ในปี 2017 ที่ผ่านมาเทรนการเทรนด์คริปโตทั่วโลกถือว่า เป็นอะไรที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งลูกเด็กเล็กแดงหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ก็ตาม ต่างก็เข้ามาในวงการคริปโตแทบทั้งสิ้น
นอกจากการลงทุนในคริปโตแล้วนั้น วงการแฮ็กเกอร์ ก็เริ่มสนใจหันมาบูมในเรื่องการแฮ็กคริปโตเช่นกัน โดยเริ่มจากการแฮ็กด้วย Ransomware, Wannacry หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ด้วย Bitcoin โดยตัวมัลแวร์จะทำการ Encrypt ข้อมูลและถ้าต้องการที่จะเอาข้อมูลออกมาต้องจ่ายด้วย Bitcoin นั่นเอง
แต่เมื่อเวลาผ่านไปมาถึงปี 2018 นั้นเทรนด์การใช้ Ransomware เริ่มลดน้อยลงเพราะว่าบางครั้ง ผู้ที่โดน Ransomware ก็อาจมีการ Backup ข้อมูลไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงทำให้ Ransomware กลายเป็นหมันเสียอย่างนั้น
Cryptojacking
การแฮ็กคริปโตยังคงเป็นสิ่งที่แฮ็กเกอร์ยังให้ความสนใจ เพราะว่ามันสามารถทำเงินได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้กับพวกเขา โดยที่พวกเขาไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไร โดยต่อมาหลังจากที่ Ransomware ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้วนั้น Cryptojacking ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น
โดยถ้าเป็นข่าวที่ดัง ๆ ก็น่าจะเป็นเว็บโหลด Bittorrent ชื่อดังระดับโลก Pirate Bay ที่ได้แฝงเจ้า Cryptojacking ไว้บนเว็บไซต์ของพวกเขา ซึ่ง Cryptojacking ก็คือมัลแวร์ขุดคริปโตคือการที่แฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงตัวคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานได้และนำ CPU หรือทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานไปขุดเหรียญคริปโต
โดยมัลแวร์ที่ดัง ๆ ก็คือ CoinHive ที่เป็นโปรแกรม JavaScript ที่เจ้าของเว็บสามารถนำไปฝังอยู่บนเว็บของตัวเอง เพื่อดึงเอาพลังการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ของผู้เข้าชมเว็บมาขุดเหรียญ Monero ให้กับเจ้าของเว็บนั่นเอง
Sim Swap
Sim Swap เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการแฮ็กคริปโตและอื่น ๆ Sim Swap ก็คือการที่แฮ็กเกอร์นั้นจะทำการสุ่มหลอกเอาข้อมูลของเหยื่อด้วยวิธีการ Phishing ข้อมูลผ่านการส่งเมล
โดยถ้าเหยื่อคนไหนได้ให้ข้อมูลที่มากพอสำหรับที่จะสามารถไปขอทำ Sim Card ใหม่ได้ Sim Card นั้นก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลภายในของเหยื่อไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของรหัสบัตรต่าง ๆ หรือการทำ OTP ของเว็บเทรดต่าง ๆ ที่ทางเหยื่อได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บเทรดนั่นเอง
อ้างอิงจากข่าว AT&T และ T-Mobile ที่โดนฟ้องว่าทำให้ผู้ใช้งานสูญเสียทรัพย์สินด้านคริปโตจากการโดนแฮ็ก Sim Card นั้นระบุว่าการทำ Sim Swap ก็คือการที่แฮ็กเกอร์นั้นจะทำการสุ่มหลอกเอาข้อมูลของเหยื่อด้วยวิธีการ Phishing ข้อมูลผ่านการส่งเมล
ตู้มัลแวร์ Bitcoin ATM
เนื่องจากปัจจุบันการซื้อขายคริปโตเป็นสิ่งที่สะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะว่าได้มีการผลิตตู้ Bitcoin ATM ออกมาเป็นอย่างมาก โดยจะช่วยให้ผู้คนทั่วไปสามารถหาซื้อ Bitcoin ได้อย่างมากมาย
แฮ็กเกอร์ได้เห็นช่องทางในตู้ Bitcoin ATM จึงได้มีการผลิตมัลแวร์และฝังอยู่ใน Bitcoin ATM โดยอ้างอิงจากข่าวรายงานว่าตู้ Bitcoin ATM มีราคาตู้ละ 25,000 ดอลลาร์เลยทีเดียว และมีขายในรูปแบบ Online เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เลิกแฮ็กเว็บเทรดแล้ว
ก่อนหน้านี้จะมีข่าวรายงานออกมาว่าเว็บเทรดนั้น เว็บเทรดนี้ถูกแฮ็กเป็นประจำในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเว็บเทรด Zaif มูลค่า 60 ล้านดอลลาร์ หรือเว็บเทรดอย่าง Bithumb ก็โดนไป 30 ล้านดอลลาร์
แต่รายงานล่าสุดนั้นได้รายงานว่าแฮ็กเกอร์ได้เริ่มที่จะเลิกแฮ็กเว็บเทรดเสียแล้ว เพราะว่าเว็บเทรดคริปโตส่วนใหญ่ได้เริ่มอัปเกรดระบบความปลอดภัยของเว็บตัวเอง โดยทำให้แฮ็กเกอร์เริ่มแฮ็กยากมากยิ่งขึ้น
แต่นั่นก็ทำให้แฮ็กเกอร์หันมาให้ความสนใจกับรายบุคคลมากกว่า โดยนำเอาข้อมูลที่แฮ็กจากเว็บเทรดมานั้น มาเจาะลึกกับนักลงทุนเป็นราย ๆ ไป โดยถ้าสามารถได้ข้อมูลมาก ก็จะทำให้ประสิทธิภาพของการแฮ็กดีขึ้นนั่นเอง
ปี 2019?
ปีหน้าเทรนด์การแฮ็กคริปโตก็จะยังคงมีมากขึ้น เพราะมันสามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยที่ไม่ต้องลงแรงอะไรมากมาย และแฮ็กเกอร์ได้มองเห็นถึงศักยภาพในตัวคริปโตในอนาคตอีกด้วย
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น