนบล็อกเชนทั้งหมดถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งโปรโตคอลตัวใหม่นี้ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะรวมบล็อกเชนที่แบ่งแยกออกจากกันเข้ากับเว็บของเครือข่ายเพื่อให้ความรู้สึกเหมือนเป็นเชนเดียวกัน

ในบล็อกโพสต์เมื่อวันที่ 24 มกราคม Polygon ระบุว่า AggLayer solution ที่กำลังจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ ตั้งเป้าไว้ว่าจะรวบรวม zero-knowledge proofs จากหลากหลายบล็อกเชนเข้าไว้ด้วยกัน และอนุญาตให้นักพัฒนาสามารถเชื่อมต่อบล็อกเชน layer 1 และ 2 มาผสานรวมเป็นเครือข่ายเดียว

สำหรับฝั่งผู้ใช้งาน Polygon Labs ระบุว่า การใช้งานนั้นจะเหมือนกับการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป ที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต่อมาทำการ bridging บ่อย ๆ เพื่อไปใช้งานเชนอื่น

ภาพ : แผนภาพภาพของโปรโตคอล AggLayer 

ในตัวอย่างการใช้งาน AggLayer นั้นจะเป็นการให้ผู้ใช้งาน ETH layer 2 X1 ที่ถือเหรียญ Dai ทำการซื้อ NFT ผ่าน Polygon’s zero-knowledge Ethereum Virtual Machine (zkEVM) โดยไม่จำเป็นต้อง bridge DAI ไปยัง zkEVM

ทีมงานของ Polygon Labs กล่าวว่า “จากมุมมองของผู้ใช้งาน สิ่งนี้จะรู้สึกเหมือนใช้เชนเดียวกัน ที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับ decentralized applications โดยไม่จำเป็นต้องรู้ว่าพวกเขากำลังใช้เครือข่ายอื่น”

สาเหตุที่ทาง Polygon Labs สร้าง AggLayer มาจากความเชื่อที่ว่า บล็อคเชนควรเป็น “เครือข่ายที่เป็นหนึ่งเดียวและปรับขนาดได้สูง” คล้ายกับอินเทอร์เน็ต แต่ในปัจจุบันกลับ “แยกตัวออกจากกันและขาดความสามารถในการทำงานร่วมกัน” โดยผู้ใช้ต้องเผชิญกับประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดีและข้อจำกัดในการขยายขนาด ซึ่ง AggLayer จะเข้ามาช่วยพัฒนา blockchain แบบ monolithic และ modular ที่เป็นที่นิยมในขณะนี้

Monolithic blockchains คือ บล็อกเชนที่เหมือน Bitcoin ซี่งสามารถมีฟังก์ชันการทำธุรกรรม และเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้บนเลเยอร์เดียว ขณะที่ Modular chain จะเหมือน Ethereum ที่กระจายฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ ไปยังเครือข่ายอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

เวอร์ชันแรกของ AggLayer มีกำหนดเปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเวอร์ชันที่สองจะปล่อยตามมาในช่วงปลายปีนี้และจะรองรับธุรกรรมข้ามเชนแบบ asynchronous

ที่มา : Cointelegraph